ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อความรู้และ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลราชวิถี EFFECTS OF SELF-CARE PROMOTING PROGRAM TOWARD KNOWLEDGE AND PRACTICE FOR CATARACT SURGERY PATIENTS, RAJAVITHI HOSPITAL

ผู้แต่ง

  • อรุณรัตน์ รอดเชื้อ

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง, ความรู้และการปฏิบัติตัว, ผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก, Self - care promoting program, Knowledge and practice, Cataract surgery patient

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกก่อนและหลังการใช้โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง  กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่มารับการผ่าตัดต้อกระจก ณ ศูนย์ผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลราชวิถี แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง จำนวนกลุ่มละ 30 คน รวม 60 คน กลุ่มผู้ป่วยได้จากการคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยวิธีจับคู่   เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง ประกอบด้วย วีดิทัศน์เรื่องโรคต้อกระจกและการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก สาธิตและฝึกปฏิบัติการเช็ดตา หยอดตา ป้ายตาและครอบตา คู่มือปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก และโทรศัพท์เยี่ยมที่บ้านวันที่ 3 ของการทำผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชุด คือ แบบทดสอบความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกและแบบสอบถามการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจก ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยค่าความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกเท่ากับ .96  ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจกเท่ากับ .84 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีและสถิติทดสอบ Mann - Whitney

ผลการวิจัย พบว่า  ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง มีความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ  

ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง มีการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองของผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจกดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่าการนำโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกมาใช้ในการให้บริการจะช่วยเพิ่มความรู้และการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองของผู้ป่วยให้ดีขึ้น เกิดสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ รวมทั้งเป็นการเพิ่มคุณภาพบริการพยาบาลผ่าตัด

 

Abstract

 

       The purposes of this quasi experimental research were to compare knowledge and practice for cataract surgery patients before and after using Self - care promoting program. The sample of this study were 60 cataract patients at Cataract Surgery Center, Rajavithi hospital. 60 patients divided into the control group and the experimental group equally. The patients were selected by the purposive sampling method depending on the inclusion criteria into the experimental group and the control group by matched pair technique. The instruments were Self – care promoting program, video ; including cataract disease and patients’ practice, group process and exchange learning activities for cataract surgery patients, demonstration and return – demonstration ; including eye dressing, medicine – dropper, eye ointment and eye shield, brochure for self – care for post – operative cataract patients, and telephone visit in the 3rd day after the surgery. The collecting data were obtained by questionnaires of patients’ self – care knowledge and practice for cataract surgery patients. All instruments were validated by panel of experts. The reliability of the test for patients’ self – care knowledge was .96 and the Cronbach’s alpha coefficient of the questionnaire for practice for cataract surgery patients was .84. Statistical techniques used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, t – test  and Mann – Whitney test.

       The results of this study revealed that the patients’ self – care knowledge in the experimental group was significantly higher than that of the control group at the .05 level.  The practice for cataract surgery patients in the experimental group was significantly higher than that of the control group at the .05 level.

      In Conclusion the implementation of Self – care promoting program would gain more knowledge and practice for cataract surgery patients. The nurses could enhance good relationships with patients and families as well as increasing the quality of perioperative nursing care.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย