ผลการประเมินทักษะการปฏิบัติทางการพยาบาลโดยใช้ OSCEs และความพึงพอใจในการสอบวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุของ นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • ศรีสุนทรา เจิมวรพิพัฒน์
  • พิริยลักษณ์ ศิริศุภลักษณ์
  • จินตนา ไพบูลย์ธนานนท์
  • วิดาพร ทับทิมศรี
  • เพ็ญวรรณ เข้มขัน

คำสำคัญ:

การประเมินผล, การสอบแบบ OSCEs, ทักษะการปฏิบัติทางการพยาบาลของนักศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการประเมินทักษะการปฏิบัติทางการพยาบาล และความพึงพอใจในการสอบวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ โดยการใช้รูปแบบการสอบ OSCEs ในนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 146 คน และผ่านการสอบกับอาจารย์พยาบาลจำนวน 12 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือใช้แบบสังเกตตรวจสอบรายการ (observational checklist) จำนวน 3 ชุด และแบบประเมินความพึงพอใจในการประเมินทักษะการปฏิบัติทางการพยาบาล ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของเครื่องมือเท่ากับ 0.72, 0.93, 0.91 และ 0.86 หาค่าความเชื่อมั่นของชุดเครื่องมือโดยทดลองใช้กับนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 30 คน ใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90, 0.91, 0.90 และ 0.93 ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบว่าการประเมิน 3 ทักษะการปฏิบัติการพยาบาล กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 ขึ้นไป เรียงตามลำดับ ดังนี้ การสอนผู้ป่วยพ่นยาสเตียรอยด์ชนิดสูด (MDI) ร้อยละ 77.40 การเช็ดตาและหยอดตา ร้อยละ 63.33 และการสวนล้างกระเพาะปัสสาวะแบบต่อเนื่อง (CBI) ร้อยละ 43.11 นอกจากนี้มีคะแนนความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการสอบ OSCEs ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (mean=3.86, SD =0.72) การศึกษานี้ทำให้เห็นว่า รูปแบบการสอบ OSCEs สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อ ประเมินทักษะในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษา และใช้เป็นแนวทางส่งเสริมทักษะทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลรายบุคคลได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย