Study of Factors for Making Decision to have Further Education of High Vocational Certificate students in the Faculty of Engineering

Authors

  • Parichat Buacharoen
  • Noparat Techapunratanakul
  • Pawanrat Buochareon

Keywords:

ปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อ, ปริญญาตรี, คณะวิศวกรรมศาสตร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพชั้นสูง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ สาขาช่างกลโรงงาน สาขาช่างโลหะ สาขาช่างยนต์ สาขาไฟฟ้ากําลัง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจํานวนทั้งสิ้น 220 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งเป็น 3 ตอน ตอนแรกเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว แบบสอบถาม ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่อของผู้ตอบแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของ แบบสอบถามเท่ากับ 0.86 ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะและปัจจัยอื่น ๆ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่ มีปัจจัยในการตัดสินใจศึกษาต่ออยู่ในระดับมาก คือ ด้านชื่อเสียงของสถาบัน (X= 4.27, SD = 0.45) ด้านอาจารย์ผู้สอน (X = 4.24, SD = 0.48) ด้านเหตุผลส่วนตัว (X= 4.01, SD = 0.47) ด้านหลักสูตรหรือสาขาวิชา (X = 3.89, SD = 0.51) ส่วนปัจจัยด้านค่าใช้จ่าย (X = 3.46, SD = 0.79) ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอํานวย ความสะดวก (X= 3.40, SD = 0.63) และด้านอิทธิพลการชักจูงจากบุคคลหรือสื่อ (X = 3.08, SD = 0.89) อยู่ใน ระดับปานกลาง

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำาหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
ธนกฤต ยืนยงเดชา. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนศึกษาต่อระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นอันดับหนึ่งของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำาเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
พรพรรณ ยาใจ. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจของนักศึกษาต่างชาติในการเข้ามาเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนใน ประเทศไทย กรณี
ศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เมธาวี สุขปาน. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ของนักเรียน กรณีศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ศศิวิมล แสนเมือง. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจเลือกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีของนักเรียนที่มีผลการเรียนดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา.สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548)แนวทางการจัดทำาหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2544. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
Kast, F.E. and Rosenzweig, J.E. (1985) Organizationand Management: A System and ContingencyApproach. 4th Edition. New York: McGraw Hill.
Ebert, Ronald & Micheal, Terrence. (1975). OrganizationDecision Process. New York: Crane Russal.

Downloads

Published

2019-06-30

How to Cite

Buacharoen, P., Techapunratanakul, N., & Buochareon, P. (2019). Study of Factors for Making Decision to have Further Education of High Vocational Certificate students in the Faculty of Engineering. RMUTL Journal of Business Administration and Liberal Arts, 7(1), 1–14. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/balajhss/article/view/214355