ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี* FACTORS RELATED TO SELF-MANAGEMENT OF HYPERTENSIVE PATIENTS, TALADKWAN DISTRICT HEALTH PROMOTING HOSPITAL, NONTHABURI PROVINCE

ผู้แต่ง

  • สุมาพร สุจำนงค์
  • มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์
  • นิรัตน์ อิมามี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง, Self-Management Behaviors, Hypertensive Patients

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองเพื่อควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงชนิดปฐมภูมิ จำนวน 200 คน ที่ไปรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลาดขวัญ   ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสัมภาษณ์ที่พัฒนาขึ้นและผ่านการประเมินความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยงแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square test และPearson Product Moment Correlation  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมานานน้อยกว่า 5 ปี ปัจจัยด้านลักษณะประชากรและสังคม ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) และอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) สถานภาพสมรส และดัชนีมวลกายมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามคำแนะนำในการรับประทานยาและการไปตรวจตามนัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<0.05) ปัจจัยด้านความรู้และการได้รับการสนับสนุนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายและการปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<0.05) ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์เฉพาะกับพฤติกรรมการออกกำลังกาย การรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการออกกำลังกาย และการได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกในครอบครัว กลุ่มเพื่อนผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจัดการตนเองทั้ง 3 ด้าน คือ การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value<0.05)  ข้อเสนอแนะจากการศึกษานี้คือเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีการรับรู้ความสามารถในพฤติกรรมการจัดการตนเอง และมีการวางแผนส่งเสริมให้เพื่อนผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัว สนับสนุนและเสริมแรงด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย

ABSTRACT

This survey research aimed to study factors related to self-management behaviors to control blood pressure of people with hypertension.  A sample of 200 persons was systematically selected from primary hypertensive patients who were residents of 11 villages of the Taladkwan sub-district health promotion hospital. Data were collected using a structured interview schedule after content validity and reliability were assessed. 

Results of the study showed that the majority of the sample were female, had been sick with hypertension for less than 5 years. Individual and social factors, namely age, educational level, and income, were significantly related to eating behavior (p-value<0.05); age, educational level, and occupation were significantly related to exercise behavior (p-value<0.05); and marital status and body mass index were significantly related to medical compliance regarding taking prescribed medicine, and following medical appointments (p-value<0.05). In relation to knowledge and supportive factors was significantly related to exercise behavior and medical compliance (p-value<0.05); perceived severity of the complications from hypertension was significantly related only to exercise behavior; and perceived self-efficacy to perform self-management behaviors was significantly related to eating and exercise behaviors.  Receiving family support, peer patients, and from clinic staffs were significantly related to eating behavior, exercise behavior, and medical compliance (p-value<0.05). The recommendation is the hospital staffs should promote their hypertensive patients to perceive their self efficacy and promote peer patients and family members in supporting and positive reinforcing hypertensive patients on their eating and exercise behaviors

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-07-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย