การวิเคราะห์รูปสัญญะและความหมายสัญญะในเครื่องประดับยุคอยุธยา เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการออกแบบเครื่องประดับไทยร่วมสมัยในอนาคต

Main Article Content

สุภารีย์ เถาว์วงศ์ษา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์รูปสัญญะและความหมายสัญญะในเครื่องประดับยุคอยุธยา  เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการออกแบบเครื่องประดับไทยร่วมสมัยในอนาคต โดยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรรูปสัญญะคือ  องค์ประกอบในการออกแบบเครื่องประดับประกอบด้วย  วัสดุ    ลวดลาย   รูปทรง   โทนสี   ประเภทของเครื่องประดับ   และตำแหน่งที่สวมใส่ หรือตำแหน่งการจัดวาง  ความหมายสัญญะคือ แนวความคิดในการออกแบบ ผ่านหลักการความเชื่อทางวัฒนธรรม 3 ประการ ประกอบด้วยคติความเชื่อลัทธิผีสางเทวดา คติความเชื่อแบบศาสนาพราหมณ์ และคติความเชื่อแบบพระพุทธศาสนา  ภายใต้กรอบการแปล - ตีความ  แบบวิเคราะห์ข้อมูล  และแบบวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยเลือกศึกษาจากเครื่องประดับยุคอยุธยาจำนวน  5 ชิ้นสำคัญที่เป็นที่รู้จักและปรากฏนิยามความหมายไว้อย่างชัดเจน

ผลการวิเคราะห์รูปสัญญะและความหมายสัญญะในเครื่องประดับยุคอยุธยา  พบว่าเครื่องประดับยุคอยุธยาเผยให้เห็นการสร้างสัญญะดังนี้  (1)  ความหมายสัญญะหลักในเครื่องประดับยุคอยุธยาใช้คติความเชื่อแบบศาสนาพราหมณ์  –  ฮินดูมากเป็นอันดับหนึ่ง  ใช้คติความเชื่อแบบพระพุทธศาสนาและคติความเชื่อลัทธิผีสางเทวดาในอันดับรองลงมา  และยังพบแนวความคิดอื่นนอกเหนือจากความเชื่อหลักของไทยด้วย เช่น การสื่อถึงความนิยมแพร่หลาย การสื่อถึงตราประจำพระราชสำนักของกษัตริย์เมืองเวศาลี  เป็นต้น  (2)  ความหมายสัญญะย่อยในเครื่องประดับยุคอยุธยาในคติความเชื่อแบบศาสนาพราหมณ์  –  ฮินดูประกอบด้วยความเชื่อย่อย  7  ประการคือ  การสื่อถึงวรรณะ  บทบาทหน้าที่  สถานะทางสังคม หรือการกำหนดตำแหน่งชนชั้นของผู้ใช้งานเครื่องประดับ  การเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ในสมัยเชียงแสน  การเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์ในสมัยทวารวดี  การเป็นสัญลักษณ์ของความมั่นคง และสัญลักษณ์ของแดนสวรรค์   การสื่อถึงสัตว์ประจำทิศ  การเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจด้านการผลิตของธรรมชาติ   การสื่อถึงสัตว์ในตำนานและป่าหิมพานต์   ในคติความเชื่อแบบพระพุทธศาสนา และคติความเชื่อลัทธิผีสางเทวดาพบความเชื่อย่อยอย่างละ  2  ประการ  โดยคติความเชื่อแบบพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย ความเชื่อย่อยการเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความอุดมสมบูรณ์   และการเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงวันวิสาขบูชา  คติความเชื่อลัทธิผีสางเทวดาประกอบด้วยความเชื่อย่อยการสื่อถึงการปกป้องคุ้มครองหรือเครื่องรางประจำติดตัว   และการสื่อถึงการอุทิศการเป็นเครื่องสุกรม   นอกจากนั้นผู้วิจัยพบความเชื่อย่อย 3 ประการของแนวความคิดอื่นที่นอกเหนือจากความเชื่อหลักของไทยนั่นคือ  การสื่อถึงความนิยมแพร่หลาย  การสื่อถึงตราประจำ พระราชสำนักของกษัตริย์เมืองเวศาลี   และการสื่อถึงศิลปะอยุธยาตอนต้น  (3)  ความหมายสัญญะที่พบนั้นสัมพันธ์กับรูปสัญญะ ได้แก่  วัสดุ  ลวดลาย  รูปทรง  ประเภทของเครื่องประดับ  ตำแหน่งที่สวมใส่หรือตำแหน่งการจัดวาง  และประโยชน์ใช้สอย   ซึ่งผลการศึกษานี้คือองค์ความรู้ให้ผู้สนใจหรือนักออกแบบเครื่องประดับนำไปใช้ประโยชน์ทางการออกแบบเครื่องประดับไทยร่วมสมัยในอนาคต

คำสำคัญ: รูปสัญญะ   ความหมายสัญญะ  คติความเชื่อของไทย  เครื่องประดับยุคอยุธยา

 

Abstract

This article describes the analyisis of the signified and signifiers found in Ayutthaya jewelry in order to  develop a design framework for conserving Thai traditional values in jewelry design of modern days. Five distinctive and well defined pieces of Ayutthaya jewelry were used in this qualitative study. Translation-interpretation framework and data analysis framework were used to uncover and identify relationships between jewelry design elements (signifiers) and their concepts or meanings (signified).

These findings will be further developed into a design framework for conserving Thai traditional values in contemporary Thai jewelry design. The analysis results are as followings: 1) Thai belief in Brahmin-Hindu belief is the most prominent signified in the jewelry of Ayutthaya period.

Thai belief associated with Buddhism and Nymph believes are also found significantly. Besides Thai belief,

other signs are also found, such as the hallmark of king's emblem of ancient Vesari city. 2. In Brahmin-Hindu belief, there are seven signified meanings including; the divided social classes, the abundance of Chiangmai Saen the ancient city, the prosperity of Tavaravadi the ancient kingdom, the stability and heaven, the sacred animals associated with cardinal directions, the respectful power of mother nature, the mythical Himmapan forest and creatures. In Buddhism belief, there are two signified meanings including; the abundance and prosperity and the indication of Visakha Bucha's day. In Nymph belief, there are two signified meanings including; the spiritual power for protection, the processions of the one who passed away and the offerings from his/her offspring (which is called "krueng-su-krom"). Furthermore, other signified and signifiers are found including the signs of popularity and prevalence, the hallmark of king's emblem of ancient Vesari city, and the indication to early period of Ayutthaya art. The signified meanings are found in relation to the signifiers in terms of material, pattern, form, type of jewelry, wearing position, and usage.  The results of this study is the knowledge that those interested in jewelry or designer to design a contemporary of Thailand in the future.

Keyword: Signifier,   Signified,   Jewelry  Ayutthaya  period,   Thai  Believes

Article Details

How to Cite
เถาว์วงศ์ษา ส. (2012). การวิเคราะห์รูปสัญญะและความหมายสัญญะในเครื่องประดับยุคอยุธยา เพื่อสร้างองค์ความรู้ในการออกแบบเครื่องประดับไทยร่วมสมัยในอนาคต. Journal of The Faculty of Architecture King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, 14(1), 123–136. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/4160
Section
Research Articles