ศักยภาพและความพร้อมของเมืองเชียงใหม่กับธุรกิจการจัดประชุมไมซ์

Main Article Content

วีระยุทธ เศรษฐเสถียร

Abstract

การศึกษาความพร้อมของเมืองเชียงใหม่กับธุรกิจการจัดประชุมหรือไมซ์ (MICE) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพความพร้อมและสำรวจโครงสร้างพื้นฐานสิ่งอำนวยความสะดวกในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มไมซ์ ทั้งนี้ผลการศึกษาที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนส่งเสริม การตลาดของธุรกิจการจัดประชุมองค์กร (Meeting) การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล (Incentive Travel) งานประชุมวิชาการ (Convention) และการแสดงสินค้าและนิทรรศการ (Exhibition) ในจังหวัดเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดเชียงใหม่ มีความพร้อมในด้านสิ่งอํานวยความสะดวกต่าง ๆ สําหรับการจัดธุรกิจการประชุมไมซ์ทั้ง 8 ประเด็น ได้แก่ คุณภาพของสถานที่ในการจัดประชุม การเข้าถึงสถานที่จัดการประชุม โครงสร้างพื้นฐานการจัดการประชุม การสนับสนุนของรัฐ ศักยภาพและความพร้อมของจังหวัดเชียงใหม่ในการดำเนินธุรกิจ MICE ได้แก่ ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และ Logistics ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และกลุ่มประเทศเอเชียใต้ (BIMSTEC) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่เราสามารถจะขยายตลาด MICE ออกไปได้ในอนาคต รวมทั้งการมีทรัพยากรการท่องเที่ยว ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์ และแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม บริสุทธิ์และมีคุณภาพ ประกอบกับบุคลิกอันอ่อนโยน และมีน้ำใจของคนเชียงใหม่ เป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยว รวมทั้งความพร้อมในด้านอื่น ๆ อาทิด้านสาธารณสุขและบริการทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาล(Medical/Health Hub) ของภูมิภาค ในด้านการศึกษามีมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาหลักสูตรนานาชาติหลายแห่ง พร้อมที่จะรองรับการเป็นศูนย์กลางการศึกษา (Education Hub) ในด้านการบริการ มีศูนย์ประชุมนานาชาติ โรงแรม รีสอร์ทที่ได้มาตรฐาน และมีแหล่งผลิตหัตถกรรมที่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย เครื่องเงิน เครื่องเขิน ไม้แกะสลัก เซรามิกซ์ที่จะช่วยกระจายรายได้ สร้างเศรษฐกิจสู่ชุมชนได้เป็น อย่างดี ทั้งนี้ในอนาคตเชียงใหม่ควรยกระดับคุณภาพสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานให้แก่นักท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว การสร้างกิจกรรมทางเลือกใหม่ ๆ พร้อมกับการพัฒนาคุณภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว และเร่งการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนเพื่อเชื่อมโยงศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทั่วเชียงใหม่

 

POTENTIAL AND READINESS OF CHIANG MAI FOR MICE BUSINESS

This research aimed to study readiness and to explore the infrastructures of Chiang Mai which are important for supporting MICE tourists. The result of the research is useful for planning and developing the marketing of Meeting, Incentive Travel, Convention and Exhibition (MICE) in Chiang Mai. It was found that Chiang Mai is ready in terms of the facilities for MICE in 8 aspects; quality of the venue, accessibility of the venue, infrastructure of the venue, support from the government, potential and readiness of Chiang Mai for MICE; readiness of infrastructure, transportation and logistics. These can be connected with GMS countries and countries in South Asia to which Thailand could expand MICE market. Besides, there are tourism resources with unique cultures along with beautiful and precious tourist attractions. People are so gentle and humble that tourists are impressed. Furthermore, public health services are so up-to-date that they can be developed into the medical or the health hub of the region. Chiang Mai is also ready for being the education hub as there are many international programs in many institutions. Plus, there are international convention center, certified hotels and handicraft centers; silk, cotton, silver, lacquer ware, wood carving and ceramics that are important for distributing incomes to the communities. In the future, Chiang Mai should further develop the facilities for the tourists; reforming attractions, creating alternative activities, improving tourism staff and developing mass transportation to and from the convention center and places in Chiang Mai.

Article Details

How to Cite
เศรษฐเสถียร ว. (2017). ศักยภาพและความพร้อมของเมืองเชียงใหม่กับธุรกิจการจัดประชุมไมซ์. Journal of Graduate Research, 8(1), 199–215. Retrieved from https://so02.tci-thaijo.org/index.php/banditvijai/article/view/95827
Section
Research Article