ผลของโปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายด้วยการเยี่ยมบ้านและ การใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มี ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

ผู้แต่ง

  • อำภา เลิศมงคลสมุทร
  • จริยาวัตร คมพยัคฆ์
  • กนกพร นทีธนสมบัติ

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น, ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, โปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมาย, การเยี่ยมบ้าน, แอปพลิเคชันไลน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายด้วยการเยี่ยมบ้าน การใช้แอปพลิเคชันไลน์และการพยาบาลตามปกติ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าความเข้มข้นของเลือดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก แบ่งเป็นกลุ่มละ 25 ราย ในแผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลสมุทรปราการเครื่องมือที่ใช้การดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมการมปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายตามทฤษฎีการพยาบาลของคิงด้วยการเยี่ยมบ้านและการใช้แอปพลิเคชันไลน์ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะโลหิตจาง ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่า IOC เท่ากับ 0.76 และทดลองใช้มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบาค เท่ากับ 0.78 ดำเนินการทดลองภายหลังได้รับการรับรองจริยธรรมจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลสมุทรปราการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน Wilcoxon Signed Rank test และ Kruskal-Wallis ที่ระดับการมีนัยสำคัญทางสถิติ < .05 ผลการวิจัยพบว่าหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายด้วยการใช้แอปพลิเคชันไลน์มีพฤติกรรมการดูแลตนเองและมีค่าความเข้มข้นของเลือดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายด้วยการเยี่ยมบ้านและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01)

References

1. Dolruedi P. Impacts of pregnancy and factors affecting pregnancy among teens who received prenatal care at Phayao hospital. This research project is supported by Boromarajonani College of Nursing, Phayao, Thailand. 2011. (in Thai)

2. Peerapong I. Hematologic Disorders During Pregnancy, Text book of Obstetrics. Bangkok: P.A. Living; 2008 (in Thai)

3. King IM. Evidence-based nursing practice, Theories. Journal of Nursing Theory 2000; 9(2):4-9.

4. Nongyao S. The effect of nursing care using goal attainment theory on iron deficiency anemia preventive behaviors in pregnant women. Journal of Nursing Julalongkorn University 2007;19(2):17-28. (in Thai)

5. Sujira P. The Effects of Mutual Goad-Setting Oriented Program on Self-Care Behaviors and Hematocrit among Pregnant Woman with Iron Deficiency Anemia. Prince of Songkla University; 2013. (in Thai)

6. Sangthong T, Nutthira P, Wantana M. Effects of a home visit and telephone follow-up program on health behaviors and health status in persons with uncontrolled hypertension. Rama Nurse Journal 2014;8(3):356-71. (in Thai)

7. Supaporn M, Somaowanuch C, Apinya W. Effects of home visit program on health beliefs, behaviors and blood pressure among patients with hypertension in community. Journal of Nursing and Health Care 2015;34(4):63-72. (in Thai)

8. Saowaluk P. The effects of web based instruction health promoting program on breast cancer
preventive behavior in female vocational students. Journal of Nursing 2016;65(2):63-71. (in Thai)

9. Panapa P. Useability of instructional media in multimedia for student Development study class in LSC303/LSM211 Transportation Management Business Faculty, Sripatum University. Journal of Business Administration, Sripatum University; 2014. (in Thai)

10. Polit D, Hungler B. Nursing Research: Principle and Method, 6th ed.; Philadelphia: Lippincott Company; 1999

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01