การจัดการพื้นที่สาธารณะในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร Public Space Management of Phayathai District, Bangkok

Main Article Content

มนสิชา โลหะนาคะกุล
วราลักษณ์ คงอ้วน

Abstract

บทคัดย่อ


        บทความวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์พื้นที่สาธารณะในเขตพญาไท 2) เพื่อวิเคราะห์ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการจัดการพื้นที่สาธารณะ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการพื้นที่สาธารณะที่สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจภาคสนาม (มุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูลประเภทและการจัดการพื้นที่สาธารณะ) และการจัดทำแบบสอบถาม (แบบสอบถามจำนวน 100 ชุด มุ่งเน้นการรวบรวมข้อมูลความพึงพอใจและความต้องการของประชาชนที่มีต่อการจัดการพื้นที่สาธารณะ) ผลการวิจัยพบว่าเขตพญาไท เป็นที่ตั้งของพื้นที่สาธารณะ ทั้งในลักษณะพื้นที่จัตุรัส พื้นที่สวนสาธารณะ (สวนหย่อมขนาดเล็ก สวนหมู่บ้านและสวนถนน) และพื้นที่เลียบริมน้า โดยพื้นที่สาธารณะแต่ละประเภทมีการดูแลและจัดการยังไม่เต็มศักยภาพเท่าที่ควรและมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องการเข้าถึง ความสะดวกสบาย และกิจกรรม นอกจากนี้ พื้นที่สาธารณะทุกประเภทที่พบในเขตพญาไทยังมีการรวมกลุ่มทางสังคมที่ขาดความชัดเจน ประชาชนในเขตพญาไทจึงมีความพึงพอใจต่อการจัดการพื้นที่สาธารณะปัจจุบันระดับปานกลาง และมีความต้องการระดับมากสูงสุดในเรื่องที่เกี่ยวกับการเพิ่มความปลอดภัยข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการพื้นที่สาธารณะในอนาคต จึงควรดำเนินการต่าง ๆ ได้แก่ การจัดทำเส้นทางเดินเท้าเข้าถึงพื้นที่สาธารณะ การติดตั้งกล้องวงจรปิดและเพิ่มแสงสว่าง การปรับปรุงสภาพพื้นที่เลียบริมน้า และการปรับปรุงภูมิทัศน์
และสภาพแวดล้อมพื้นที่สาธารณะ


คำสำคัญ: พื้นที่สาธารณะ การจัดการพื้นที่สาธารณะ พื้นที่โล่ง สวนสาธารณะ


Abstract


        The objectives of this research article are 1) to study the current situation of public spaces in Phayathai
district, 2) to analyze the public opinions towards the management of public spaces, and 3) to suggest
management guidelines for public spaces to match the needs of the residents. The data collection methods for this research were the field survey (This approach focuses on collection the types and management of public spaces) and questionnaire (The 100 questionnaires focus on gathering satisfaction and public demand for public spaces management). The result of the research showed that there are public squares, public parks (mini parks, neighborhood parks, and street parks), and waterfronts in Phayathai district. Each public space is not efficiently managed and has its own characteristic in terms of accessibilities, comforts, and activities. However, the use of all types of public spaces located in Phayathai were not clearly defined in terms of social activities. So, people have moderate satisfaction for public space management and they highly demand for safety. Guidelines for developing public spaces in the future should focus on accessing walkway to the public spaces, installing the CCTV and lighting, developing more public waterfront areas, and improving the landscape and surrounding of public spaces.


Keywords: Public Space, Public Space Management, Open Space, Public Park

Article Details

How to Cite
โลหะนาคะกุล ม., & คงอ้วน ว. (2018). การจัดการพื้นที่สาธารณะในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร Public Space Management of Phayathai District, Bangkok. Asian Creative Architecture, Art and Design, 27(2), 14–30. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/168858
Section
Research Articles

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2561). รายงานสถิติจานวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ. 2560. เข้าถึงได้จาก:
https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=10&statType=1&year=60.
กาญจน์ นทีวุฒิกุล. (2560). ตรรกะของการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะอย่างอเนกประโยชน์ในเมืองเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์
การวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต สาขาการวางแผนภาคและเมือง, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง. (2561). สูตรการหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง. เข้าถึงได้จาก:https://www.edu.ru.ac.th/images/edu_files/formulation_example.pdf.
นิพันธ์ วิเชียรน้อย. (2557). เศรษฐศาสตร์เมืองและการวางผังเมือง: ทฤษฎีและตัวแบบการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มานพ พงศทัต. (2558). เมืองและผังเมือง. กรุงเทพฯ: ธนภัทร.
วราลักษณ์ คงอ้วน. (2559). การวางแผนและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภชัย ชัยจันทร์และณรงพน ไล่ประกอบทรัพย์. (2559). แนวคิดสาธารณะของพื้นที่สาธารณะในเมือง. เข้าถึงได้จาก:
https://architservice.kku.ac.th/wp-content/uploads/2017/02/05-Supachai.pdf.
สำนักงานเขตพญาไท. (2561). แผนปฏิบัติราชการประจาปี พ.ศ. 2561. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkok.go.th/upload/user/00000084/News/Plan/1-50.pdf.
สำนักงานสวนสาธารณะ กรุงเทพมหานคร. (2561). สวนสาธารณะแบ่งตามประเภทสวน. เข้าถึงได้จาก: https://minpininteraction.com/bkk_static/greenparks.asp.
สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร. (2548). ข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางผังเมือง. กรุงเทพฯ: บริษัท ส.พิจิตรการพิมพ์ จำกัด.
สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล กรุงเทพมหานคร. (ม.ป.ป.).สถิติกรุงเทพมหานคร 2558. เข้าถึงได้จาก: https://www.bangkok.go.th/pipd/page/sub/9050/หนังสือสถิติกรุงเทพมหานคร-2558.
Metropolitan Planning Council. (2561). Four Key Qualities of a Successful Place. เข้าถึงได้จาก: https://www.placemakingchicago.com/about/qualities.asp.