Design Loom and Weaving Process of Traditional North-Eastern Textiles

Main Article Content

Piyamaporn Ridraksa
Kriengsak Kieowmang
Ratthai Poencharoen

Abstract

บทคัดย่อ


        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์กระบวนการผลิตผ้าทอพื้นเมือง สำหรับการออกแบบกี่ทอผ้ารูปแบบใหม่ภายใต้แนวคิด “กี่ใหม่ พฤติกรรมใหม่ ลายใหม่”ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการผลิตผ้าทอพื้นเมืองอีสาน มีความคล้ายคลึงกันแต่มีความแตกต่างเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิต และเทคนิคที่ใช้ในการผลิตกี่ที่นิยมใช้ทั่วไป คือ กี่กระทบ จากการสังเคราะห์ข้อมูล คุณสมบัติของกี่ทอผ้าแบบใหม่ ในด้านการทอผ้าสามารถทอผ้าได้คุณภาพดี เหมือนกี่แบบเดิมประกอบด้วยลักษณะทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านรูปแบบ: กี่ทอผ้าที่พัฒนาขึ้นนี้มีขนาดเล็กลงมากกว่ากี่ทอผ้าแบบเก่าโดย สามารถทา งานได้ในพื้นที่น้อยลงกระบวนการทอผ้าแบบเดิมใช้เวลานานในการทอผ้า แต่กี่ที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถผลิตผืนผ้า ได้ 2 ผืนในเวลาเท่ากัน และสามารถสร้างลวดลายผ้าที่มีความแตกต่างกันทั้งสองผืนในเวลาเดียวกันโดยการใช้ตะกอ 2) ด้านพฤติกรรมการใช้งาน: กี่ทอผ้าที่พัฒนาขึ้นใหม่ใช้งานได้ง่ายกว่าแบบเดิม ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการยกตะกอด้วยมือ แทน วิธีเดิมที่ใช้เท้าเหยียบ วิธีนี้เหมาะสมกับทั้งผู้เริ่มต้นและผู้ที่มีความชำนาญในการทอผ้า 3) ด้านการสร้างลวดลาย: ผู้วิจัยได้ ออกแบบตะกอใหม่ ซึ่งแต่ละอันมีความแตกต่างกันสำหรับสร้างลวดลายผ้าทอที่แตกต่างกัน ผลการวิจัยในครั้งนี้ได้กี่ทอผ้าแบบใหม่ในแนวคิด “กี่ใหม่ พฤติกรรมใหม่ ลายใหม่” มีขนาดเล็กกว่าแบบเดิม ใช้งานได้ง่ายกว่า ประหยัดเวลามากขึ้น และสามารถผลิตชิ้นงานผ้าทอได้มากกว่า


 คำสำคัญ: กี่ทอผ้าพื้นเมือง วิถีการทอผ้าภาคอีสาน เทคนิคการทอ


Abstract  


        The purposes of this research were to investigate, collect, and analysis a process in weaving of native fabric for a loom design under the concept of “A New Loom, A New Action and A New Pattern Style”. The result revealed that the process of all Thai North-eastern native fabric weaving process were similar, but there were differences in the method and the technique of production. The traditional loom that people prefer to use was “Kee-ka-tob”. The result showed that the efficiency of a new loom for weaving a fabric was similar to the traditional loom with three more advantages including, 1) physical feature: a new-developed loom was smaller than the traditional one, so a new one can be used within a limited area and produced two fabrics with different patterns with a similar amount of time as used in the traditional one, 2) user behavior: a new-developed loom was easier in use than the original loom. The researcher decided to apply a method lifting up the heddle by hand rather than using feet. This method gave benefit for both a beginner and an expert in weaving the fabric, and 3) creating new patterns: the researcher developed different new heddles to create new patterns of weaving fabric. The new loom under the concept of “A New Loom, A New Action and A New Pattern” was the final product of this research. It was smaller in size, easier in use, and save more times than the original one. Moreover, a new one could create more weaving fabric patterns than the original one.


Keywords: Traditional Loom, North-Eastern Weaving Style, Weaving Technique

Article Details

How to Cite
Ridraksa, P., Kieowmang, K., & Poencharoen, R. (2019). Design Loom and Weaving Process of Traditional North-Eastern Textiles. Asian Creative Architecture, Art and Design, 28(1), 124–136. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/169154
Section
Research Articles

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). การใช้ SPSS for windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ทรงพันธ์ วรรณมาศ. (2534). ผ้าไทยลายอีสาน. กรุงเทพฯ: โอ เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.

มณฑา จันทร์เกตุเลี้ยด. (2541). วิทยาศาสตร์สิ่งทอเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สมาคมเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์

วิบูล ลี้สุวรรณ. (2541). มรดกทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2545). ผ้าไทย สายใยแห่งภูมิปัญญาสู่คุณค่าเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.