ปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบสวนสาธารณะในที่ดินที่เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่: กรณีศึกษาสวนสาธารณะบึงน้ำลาดพร้าว 71 Factors That Affect Park Design in the Lagoon Site: a Case Study of Ladphrao 71 Pond Aquatic Park Project

Main Article Content

ศุภรัฐ วลัยเสถียร

Abstract

บทคัดย่อ


        บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในการออกแบบวางผังสวนสาธารณะพร้อมอาคารประกอบ ในที่ดินที่เป็นบึงนน้ำขนาดใหญ่ซึ่งเป็นที่ดินของทางกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 21 ไร่ 68 ตารางวามความลึกตั้งแต่ 15-17 เมตร ตั้งอยู่กลางชุมชนในซอยลาดพร้าว 71 โดยศึกษาและสำรวจข้อมูลและสภาพปัญหาในบริเวณบึงลาดพร้าว เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการวิเคราะห์ รวมถึงความเหมาะสมในการออกแบบพร้อมทั้งประเมินผลการศึกษาเพื่อหาแนวทางการพัฒนาออกแบบสวนสาธารณะในบึงน้ำขนาดใหญ่ และเพื่อออกแบบวางผังสวนสาธารณะพร้อมอาคารประกอบในพื้นที่ให้เป็นสวนสาธารณะที่มีประโยชน์ใช้สอยอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเต็มที่


         ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงออกแบบ (Design Research Methodology) ด้วยการศึกษาโจทย์จากข้อกำหนดการจ้างออกแบบ(T.O.R.) ของทางกองสวนสาธารณะ กรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการการสังเกตและสัมภาษณ์จากประชากรกลุ่มเป้าหมาย และข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง โดยมีกระบวนการวิจัย คือ  1) ศึกษาสภาพบึงน้ำเดิม 2) การศึกษาความเหมาะสมในการปรับพื้นที่ ระบบการก่อสร้าง และความสามารถในการกักเก็บน้ำ 3) ความเหมาะสมการใช้งานพื้นที่ระหว่างผู้อยู่อาศัยเดิมและสวนสาธารณะบึงน้ำที่สร้างขึ้นใหม่ 4) การศึกษาประเภทต้นไม้ที่เลือกใช้ในโครงการและ ดำเนินการวิเคราะห์โจทย์ความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง สภาพพื้นที่ตั้ง แล้วสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อนำมาออกแบบ


        ผลวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบนนั้นประกอบด้วย 1) ข้อมูลจากการสำรวจซึ่งไม่ตรงกับข้อมูลเบื้องต้น ทำให้มีผลต่อความเหมาะสมในการปรับพื้นที่ 2) ระบบโครงสร้างที่ต้องพิจารณาเลือกใช้ เป็นโครงสร้างระบบคอนกรีตเสริมเหล็กลอยอยู่เหนือผิวน้ำเหมาะสมที่สุด 3) ข้อพิจารณาในการจัดแบ่งและออกแบบส่วนประกอบของโครงการตามลักษณะการใช้งานและความสัมพันธ์กับที่ตั้งในโครงการ 4) วัสดุพืชพันธุ์ที่เหมาะสม มีการแบ่งประเภทต้นไม้ที่เลือกใช้ออกเป็นเป็นสามประเภทตามตำแหน่งที่ปลูกและดูแลแนวทางการออกแบบกำหนดให้เป็นสวนที่ตั้งอยู่บนโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กมีระดับอยู่เหนือน้ำ เนื่องจากเป็นการประหยัดงบประมาณการก่อสร้างรวมทั้งรบกวนสภาพแวดล้อมเดิมที่มีอยู่น้อยที่สุด และสามารถใช้พื้นที่เดิมในบึงเป็นแก้มลิง เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมเวลาที่มีฝนตกมาปริมาณมาก อีกทั้งยังสามารถให้ผู้เข้ามาใช้ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชและระบบนิเวศทางน้ำได้อีกด้วย


คำสำคัญ: สวนสาธารณะบึงน้ำ พื้นที่รับน้ำ (แก้มลิง) ระบบนิเวศทางน้ำ


 Abstracts


        The major objective of this research study is to investigate the factors and the appropriate methods for designing the public park and buildings in the park. Within the area of 33,872 sq.m. and the existing reservoir with 15-17 m. depth, the park is located on Ladphrao 71 road in Bangkok. A series of studies were employed to study site conditions and existing problems around the reservoir that were used as the database to find the appropriate approaches to tackle a design of public parks on a large pond with buildings to attain functionality.


        The researcher developed the design research methodology from T.O.R. and gathered the data by the observation and interviewing the group of target informants. For the secondary information, the research method includes1) to study of existing pond, 2) to study the appropriate land modification and construction systems, 3) to study the appropriate use of space between existing residents and newly built lagoon parks, and 4 ) to study the suitable plant materials selected for the project.The researcher analyzes the requirement of the related users, site condition, then synthesize the information to obtain the process of design.


         The finding of this study are 1) the survey data package provided by the owner is inaccurate, 2) the structure of the reinforced concrete structure located above the water surface is the most efficient method, 3) the project components are suitably designed in relation to the usage and location, and 4 ) there are three categories of plant materials proposed corresponding to the site condition of each spot and the purpose of facilitating the maintenance.


         The main structure of the park design is on a reinforced concrete structure above the water level. This structure design is considered as a cost efficiency construction, and at the same time, it also minimizes effects to the surrounding context. Furthermore, the community is still able to use this reservoir and its vicinity as a reservoir (Kaem Ling) to prevent possible floods in the case of heavy rain. This aquatic park can be used as the public education site for ecosystems and aquatic vegetation.


Keywords: Aquatic Park, Reservoir (Kaem Ling), Aquatic Ecosystems

Article Details

How to Cite
วลัยเสถียร ศ. (2018). ปัจจัยที่มีผลต่อการออกแบบสวนสาธารณะในที่ดินที่เป็นบึงน้ำขนาดใหญ่: กรณีศึกษาสวนสาธารณะบึงน้ำลาดพร้าว 71 Factors That Affect Park Design in the Lagoon Site: a Case Study of Ladphrao 71 Pond Aquatic Park Project. Asian Creative Architecture, Art and Design, 27(2), 77–91. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/169095
Section
Research Articles

References

ข้อกำหนดการจ้างออกแบบและวางผังโครงการก่อสร้างสวนสาธารณะบึงน้ำลาดพร้าว 71 พ.ศ. 2549. (2549). กรุงเทพมหานคร.
เอื้อมพร วีสมหมาย. (2527). สวนสาธารณะและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
Bahamon, A. (Eds.). (2006). Landscape Architecture: Water Features. 1st ed. Rockport: Rockport Publishers.
Hill, F. (1995). Landscape Handbook for the Tropics. 1st ed. New York: Garden Art Press.
Amranard, P. and Warren, W. (1996). Garden in Bangkok. 2nd ed., rev. Bangkok: The Siam Society Under Royal Patronage.
Plumptre, G. (1993). The Water Garden. London: Thames and Hudson.
Symmes, M. (1998). Fountains splash and spectacle. London: Smithsonian Institute.