การตีตราและระยะทางสังคมของประชาชน ต่อผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนในชุมชน

Main Article Content

ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์
ศิรามาศ รอดจันทร์
พจนา ธัญญกิตติกุล
นพพร ศรีคำบ่อ
นรินทร กลกลาง
รัตนา สุขสมเขตร์
ชุติวัลย์ พลเดช
มานิจ ชนินพร
จันจนากร พรหมแก้ว
วิภารัตน์ รวดเจริญ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง ระหว่างเดือนมิถุนายน 2559 – กันยายน 2559  เพื่อศึกษาการตีตราและระยะทางสังคมของประชาชนในชุมชนที่มีต่อผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนใน 5 ภาคของประเทศไทย ได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้  โดยใช้แบบวัดการตีตราและระยะทางสังคมในกลุ่มอาสาสมัครทั้งสิ้น 675 คน ที่ได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่างและสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้สถิติพรรณนา เช่น จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติอนุมานได้แก่ การวิเคราะห์สองตัวแปรด้วยไค–สแควร์และการวิเคราะห์หลายตัวแปรด้วยการถดถอยโลจิสติก
          ผลการศึกษา พบว่ามีระยะทางสังคมในระดับปานกลาง มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 11(ต่ำสุด – สูงสุด = 0 - 21)  โดยปัจจัยทำนายระยะทางสังคมได้แก่ การรู้จักโรคเรื้อนจากมีคนพูดหรือเล่าให้ฟัง(adjusted OR = 0.4, p = 0.013) การรู้จักจากสื่อ (adjusted OR = 0.4, p = 0.037) ความเข้าใจว่าโรคเรื้อนเกิดจากกรรมพันธุ์(adjusted OR = 2.9, p = 0.001)  เกิดจากเชื้อโรค(adjusted OR = 2.7, p = 0.001)   และโรคเรื้อนไม่สามารถรักษาหาย (adjusted OR = 2.3, p = 0.012)
          การศึกษาเรื่องการตีตรา พบว่ามีการตีตราในระดับปานกลาง มีค่ามัธยฐานเท่ากับ 14(ต่ำสุด – สูงสุด = 0 - 30) ปัจจัยทำนายการตีตราได้แก่ อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี (Adjusted OR = 4.3, p = 0.007) อายุ 51 – 60 ปี (Adjusted OR = 4.4  p = 0.009) การไม่มีญาติเป็นโรคเรื้อน (Adjusted OR = 2.6, p = 0.013) การไม่มีคนในชุมชนเป็นโรคเรื้อน(Adjusted OR = 2.2, p < 0.001)ความเข้าใจว่าโรคเรื้อนติดต่อทางการหายใจ (Adjusted OR = 0.5, p = 0.043) โรคเรื้อนติดต่อทางการกินอาหาร (Adjusted OR = 0.4, p = 0.001) และโรคเรื้อนไม่สามารถรักษาหาย (Adjusted OR = 2.1, p = 0.018)
          สรุป ความเข้าใจเรื่องโรคเรื้อนที่ไม่ถูกต้อง เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเกิดระยะทางสังคมและการตีตรา ซึ่งควรมีการจัดทำโครงการฯเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชนเพื่อลดการตีตราและระยะ ทางสังคมในชุมชนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สถาบันราชประชาสมาสัย. สถานการณ์โรคเรื้อนในประเทศไทยปี พ.ศ.2558. นนทบุรี: สถาบันราชประชาสมาสัย; 2558. (อัดสำเนา)

2. พจนา ธัญญกิตติกุล, นพพร ศรีคำบ่อ, สมจินตนา ขุนเศรษฐี, เนรัญชรา สายกาล. การสำรวจความต้องการจำเป็นในการฟื้นฟูสภาพด้านร่างกาย เศรษฐกิจสังคมของผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน ณ จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี 2557; 12(3): 30-43.

3. ธิดา นิ่มมา. รายงานผลการสำรวจความพิการ ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและการฟื้นฟูสภาพตามความจำเป็นที่เหมาะสมในผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนจังหวัดพิจิตร. นครสวรรค์: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3; 2558. (อัดสำเนา)

4. Van Brakel WH, Sihombing B, Djarir H, Beise K, Kusumawardhani L, Yulihane R, et al. Disability in people affected by leprosy: the role of impairment, activity, social participation, stigma and discrimination [Internet]. 2015 [cited 2015 Sep 5]. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22826694

5. Dadun, Van Brakel WH, Peters RMH, Lusli M, Miranda-Galarza B, Zweekhorst MBM, et al. Assessing social distance as stigma predictor: exploring silent stigma towards people affected by leprosy from a community perspective in Indonesia. Proceedings of the 18th International Leprosy Congress; 2013 Sep 16 - 19; Brussels, Belgium. Brussels: World Health Organization; 2013.

6. ศิรามาศ รอดจันทร์, ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์, พจนา ธัญญกิตติกุล, นพพร ศรีคำบ่อ, เพชรรัตน์ อรุณภาคมงคล, ภัสราภรณ์ แก้วไทรนันท์, และคณะ. การสำรวจความพิการ ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมในผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อนจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารควบคุมโรค 2554; 37(3): 186-96.

7. Sermrittirong S, Van BrakelWH, Rodchan S, Nuncho S, Bunders-Aelen JFG. Assessing the attitudes and perceptions of community members and health workers regarding leprosy stigma. Int J Trop Dis Health 2015; 5(1): 11-24.

8. Lwanga SK and Lemeshow S. Sample size determination in health studies : A practical manual. England: Macmillan; 1991.

9. Sermrittirong S, Van BrakelWH, Bunders-Aelen JFG, Unarat G, Thanyakittikul P. The effectiveness of de-stigmatising interventions. IJTDH 2014; 4(12): 1218-32.

10. Peters RMH, Dadun, Van Brakel WH, Zweekhorst MBM, Damayanti R, Bunders-Aelen JFG, et al. The cultural validation of two scales to assess social stigma in leprosy. PLoS Negl Trop Dis [Internet]. 2015 [cited 2015 Sep 10]; 8(11): e3274. doi: 10.1371/journal.pntd.0003274. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25376007

11. Adhikari B, Kaehler N, Chapman RS, Raut S, Roche P. Factors affecting perceived stigma in Leprosy affected persons in western Nepal. PLoS Negl Trop Dis [Internet]. 2014 [cited 2015 Sep 10]; 8(6): e2940. doi: 10.1371/journal. pntd.0002940. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24901307

12. Kaehler N, Adhikar B, Raut S, Marahatta SB, Chapman RS. Perceived stigma towards leprosy among community members living close to Nonsomboon Leprosy Colony in Thailand. PLoS ONE [Internet]. 2015 [cited 2015 Sep 15]; 10(6): e0129086. doi:10.1371/journal. pone.0129086. Available from: https://pdfs.semanticscholar.org/babd/e7d953d94a9b9a9871f1b15e56a2d6b15216.pdf

13. สถาบันราชประชาสมาสัย. คู่มือการสำรวจสภาพความพิการ ปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและความต้องการจำเป็นในการฟื้นฟูสภาพในผู้ประสบปัญหาจากโรคเรื้อน. นนทบุรี: สถาบันราชประชาสมาสัย; 2554. (อัดสำเนา)

14. Sermrittirong S, Van Brakel WH, Bunders-Aelen JFG, Ariyothai N, Chaidee N. Addressing stigma related to leprosy: lessons from an intervention study in Thailand. Int J Trop Dis Health 2015; 5(1): 48-63.

15. AdhikariB, Shrestha K, Kaehler N, Raut S, Chapman RS. Community attitudes towards leprosy affected persons in Pokhara municipality of western Nepal. J Nepal Health Res Counc 2013; 11(25): 264-8.

16. Sermrittirong S, Van Brakel WH. Stigma in leprosy: concept, causes and determinants. Lepr Rev 2014; 85(1): 36-47.

17. Singh R, Singh B, Mahato S. Community knowledge, attitude, and perceived stigma of leprosy amongst community members living in Dhanusha and Parsa districts of Southern Central Nepal. PLoS Negl Trop Dis [Internet]. 2019 [cited 2019 Mar 6]; 13(1): e0007075. doi: 10.1371/journal.pntd.0007075. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/30633780

18. ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์. การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ผลของการตีตราต่อผู้เป็นโรคเรื้อนวัณโรค และผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้เป็นโรคเอดส์. วารสารควบคุมโรค 2561; 44(1): 19 -29.

19. ศิลธรรม เสริมฤทธิรงค์. การรับรู้การตีตราต่อโรคเรื้อนและวัณโรคในบุคลากรสาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ. วารสารควบคุมโรค 2560; 43(3): 329-41.