ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิดของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร FACTORS PREDICTING CONTRACEPTIVE BEHAVIORS AMONG VOCATIONAL FEMALE STUDENTS IN BANGKOK

ผู้แต่ง

  • นฤมล ทาเทพ
  • รัตน์ศิริ ทาโต

คำสำคัญ:

นักเรียนหญิงอาชีวศึกษา, เพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น, พฤติกรรมการคุมกำเนิด, ปัจจัยสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคุมกำเนิด, Vocational female student, Sexuality in adolescent, Contraceptive behaviors, factors contraceptive behavior

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิด ปัจจัยที่ศึกษาประกอบด้วย การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การรับรู้ความรุนแรงของการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การรับรู้ประโยชน์ของการคุมกำเนิด การรับรู้อุปสรรคของการคุมกำเนิด ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด ค่านิยมของกลุ่มเพื่อนในการคุมกำเนิด การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกำเนิด และการสนับสนุนจากคู่นอนในการคุมกำเนิด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร อายุไม่เกิน 18 ปี ที่ระบุว่ามีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา จำนวน 259 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การรับรู้ความรุนแรงของการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การรับรู้ประโยชน์ของการคุมกำเนิด การรับรู้อุปสรรคของการคุมกำเนิด ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิด ค่านิยมของกลุ่มเพื่อนต่อพฤติกรรมการคุมกำเนิด การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกำเนิด การสนับสนุนของคู่นอนในการคุมกำเนิด และแบบสอบถามพฤติกรรมการคุมกำเนิด ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .82, .83, .84, .88, .87, .84, .81, .82 และ .85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์ปัจจัยทำนายด้วยการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

     1. การใช้ถุงยางอนามัยอยู่ในระดับดี (Mean= 3.33 + 0.74) การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด และยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉินอยู่ในระดับปานกลาง (Mean= 2.78 + 0.79 และ  Mean= 2.57 + 0.74)

   2. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการคุมกำเนิด ประกอบด้วย การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคุมกำเนิด (β = .224, R2change= .313) ค่านิยมของกลุ่มเพื่อนในการคุมกำเนิด (β = .218,R2change = .063) การรับรู้ประโยชน์ของการคุมกำเนิด (β = .205,R2change = .032 ) และการรับรู้ความรุนแรงของการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ (β = .139,R2change = .013) ตัวแปรทั้งสี่สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการคุมกำเนิดได้ร้อยละ 42 (R2change = .042)

Abstract

     The purposes of this correlational predictive study were to study contraceptive behaviors and to identify predictive factors of contraceptive behaviors among female vocational students in Bangkok. The selected factor included perceived susceptibility of unwanted pregnancy, perceived severity of unwanted pregnancy, perceived benefits of contraception, perceived barriers to contraception, knowledge about contraception, peers norms of contraceptive behavior, contraception self-efficacy, partners support of contraception. A sample consisted of 259 female students, under 18 years of age identifying themselves as sexually active during the past six months. Data were collected using a set of questionnaire :perceived risk of unwanted pregnancy, perceived severity of unwanted pregnancy, perceived barriers to contraception, perceived benefits of contraception, knowledge about contraception, peers norms of contraceptive behavior, contraception self-efficacy, partners support of contraception and contraceptive behaviors. The questionnaires were tested for their content validity by a panel of experts. Their Cronbach’salpha coefficients were .82, .83, .84, .88, .87, .84, .81, .82 and .85, respectively. Data were analyzed using stepwise multiple regression analysis. The results revealed that:

     1. Condom use of vocation female students was at high level ( = 3.33 + 0.74), oral contraceptive pills and emergency contraceptive pills were at moderate levels ( = 2.78 + 0.79 and = 2.57 + 0.74).

     2. Predictors of contraceptive behavior include contraception self-efficacy ( β= .244, R2change = .313), peers norms of contraceptive behavior (β = .218, R2change = .063), perceived benefits of contraception (β = .205, R2change = .032), and perceived severity of unwanted pregnancy (β = .139), the four variables accounted for 42% of contraceptive behavior.

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-04-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย