การรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในหญิงตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลราชวิถี Perceived Benefits and Health Promoting Behaviors in Pregnant Women at Antenatal Clinic of Rajavithi Hospital

ผู้แต่ง

  • นางเสาวณีย์ ภูมิสวัสดิ์
  • นางเกษร สุวิทยะศิริ
  • นางวันดี ไชยทรัพย์

คำสำคัญ:

การรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ, หญิงตั้งครรภ์, Perceived Benefit of Action in health Promoting Behavior, Health Promoting Behaviors, Pregnant women

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) เพื่อศึกษาการรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ ปัจจัยส่วนบุคคลคือ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ของครอบครัว กับพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์แรก ที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลราชวิถี เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย  1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  2) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.84  3) แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.88  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

        ผลการวิจัยพบว่า จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เก็บข้อมูล 350 ราย ตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2552 ส่วนใหญ่(ร้อยละ46.9)มีอายุในช่วง 25-34 ปี  ร้อยละ 90 มีสถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน ประมาณหนึ่งในสามมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับปริญญาตรีในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน กลุ่มตัวอย่างจำนวนเกือบครึ่ง(ร้อยละ 44.6)มีอาชีพรับจ้าง มีรายได้ต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ส่วนใหญ่ร้อยละ 91.8 ได้รับความรู้ขณะตั้งครรภ์ โดยแหล่งความรู้มาจากบุคคลในครอบครัวมากที่สุดร้อยละ 69.8  หนังสือตำราร้อยละ 67.2  บุคคลากรสาธารณสุขร้อยละ60.9 และเอกสารความรู้และแผ่นประกาศจากโรงพยาบาลร้อยละ 56.0  โดยชนิดของความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ที่ได้รับส่วนใหญ่เป็นเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โภชนาการ การทำงานและการออกกำลังกาย อาการผิดปกติและการแก้ไข คิดเป็นร้อยละ 88.5,76.4,62.6และ59.2 ตามลำดับ

                กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี X=4.71(SD=0.45) มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับที่ดีทุกด้านเช่นกัน X=3.80 (SD=0.39)

      การรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   วุฒิการศึกษาและรายได้มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการรับรู้ประโยชน์และพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05   อายุไม่มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการรับรู้ประโยชน์และพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนอาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

      โรงพยาบาลควรส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์เกิดการรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพ  และการที่ครอบครัวเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญที่สุดของหญิงตั้งครรภ์ ดังนั้นควรให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลหญิงตั้งครรภ์มากขึ้น 

Abstract

Introduction: Unhealthy pregnant can lead to unwanted changes and health deviations. Antenatal care is believed to enhance knowledge and reduce risks during pregnant.

Method: This Descriptive Research was aimed to explore the extent of perceived benefits and health promoting behaviors among pregnant women. Relationships between them and other demographic data were also studied.

Results: Data were collected from 350 pregnant women who underwent antenatal care at Rajavithi hospital during August to November 2009. Almost half (45.7%) were 25-34 years old and 90% were married. One third of the subjects finished high school while another one third completed bachelor degree. Almost half were working for daily wages with 44.6% had their income less than 10,000 baht (300US$) per month. Most of the subjects (91.8%) reported that they had knowledge related to pregnant. Their sources of knowledge were family members (69.8%), books (67.2%), health personals (60.9%) and fliers from the hospital (56%). Types of knowledge that they received were breast feeding (88.5%), nutrition (76.4%), working and exercise (63.7%), complications and hygiene care (59.2%)

Perceived benefits scores were at good level (mean = 4.71, SD = 0.45) as well as health promoting behaviors scores (mean = 3.80, SD = 0.39). Medium positive relationships were found between perceived benefit and health promoting behavior. Both perceived benefits and health promoting behaviors were positively related with education and income while career was significantly related with perceived benefit only. Age were not related with both variables

Recommendations: The authors suggest that some types of knowledge especially complication prevention are needed to be emphasized.  Health education to family members will be useful. Structured health education will be useful for maintaining consistent quality nursing care for all pregnant women. Replicated study among subjects with different numbers of pregnancy is recommended for future research. 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-07-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย