การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ในพื้นที่แม่สอด: ความเป็นมาและความท้าทาย

Authors

  • วุฒิสาร ตันไชย สถาบันพระปกเกล้า

Abstract

การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษเพื่อตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของพื้นที่หนึ่งๆ ที่นอกเหนือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบปกติตามกฎหมายที่มีอยู่เดิม และเพิ่มเติมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีการก่อตั้งขึ้นมาก่อนหน้า2 เป็นข้อเสนอสำคัญที่นักวิชาการและหลายภาคส่วนจำนวนมากเสนอมาโดยตลอด ในรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 มาตรา 284 วรรคเก้ากำหนดให้สามารถ “..จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีโครงสร้างการบริหารที่แตกต่าง จากที่
บัญญัติไว้ในมาตรานี้ ให้กระทำได้ตามที่กฎหมายบัญญัติ แต่คณะผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหาร ท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง” เช่นเดียวกับร่างรัฐธรรมนูญพ.ศ.......ที่ผ่านการทำประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ก็มีข้อความที่สื่อถึงการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เพราะการก่อตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบใดๆ ก็ตามต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลายด้าน ในมาตรา 249 วรรคสองกล่าวว่า “การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบใดให้คำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นและความสามารถในการปกครองตนเองในด้านรายได้ จำนวนและความหนาแน่นของประชากร และพื้นที่ที่ต้องรับผิดชอบประกอบกัน” และมาตรา 252 ที่กำหนดให้ที่มาของผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จะให้มาโดยวิธีอื่นที่นอกเหนือจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือมาจากการเห็นชอบของสภาท้องถิ่น แต่ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน ขณะเดียวกันมีข้อเสนอและการศึกษาทางวิชาการ รวมถึงการยกร่างพระราชบัญญัติฯ ให้จัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในพื้นที่ต่างๆ เช่น นครแม่สอด เกาะสมุย แหลมฉบัง พื้นที่สุวรรณภูมิสำหรับการตั้งเมืองศูนย์กลางการบิน และอยุธยา-สุโขทัยให้เป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม เป็นต้น

Downloads

Published

2016-12-23

How to Cite

ตันไชย ว. (2016). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ในพื้นที่แม่สอด: ความเป็นมาและความท้าทาย. Business Review Journal, 8(2), 1–19. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/bahcuojs/article/view/125120

Issue

Section

Special Articles