The Guideline for Old Education Building Renovation toward Collaboration Space in Department of Architecture, Rajamangala University of Technology Lanna

Main Article Content

Pattarawadee Thongngam

Abstract

บทคัดย่อ


        ปัจจุบันความต้องการพื้นที่การทำงานของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเพิ่มสูงขึ้นนโยบายการปรับปรุงอาคารเรียนเก่าที่รกร้างให้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมหรือพื้นที่ทำงานเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาถือเป็นการสร้างสรรค์ พื้นที่ให้เกิดประสิทธิภาพการใช้อาคารเรียนเก่าอย่างสูงสุด จุดประสงค์ของวิจัยนี้ เพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงอาคารเรียนเก่าสู่พื้นที่ทำงานร่วมกันที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมของนักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยการสำรวจพื้นที่อาคารเรียนเก่าสาขาสถาปัตยกรรม รวบรวมข้อมูลทฤษฎีและแนวความคิด รวมทั้งการใช้การสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่มตัวอย่างนักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรม 5 ชั้นปีจำนวน 100 ราย เพื่อให้ได้ความต้องการด้านพื้นที่ใช้สอย สิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญสรุปผลการวิเคราะห์และเสนอแนวทางในการปรับปรุงอาคารเรียนเก่าสู่พื้นที่ทำงานร่วมกัน ที่ตอบสนองต่อพฤติกรรมของนักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


        จากการวิจัยพบว่าอาคารเรียนเก่าสาขาสถาปัตยกรรมเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ชั้นครึ่ง มีหน้าต่างไม้โดยรอบภายในเป็นพื้นที่โล่งไม่มีผนังแบ่งกั้นทั้งนี้ผลสำรวจนักศึกษามีความต้องการพื้นที่ที่เอื้อต่อการทำงาน นอกเหนือจากห้องเรียน เป็นพื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกันของนักศึกษาและสามารถพักผ่อนได้ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ ออกแบบแนวทางปรับปรุงพื้นที่การทำงานร่วมกันให้สอดรับกับพฤติกรรมของนักศึกษารุ่นใหม่ การจัดตำแหน่งและเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับกิจกรรมที่ส่งเสริมการเกิดปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้ใช้งาน มีการสร้างบรรยากาศภายในเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการทำงานและมีสภาพแวดล้อมที่ตอบสนองต่อความรู้สึกในการสัมผัสธรรมชาติด้วยการใช้กระจก


 สำคัญ: พื้นที่สำหรับทำงานร่วมกัน การปรับปรุง อาคารเรียนเก่า


 Abstract


        Nowadays, a demand of co-working spaces for university students has been increased. The policy of renovating old and desolate buildings in educational institutes to be activity areas or working spaces has been considered as the most effective and beneficial manners in order to facilitate the students. The aim of this research was to propose applicable ways to improve the old education buildings to the collaborative spaces for the students in Department of Architecture, Rajamangala University of Technology Lanna. The researcher has explored the old educational buildings in Department of Architecture, reviewed the literature and collected data from 100 students from the 5th year by applying the focus groups.


        The results of this study show that the old educational building of Department of Architecture was the single-story building that was reinforced concrete and had wooden windows. In addition, there was an open space interior. The results of this study also show the students’ need of a conducive area to work outside the classrooms, do their activities and relax. Finally, the researcher designed a guideline to renovate the collaboration space to be compatible with the students’ behavior. There were an alignment and furniture that were adjustable to support students’ activities and promote their social interaction, an interior atmosphere design that would inspire them and a beautiful environment that was well-decorated by using glass to improve their feeling connected to nature.


Keywords: Collaboration Space, Renovation, Old Education Building

Article Details

How to Cite
Thongngam, P. . (2019). The Guideline for Old Education Building Renovation toward Collaboration Space in Department of Architecture, Rajamangala University of Technology Lanna. Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, 28(1), 65–80. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/169728
Section
Research Articles

References

คลังความรู้. (2560). แสงสว่างกับการมองเห็น. เข้าถึงได้จาก: https://www.scimath.org/lesson-physics/item/7277-

-06-13-14-42-30.

จิระ อำนวยสิทธิ์. (2558). สถาปัตยกรรมกับพื้นที่ระหว่าง: ความกลมกลืนภายใต้บริบทที่แตกต่าง. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

จุฑาภรณ์ หนูบุตร. (2554). ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน กรณีศึกษา: โรงพยาบาลวิภาวดี. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2562). CU 2040 Masterplan: ผังแม่บทจุฬาฯ ศตวรรษที่ 2 “ปรับ-เปลี่ยน-เปิด”เพื่อทุกคน. เข้าถึงได้จาก : https://www.chula.ac.th/news/15818/.

ชูเกียรติ สิกขะเจริญ. (2558). ปฏิสัมพันธ์ในสถาปัตยกรรม (พื้นที่ทางจินตภาพ – พื้นที่ทางกายภาพ). (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม ภาควิชาสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ซีบีอาร์อี ประเทศไทย จำกัด. (2559). 3 กุญแจสำคัญในการออกแบบพื้นที่การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ. Retrieved from: https://www.cbre.co.th/th/News/Article/Three-Ways-Organizations-Can-Design-High-Performance-Workplaces.

ญาณ เกห์ล และเบร์กิตเตสวาร์. (2561). วิธีเรียนรู้ชีวิตสาธารณะ. (ศรีสุมธ ฤทธิไพโรจน์, แปล). กรุงเทพฯ: Li-Zenn Publishing.

ฐิติพร พยุงวงษ์ และ ศรัณย์ธร ศศิธนากรแก้ว. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ของผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12(2), 184-197.

ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2550). รูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยม (Interactionism model) และแนวทางการตั้งสมมติฐานในการวิจัยสาขาจิตพฤติกรรมศาสตร์ในประเทศไทย. วารสารพัฒนาสังคม. 9(1), 85-117.

ธนกร จุตาศรี. (2558). แนวทางการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่ตอบรับกับพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่. (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการออกแบบชุมชนเมือง ภาควิชาการออกแบบและวางผังชุมชนเมืองบัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

นิรมล เหง่าตระกูล. (2551). การปรับเปลี่ยนประโยชน์ใช้สอยกับการฟื้นฟูบูรณะย่านพาณิชกรรมเก่าและคลังสินค้าริมน้ำ: กรณีศึกษาย่านทรงวาด กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

นิจสิรีห์ แววชาญ. (2560). พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาสถาปัตยกรรมภายใน: กรณีศึกษาหลักสูตรสถาปัตยกรรมภายใน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์สจล. 25(2), 107-123.

นันทพล จั่นเงิน. (2555). แนวทางการปรับปรุงและอนุรักษ์อาคารสาธารณะในช่วงพ.ศ. 2488-2500: กรณีศึกษาอาคารอำนวยการสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาโดยปรับปรุงจากอาคารอำนวยการโรงงานสุราบางยี่ขัน. วารสารหน้าจั่ว.26 (2012), 429-461.

บุษกร รมยานนท์. (2558). การออกแบบพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ด้วยตัวเองในมหาวิทยาลัย. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง. 12(1), 15-18.

ปวันรัตน์ อิ่มเจริญกุล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการเข้ารับบริการสถานที่ให้บริการ พื้นที่ทำงาน Co-Working Space ในกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์).

มารยาท โยทองยศ และ ปราณี สวัสดิสรรพ. (2556). การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัย. เข้าถึงได้จาก: https://bit.ly/2VhbWSP.

รศรินทร์ เกรย์, อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์, อักษราภัค หลักทอง และเจตพล แสงหล้า. (2559). คุณภาพชีวิตต่างวัยของผู้มีงานทำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

วมิลสิทธิ์ หรยางกูร. (2541). พฤติกรรมมนุษย์กับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ. (2561). Trend 2018. เข้าถึงได้จาก: https://web.tcdc.or.th/media/publication_lang_file/167/TREND2018-eBook-PC-SpreadPage.pdf.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2558). องค์กรในฝันของพนักงาน. เข้าถึงได้จาก: https://www.ftpi.or.th/2015/245.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2543). ทฤษฎีและการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2559). รายงานสุขภาพคนไทย 2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2560). เทรนด์การเรียนรู้ของคนรุ่นใหม่ในยุคดิจิทัล. เข้าถึงได้จาก: https://www.okmd.or.th/okmd-opportunity/FutureLearningPlatform/899/Digilearn_infographic.

อภิภา ปรัชญพฤทธิ์. (2560). การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้สำหรับสถาบันอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11(2), 379-392.

Blackmore, J., Bateman, D., Loughlin, J., O'Mara, J., and Aranda, G. (2011). Research into the Connection Between Built Learning Spaces and Student Outcomes. Retrieved from:

https://dro.deakin.edu.au/eserv/DU:30036968/blackmore-researchinto-2011.pdf.

Brown, M. and Long, P. (2006). Trends in Learning Space Design. Diana G. Oblinger (Eds.), Learning Spaces.

(pp.9.1-9.11). Washington: Educause.

Chism, N. V. N. (2006). Challenging Traditional Assumptions and Rethinking Learning Spaces. Retrieved

from: https://net.educause.edu/ir/library/pdf/pub7101.pdf.

Griffin, B. (2014). Higher Education Teaching and Learning Space Design Guide. OX: Routledge.

Jamieson, P., Fisher, K., Gilding, T., Taylor, P.G. and Trevitt, A.C.F. (2000). Place and space in the design of

near learning environments. Higher education research & development. 19(2), 221-237.

Oblinger. D. G., Oblinger. J. and Lippincot. J. K. (2005). Educating the Net Generation. Retrieved from:

https://digitalcommons.brockport.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1278&context=bookshelf.

Scottish Funding Council. (2006). Designing Spaces for Effective Learning a Guide to 21st Century Learning Space Design. Retrieved from: https://www.jisc.ac.uk/media/documents/publications/learningspaces.pdf.