ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง

ผู้แต่ง

  • เกษริน อุบลวงศ์
  • นัยนา พิพัฒน์วณิชชา

คำสำคัญ:

ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อม, ผู้สูงอายุ, โรคสมองเสื่อม, โรคความดันโลหิตสูง, health belief, dementia preventive behavior, older adults, dementia; hypertension

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษา ที่คลินิกโรคอายุรกรรม โรงพยาบาลเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 120 คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การรับรู้ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์สเปียร์แมน เนื่องจากการกระจายของข้อมูลไม่เป็นโค้งปกติ

     ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.5 มีพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อม อยู่ในระดับสูง ( = 15.67, SD = 2.58) โดยความเชื่อด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง (rs = 0.40) กับพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพรายด้านกับพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงการรับรู้ประโยชน์ และการรับรู้ความรุนแรงของโรคสมองเสื่อม มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (rs = 0.33, 0.33,และ 0.30 ตามลำดับ) การรับรู้ความสามารถของตนเองและการรับรู้สิ่งชักนำให้เกิดการพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมมี ความสัมพันธ์ทางบวกในระดับตํ่า (rs = 0.29 และ 0.24 ตามลำดับ) และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อม มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง (rs = -0.33) กับพฤติกรรมป้องกันโรคสมองเสื่อมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการศึกษานี้เสนอแนะให้พยาบาลนำผลการศึกษาไปใช้ในการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงตามความเชื่อด้านสุขภาพ และส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุโรค ความดันโลหิตสูงให้ถูกต้องเหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-10-05