การวิจัยเชิงกรณีศึกษา : การพัฒนานักศึกษาโดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ในการผลิตสื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้

Main Article Content

ชุฏิภึคศ์ เขมวิมุตติวงศ์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนานักศึกษาโดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองในการผลิตสื่อแอนิเมชันในการเรียนรู้เป็นการวิจัยเชิงกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาเอกคอมพิวเตอร์ศึกษา จำนวน 3 คน คัดเลือกจากนักศึกษาที่ผู้วิจัยเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการศึกษาอิสระด้านคอมพิวเตอร์ศึกษา ในหัวข้อการจัดทำสื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ เครื่องมือการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสังเกตพฤติกรรม การประเมินผลสัมฤทธิ์และการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ นำเสนอผลการวิเคราะห์และสรุปผลการวิจัยโดยวิธีการพรรณนารายละเอียด

ผลการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพพบว่า ด้านพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างได้ผลิตสื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้โดยการปฏิบัติด้วยตนเองในทุกขั้นตอนของการผลิต ด้านการประเมินผลสัมฤทธิ์ กลุ่มตัวอย่างมีผลสัมฤทธิ์ในการผลิตสื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ อยู่ในระดับคะแนน A มีระดับความพึงพอใจของผู้ชมสื่ออยู่ในระดับ ดีมาก และด้านการสัมภาษณ์ตามขั้นตอนการผลิตสื่อ พบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ โดยการปฏิบัติตามข้อชี้แนะของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการประเมินผล มีการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากสื่อต่างๆ ทางอินเทอร์เน็ต และมีความรู้สึกภาคภูมิใจกับผลงานสื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ที่ได้ตนเองได้ผลิตขึ้น

สรุปผลการวิจัย ได้ว่า กลุ่มตัวอย่างได้รับการพัฒนาให้มีความสามารถในการผลิตสื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างชิ้นงาน กลุ่มตัวอย่างเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตสื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ จำแนกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก คือ 1) ขั้นตอนเตรียมการก่อนการผลิตสื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ 2) ขั้นตอนการผลิตสื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ และ 3) ขั้นตอนหลังการผลิตสื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้

 

CASE STUDY RESEARCH: STUDENT’S KNOWLEDGE CREATION DEVELOPMENT ANIMATION MEDIA PRODUCTION FOR LEARNING

The objective of this research was to develop the students by creating self-knowledge to produce an animation media for learning. The Sampling group was the three of all students who are studying in the field of Computer Study in Chiang Mai Rajabhat University. They have been the researcher’s advisees and did the project under the topic of Animation Media Production for Learning. The instrument research was included behavioral observation, result based monitoring and evaluation, semi-structured interview and the data was collected by the qualitative data. The data was analyzed by analyzing qualitative data and its result and conclusion were presented in detailed description. The result of analyzing qualitative data was found that: in the case of behavioral aspect, the students produced the media by themselves.

The result based on monitoring and evaluation was in the A level and the audience’s satisfaction was in the very good level, while thesemi-structuredinterview revealedthat thestudents wereabletosolveobstaclesas they’re strictly abide by their advisor and evaluation committee.

The research was concluded that the sampling group could be developed themselves to produce animation media for learning through constructionism theory. Finally, they can learn to produce animation media for learning and create the body of knowledge which consists of pre-production, production and post-production.

Article Details

How to Cite
เขมวิมุตติวงศ์ ช. (2017). การวิจัยเชิงกรณีศึกษา : การพัฒนานักศึกษาโดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ในการผลิตสื่อแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้. Journal of Graduate Research, 8(1), 83–97. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/95804
Section
Research Article