การสร้างความรู้ ผ่านทักษะการคิดแก้ปัญหา COGNITIVE CONSTRUCTIVISM THROUGH PROBLEM SOLVING THINKING SKILL

ผู้แต่ง

  • ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์
  • เกษร สุวิทยะศิริ

คำสำคัญ:

การสร้างความรู้, ทักษะการคิดแก้ปัญหา, การแก้ปัญหา, constructivism, problem solving thinking skill, problem solving

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ปัญหาบางปัญหาเราสามารถหาทางแก้ได้ทันที แต่บางปัญหาอาจต้องใช้เวลานานในการค้นหาคำตอบ ซึ่งคำตอบที่ได้ต้องพิสูจน์ได้ว่าเป็นคำตอบที่ถูกต้อง น่าเชื่อถือและสามารถนำไปอ้างอิงต่อได้ การแก้ปัญหาของแต่ละบุคคลมีขั้นตอนและใช้เวลาที่แตกต่างกัน เนื่องจากความรู้และประสบการณ์ซึ่งกระบวนการแก้ปัญหานั้นต้องอาศัยทักษะทางปัญญา เมื่อบุคคลประสบเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่ไม่แน่นอน หรือถูกกระตุ้นด้วยเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง บุคคลก็จะพยายามปรับตัว โดยการรับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์หรือสิ่งแวดล้อมเข้ามา และมีการเชื่อมโยงความรู้กับประสบการณ์เดิม หลังจากนั้นจะมีการปรับเปลี่ยนหรือการเรียนรู้ จนเกิดการสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมานั่นเอง ซึ่งจะเห็นได้ว่าบุคคลเกิดกระบวนการเรียนรู้จากปัญหาหรือประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้บุคคลต้องใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา ซึ่งเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ ดังนั้นในกระบวนการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนควรเลือกใช้ปัญหาหรือประสบการณ์ใหม่ที่เหมาะสมเป็นตัวกระตุ้น ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทำความเข้าใจกับปัญหา ฝึกมองปัญหา และใช้ทักษะการคิดในการแก้ปัญหาอย่างมีหลักการและเหตุผล

Abstract

     Problem solving is a basic activity in a human existence. Some problems can be solved immediately but some problems may take a long time to find the answer. The answer must be proved to be correct, reliable, and can be referenced. Individuals take different steps and time to solve a problem varied by different knowledge and experience. The problem solving process is based on intellectual skills. When a person experiences an unforeseen event or experience or was triggered by a conflicting event, individuals will try to adapt by getting new information from the experience or environment. After that, a person will link new knowledge with the old experience by which learning process and new knowledge are occurred. It can be seen that a person experiences a learning process from a new problem or experience. In such a process, the person must use the problem-solving process. This is a skill that can be practiced and developed. Therefore, in the instruction process, teachers should select the appropriate problems or experience as a stimulus for helping students understand problems, analyze them, and solve them in a logical way.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-01

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ