จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดบุปผาราม อ.เมือง จ.ตราด: ภาพสะท้อนสัญลักษณ์อิทธิพลจีนที่ปรากฏในภาคตะวันออก Mural Painting in Ubosot, Wat Buppharam, Muang District, Trad Province: Symbolic Reflections of the Influence from Chinese Art in the East

Main Article Content

ภูวษา เรืองชีวิน

Abstract

บทคัดย่อ


        จากอดีตการเข้ามาของชาวจีนในราชอาณาจักรไทยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบศิลปะและวัฒนธรรมในหลายๆ ด้าน การมีบทบาทต่อราชสำนัก การติดต่อด้านการค้าที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย ทำให้วัฒนธรรมจีนแทรกตัวเข้ามาผสานปนเปไปกับวิถีไทยอย่างกลมกลืนในงานศิลปกรรมนั้น จิตรกรรมฝาผนังเป็นเสมือนภาพสะท้อนเรื่องราวทางพุทธศาสนาด้วยการจัดรูปแบบการเขียนของผนังแต่ละด้านอย่างมีระเบียบแบบแผน และการกำหนดรูปแบบล้วนถูกนำมาใช้ในงานจิตรกรรมไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา การปรากฏรูปแบบของงานจิตรกรรม ฝาผนังกระบวนจีน จึงเป็นการรับแบบอย่างด้านศิลปกรรมที่มีผลต่อชุมชน และท้องถิ่นนั้น สามารถแสดงให้เห็นอิทธิพลทั้งในรูปแบบแนวคิดค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมทางสังคม การแสดงออกซึ่งอำนาจ ความเป็นผู้นำของชุมชน โดยวิเคราะห์ได้จากภาพและรูปแบบโครงสร้างของงานจิตรกรรม


         กรณีศึกษางานจิตรกรรมฝาผนังวัดบุปผาราม อ.เมือง จ.ตราด พบว่ามีจิตรกรรมมีความโดดเด่นและ แตกต่างด้วยอิทธิพลแบบอย่างกระบวนจีน ซึ่งมีการเขียนแบบจีนเต็มพื้นที่ผนังทุกด้าน มีโครงสร้างที่ไม่ยึดกรอบตามจิตรกรรมไทยประเพณี สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทและอิทธิพลจีนการสร้างเอกลักษณ์ตัวตนใหม่ผ่านจิตรกรรมฝาผนังที่ปรากฏในชุมชน ด้วยสัญลักษณ์ความเชื่อในมุมมองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตบ่งบอกถึงตัวตนของคนจีนกับแนวคิดต่อพุทธศาสนาในแง่มุมของตนเอง และส่งผลต่อความเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลต่อชุมชนด้วย ดังนั้นการปรากฏของภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบกระบวนจีนวัดบุปผาราม จึงแสดงออกด้วยรูปแบบเชิงสัญลักษณ์ เป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรม เสมือนภาพสะท้อนเห็นถึงการขยายของวัฒนธรรมจีนจากเมืองหลวงสู่หัวเมืองทางฝั่งทะเลตะวันออกที่มีแนวคิดและองค์ประกอบโดยรวมจากการรับอิทธิพลศิลปะจีนมาอย่างแท้จริง


 คำสำคัญ: จิตรกรรมฝาผนัง ภาพสะท้อน สัญลักษณ์ อิทธิพลจีน วัดบุปผาราม


 Abstract


         From the past, the arrival of Chinese in the Kingdom of Thailand has affected the change of style, arts and culture in many aspects including the role of the royal court, trade relations affecting the Thai economy and society. The Chinese culture had blended with the harmonious Thai method. In the arts, mural painting is a reflection of Buddhist stories in orderly pattern of each wall which has been used in Thailand since the Ayutthaya period. The appearance of Chinese mural painting is an art style that affects the community and local to present the influence of concepts, values, beliefs, and social behaviors. It also expresses the power of leadership in the community by image and structure of the painting analysis.


         The study of mural paintings of Wat Buppharam, Muang, Trad province, found that the painting is unique and different from others by the influence of traditional Chinese painting. There are full of Chinese writing on the whole area of the wall; the structure is not based on the original Thai framework to reflect the role and influence of China which is creating a new identity through mural painting in the community. The symbol of belief in various perspectives, related to the way of life, indicates the identity of the Chinese people to Buddhism which also impacts to the leadership of the community. As a result, the appearance of Chinese mural painting of Wat Buppharam has represented both concepts and elements of Chinese arts by using a combination of cultures and symbolic forms to reflect the expansion of Chinese culture from the capital cities of the east coast.


 Keywords: Mural painting, Reflection, Symbolic, Chinese Influence, Wat Buppharam

Article Details

How to Cite
เรืองชีวิน ภ. (2018). จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดบุปผาราม อ.เมือง จ.ตราด: ภาพสะท้อนสัญลักษณ์อิทธิพลจีนที่ปรากฏในภาคตะวันออก Mural Painting in Ubosot, Wat Buppharam, Muang District, Trad Province: Symbolic Reflections of the Influence from Chinese Art in the East. Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, 27(2), 261–279. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/170649
Section
Research Articles

References

คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2542). วัฒนธรรมพัฒนาการทาง ประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดตราด. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการฯ.
จี.วิลเลียม สกินเนอร์. (2529). แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์และคนอื่น ๆ. สังคมจีนในประเทศไทย: ประวัติศาสตร์ เชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์.
เจนิเฟอร์ เวย์น คุชแมน. (2528). แปลโดย ชื่นจิตต์ อำไพพรรณ. การค้าทางเรือสำเภาจีน - สยาม ยุคต้น รัตนโกสินทร์ .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ และ มนุษยศาสตร์.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2507). ตำนานเรื่องเครื่องโต๊ะและถ้วยปั้น. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์.
____________. (2522). พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 5. กรุงเทพฯ: บัวหลวงการพิมพ์.
ธวัชชัย ดุลยสุจริต. (2545). สัญลักษณ์มงคลจีนสืบสานจิต-วิญญาณบรรพชนฯ. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์.
ธีระ คาลือชา. (2522). มัณฑนะศิลปจีนส่งอิทธิพลแก่ศิลปไทย. เมืองโบราณ. 5(6), 13.
น ณ. ปากน้ำ. (2522). ศิลปจีนที่เข้ามาสัมพันธ์กับศิลปไทย. เมืองโบราณ. 5(6), 25.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2531). ชาวจีน ปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลง. ศิลปวัฒนธรรม. 9(4), 44. นิพันธ์ พุทธิปรางค์. (2524). หนังสือที่ระลึกในงานทอดกฐิน วัดบุปผาราม (วัดปลายคลอง) จังหวัดตราด 24 ตุลาคม 2524. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
ประยูร อุลุชาฏะ. (2530). ศิลปะจีนและคนจีนในไทย. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2530). ฮก ลก ซิ่ว โชค ลาภ อายุยืน. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.
มาลิ นีคัมภีรญาณนนท์. (2550). รายงานวิจัยเรื่องตามรอยมรดกวัฒนธรรมจีนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น: มุมมองจากจิตรกรรมฝาผนัง. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรรณิภา ณ สงขลา. (2535). วัดบุปผาราม. กรุงเทพฯ: ฝ่ายอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังและประติมากรรมติดที่กองโบราณคดีกรมศิลปากร.
วาสิฏฐ์ อิ่มแสงจันทร์และคณะ. (2544). รายงานฉบับสุดท้าย โครงการรักษาเอกลักษณ์ของสถาปัตยกรรม ท้องถิ่นและ สิ่งแวดล้อม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว จังหวัดตราด มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2532). ศิลปะวัฒนธรรมไทย-จีนศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศรีศักร วัลลิโภดม. (2541). คนจีนในเมืองไทย ศิลปวัฒนธรรม. 9(4), 29-30.
ศรีศักร วัลลิโภดม.(2522). จีนในไทย. เมืองโบราณ. 5(6), 41.
สันติ เล็กสุขุม. (2548). จิตรกรรมไทยสมัยรัชกาลที่ 3 ความคิดเปลี่ยน การแสดงออกก็เปลี่ยนตาม. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
สุชาติ เถาทอง. (2544). ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาพื้นถิ่นภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. (2550). วิถีจีน-ไทยในสังคมสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน.
องค์การค้าครุสภา. (2506). ประชุมพงศาวดาร เล่ม 6 (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 6). กรุงเทพฯ: องค์การค้าครุสภา.
อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช. (2547). อิทธิพลศิลปะจีนในงานจิตรกรรมแบบนอกอย่างสมัยรัชกาลที่ 3. (วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ, มหาวิทยาลัยศิลปากร).