การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการโดยใช้แนวทางอาหารของแม่ในเด็กก่อนวัยเรียน ศูนย์ศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา

ผู้แต่ง

  • เจิดนภา แสงสว่าง
  • ศิริวรรณ ชูกำเนิด
  • ปาริชาต ชูประดิษฐ์
  • ศรีสุกาญจน์ บิณฑาประสิทธิ์
  • ทองใหญ่ วัฒนศาสตร์

คำสำคัญ:

เด็กก่อนวัยเรียน, แนวทางอาหารของแม่, การบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการ, การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน และสร้างรูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียนตามแนวทางอาหารของแม่ซึ่งประกอบไปด้วย อาหารสะอาดปลอดภัย โภชนาการดีและทำด้วยความรัก ผู้วิจัยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกต และการสะท้อนกลับ ผู้เข้าร่วมวิจัยหลัก และผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร พยาบาลประจำศูนย์ ครูพี่เลี้ยงและตัวแทนผู้ปกครองและแม่ครัว เก็บข้อมูลระหว่างเดือน กุมภาพันธ์ 2560 - กันยายน 2560 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบเค้าโครงข้อคำถามในการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบสอบถามภาวะโภชนาการ มีการตรวจสอบคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item–Objective Congruence: IOC) และหาความเชอื่ มนั่ ของแบบสอบถาม (Reliability) ได้ค่าเท่า กับ .84 วิเคราะห์

ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1. ข้อมูลทั่วไปและปัญหาเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ พบว่า ร้อยละ 72 เป็นครอบครัวเดี่ยว ร้อยละ 2 มีน้ำหนักค่อนข้างน้อย ร้อยละ 6 มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 2 เตี้ยและอ้วน ครอบครัวปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน เฉลี่ย 4-5 วันต่อสัปดาห์ การบริโภคอาหารที่ปฏิบัติ น้อยกว่าเกณฑ์พบมากที่สุด คือ กินอาหารกลุ่มผลไม้วันละ 3 ส่วนทุกวันคิดเป็น ร้อยละ 74 และการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมพบมากที่สุดคือเติมน้ำตาลในอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ( mean= 3.20, SD = 0.78)
  2. รูปแบบการบริหารจัดการด้านอาหารและโภชนาการของเด็กก่อนวัยเรียน โดยใช้แนวทางอาหารของแม่ ประกอบ

ด้วย 1) กำหนดนโยบายอาหารของแม่ ได้แก่ การบริหารจัดการอาหารกลางวัน การจัดอาหารม้อื เช้า การกำกับติดตามคุณภาพอาหาร การจดั หาแหลง่ อาหารปลอดภยั และการเฝา้ ระวงั ภาวะโภชนาการ 2) การเพิ่มความรู้เรื่องภาวะโภชนาการแก่ผู้ปกครอง และ 3) การปรับเปลี่ยนทัศนคติอาหารของแม่ โดยบูรณาอาหารของแม่ลงในหน่วยสาระการเรียนรู้และโครงการโรงเรียนพ่อ-แม่ และการหาต้นแบบอาหารของแม่

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-10-05