รายงานผู้ป่วยโรคติดเชื้อบลูเซลโลสิส

Main Article Content

จุติ บูรณะ

บทคัดย่อ

          โรคบรูเซลโลสิสเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนที่สำคัญ (Zoonosis) อาการและอาการแสดงของโรครวมไปถึงระยะเวลาการดำเนินโรค มีได้หลากหลาย มีความรุนแรงที่แตกต่างกัน โรคบรูเซลโลสิสเป็นโรคที่พบได้ในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย สถานการณ์ของโรคบรูเซลโลสิสในประเทศไทยยังคงมีรายงานการพบผู้ป่วยรายใหม่ทุกปี ปัจจุบันสำนักระบาดวิทยากำหนดให้โรคบรูเซลโลสิสในคนอยู่ในระบบการเฝ้าระวังโรคของกระทรวงสาธารณสุขและกำหนดให้มีการสอบสวนโรคในผู้ป่วยรายใหม่ทุกราย ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือการสัมผัสซากสัตว์ที่ติดโรค หรือรับประทานเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ติดโรค เช่น เนื้อแพะที่ปรุงไม่สุก นมแพะดิบ    เป็นต้น


          บทความนี้เป็นรายงานผู้ป่วยเพศหญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคบรูเซลโลสิสรายแรกในพื้นที่จังหวัดนนทบุรีที่มีประวัติการสัมผัสโรคชัดเจน ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยยืนยันด้วยการเพาะเชื้อจากเลือดและได้รับการรักษาด้วยยา doxycycline และ rifampicin ทานต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ จนอาการดีขึ้นและไม่มีภาวะแทรกซ้อน

Article Details

บท
รายงานผู้ป่วย

References

1. Pappas G, Akritidis N, Bosilkovski M, Tsianos E. Brucellosis. N Engl J Med 2005; 352: 2325-36.

2. Pappas G, Papadinitriou P, Akritidids NCL, Tsianos EV. The new global map of human brucellosis. Lancet Infect Dis 2006; 6(2): 91-9.

3. Manosuthi W, Thummakul T, Vibhagool A, Vorachit M. et al. Brucellosis: A re-emerging disease in Thailand. SE ASIAN J TROP MED 2004; 35(1): 109-12.

4. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคบรูเซลโลสิส. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.

5. Maloney GJ. CBRNE - Brucellosis [internet]. 2010 [cited 2019 Jun 26]. Available from: https://www.medscape.org/viewarticle/724977

6. สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการป้องกันและควบคุมโรคบรูเซลโลสิส. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2557.