Embedded Spiritual Ideology in Community Spaces and Vernacular Houses of Thai-Khmer in Lower Northeastern Thailand

Main Article Content

Niroth Srimanta
Nattika Navapan

Abstract

บทคัดย่อ


        บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคติความเชื่อเรื่องผีของกลุ่มชาติพันธุ์เขมรถิ่นไทยที่สะท้อนสู่รูปแบบการใช้ที่ว่างในชุมชนและเรือนพื้นถิ่นพื้นที่บริบทวัฒนธรรมอีสานใต้ โดยใช้วิธีการศึกษาสำรวจ สังเกตการณ์ ชุมชนและเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ และการสัมภาษณ์เชิงลึกกรณีศึกษาชุมชนชาวเขมรถิ่นไทยในประเด็นของคติความเชื่อในการอยู่อาศัย การวิจัยพบว่า การดำเนินชีวิตในสังคมชาวเขมรถิ่นไทยยังคง ปรากฏคติความเชื่อในเรื่องผี ซึ่งมีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ผีในสภาพแวดล้อม ผีบรรพบุรุษ และผีในความเชื่อของบุคคล ซึ่งคติความเชื่อเหล่านี้นอกจากเป็นสิ่งที่คอยกำหนดพฤติกรรมและการอยู่ร่วมกันของชุมชนชาวเขมรถิ่นไทยแล้วยังสะท้อนถึงลักษณะการใช้ที่ว่างในชุมชนและเรือนพักอาศัยพื้นถิ่น 3 ลักษณะสำคัญ คือ 1) ความเชื่อเรื่องผีมีผลต่อการใช้พื้นที่ว่างในชุมชน ขอบเขตการรวมกลุ่มตามความเชื่อ และลักษณะภูมิทัศน์วัฒนธรรมของชุมชน 2) พิธีกรรมต่อผีบรรพบุรุษส่งผลให้ผังบริเวณของเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นมีการปลูกและจัดพันธุ์ไม้สำคัญที่ใช้ในพิธีกรรม และคติความเชื่อเรื่องผีของแต่ละบุคคลทำให้มีการสร้างศาลปะเตียปลึงไว้ในผังบริเวณบ้าน 3) คติความเชื่อในผีบรรพบุรุษสะท้อนการใช้ที่ว่างในเรือนพักอาศัยพื้นถิ่น 2 ส่วน ได้แก่ ชานและโถงเรือนเป็นพื้นที่การประกอบพิธีกรรมและการพบปะสังสรรค์ และส่วนพื้นที่เก็บสิ่งของศักดิ์สิทธิ์มีลักษณะเป็นพื้นที่หวงห้ามของแต่ครัวเรือนซึ่งเป็นลักษณะร่วมของการใช้ที่ว่างที่ปรากฏในผังเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นรูปแบบดั้งเดิม เรือนพักอาศัยพื้นถิ่นรูปแบบประยุกต์ และเรือนพักอาศัยพื้นถิ่นสมัยใหม่ สรุปคือ ความเชื่อเรื่องผีมีผลต่อรูปแบบผังชุมชน ภูมิทัศน์ชุมชน และที่ว่างในเรือนพักอาศัยพื้นถิ่น ซึ่งคติความเชื่อเรื่องผีที่มีความสัมพันธ์ต่อรูปแบบพื้นที่ว่างชุมชน และเรือนพักอาศัยพื้นถิ่น ยังคงมีความสำคัญสืบต่อมาจากอดีตสู่ปัจจุบันของสังคมชาวเขมรถิ่นไทย


คำสำคัญ: คติความเชื่อเรื่องผี เรือนพักอาศัยพื้นถิ่น ที่ว่าง ชาวเขมรถิ่นไทย อีสานใต้


 Abstract


        This study aims to reveal the embedded spiritual ideology of Thai-Khmer ethnic groups that reflects in community spaces and vernacular houses in Thailand’s Lower Northeastern cultural context. To achieve the aim of the study, both observation of Thai-Khmer communities in Buriram, Surin, and Sisaket provinces and in-depth interviews of dwellers of selected community in Sisaket were conducted. The study illustrates that, in Thai-Khmer communities, the ideology linking to super-naturalness had a strong influence on people’s behaviors and formed people’s ways of living. For Thai-Khmer, there are three main spiritual forms: spirits of ancestor, spirits in environment, and spirits in individuals’ believes. These spiritual beliefs principally shape the embedded ideology that reflects the characteristics and uses of community spaces and vernacular houses. The reflection can be seen from 1) the spiritual beliefs that affect environmental management, use of space, and cultural landscape in the communities, 2) the beliefs in ancestral spirit that reflect in planting and spirit house building, and 3) the beliefs in ancestral spirit that affect the uses of two main spaces in vernacular houses; front balcony and hall serving as a ritual area and a meeting place, and the sacred room, a restricted area of the household. These particular spaces are common features that still appear in the layouts of traditional, modified, and new Thai-Khmer dwellings. Such characteristics show that spiritual beliefs have found the key ideology embedded in Thai-Khmer ways of living.


Keywords: Spiritual Ideology, Vernacular House, Space, Thai-Khmer, Lower Northeastern Thailand

Article Details

How to Cite
Srimanta, N., & Navapan, N. (2019). Embedded Spiritual Ideology in Community Spaces and Vernacular Houses of Thai-Khmer in Lower Northeastern Thailand. Asian Creative Architecture, Art and Design, 28(1), 35–49. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/169466
Section
Research Articles

References

เดชณรงค์ วนสันเทียะ. (2549). การศึกษาเรือนอีสาน-เขมร ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์คุรุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง).

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544ก). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดบุรีรัมย์. (เนื่องในพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2552: กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร). มปท.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544ข). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดสุรินทร์. (เนื่องในพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2552: กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร). มปท.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544ค). วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ. (เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2552: กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงศึกษาธิการ และกรมศิลปากร). มปท.

ทรงยศ วีระทวีมาศ และคณะ. (2548). สถาปัตยกรรมสิ่งแวดล้อมในเรือนไท-ลาว ในภาคอีสานของประเทศไทยและในสปป.ลาว. ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนิศน์ เสถียรนาม และนพดล ตั้งสกุล. (2559). พลวัตของรูปแบบบ้านเรือนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15(2), 1-15.

ธิติ เฮงรัศมี และคณะ. (มปป). การศึกษารวบรวมรูปแบบบ้านพักอาศัยในชนบทอีสานแถบลุ่มน้ำชี. มปท.: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ประกอบ ผลงาม. (2538). เขมรถิ่นไทย ใน ลักขณา ดาวรัตนหงษ์ และคณะ (ผู้รวบรวม). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

ประลอง พีรานนท์, วิวัฒน์ เตมียพันธุ์ และคณะ (ผู้รวบรวม). (มปป). สถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่น. กรุงเทพฯ: คณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

พรรณพฤกษา จะระ และจันทนีย์ จิรัณธนัฐ. (2559). ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับความเชื่อกับเรือนเขมรจังหวัด สุรินทร์. วารสารหน้าจั่ว: ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบ และสภาพแวดล้อม. 30(1), 193-213.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม2. (เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542). กรุงเทพฯ: สยามเพรส เมเนจเม้นท์.

ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. (2555). ความเชื่อเรื่องผีกับการก่อรูปของเรือนพื้นถิ่นอุษาคเนย์. วารสารหน้าจั่วว่าด้วย ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมไทย. 8(1), 334-347.

ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. (2556). รูปแบบบ้านเรือนของกลุ่มชาติพันธุ์ในอุษาคเนย์. เชียงใหม่: สานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฤทัย จงใจรัก. (2539). เรือนไทยเดิม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์.

วิวัฒน์ เตมีย์พันธุ์. (2553). เรือนพักอาศัย: รูปแบบสำคัญของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในสุวนันต์ ธรรมแก้ว (ผู้รวบรวม). หนังสือชุด ASA ปริทรรศน์: ภูมิปัญญาชาวบ้านสู่งานสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น. (หน้า 219-238). กรุงเทพฯ: พลัสเพลส.

วีระ อันพันทัง. (2550). ปลูกเรือนคล้อยตามผืนดิน ปักถิ่นคล้อยตามสายน้ำ. กรุงเทพฯ: กิเลนการพิมพ์.

ศรัณยา หล่อมณีนพรัตน์. (2548). โครงการศึกษารูปแบบเรือนพื้นถิ่นและภูมิทัศน์ในบริเวณที่พักอาศัยของเกษตรกรชาวเขมรในบริเวณเกาะแด็ช จังหวัดกันดล ประเทศกัมพูชา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

อรศิริ ปาณินท์. (2542ก). เรือนพื้นถิ่นละแวกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาสูญสิ้นไปแล้วหรือยัง. ในพิรัส เหล่า ไพศาลศักดิ และเทิดศักดิ์ เตชะกิจขจร (ผู้รวบรวม), การประชุมวิชาการสาระศาสตร์สถาปัตย์ ครั้งที่ 2. (หน้า 15-39). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรศิริ ปาณินท์. (2542ข). เรือนพื้นบ้านไทย-มอญ. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อิสรชัย บูรณะอรรจน์ และเกรียงไกร เกิดศิริ. (2558). องค์รวมของการตั้งถิ่นฐานและสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่อยู่อาศัยในลุ่ม น้ำโตนเลสาบ จังหวัดเสียมเรียบ ราชอาณาจักรกัมพูชา. วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 14(2), 13-25.

อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย. (2551). ซ่อนไว้ในสิม: ก-ฮ ในชีวิตอีสาน. กรุงเทพฯ: ฟลูสต๊อป.