ปัญหาและสภาพการณ์ประเมินผลงานสาธารณสุข หน่วยงาน ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี Problems and Situation of Public Health Outcomes Assessment within the Sections in the Public Health Office in Chonburi Province.

ผู้แต่ง

  • ผาสุข สุวรรณจิตต์

คำสำคัญ:

ปัญหาและสภาพการณ์, ประเมินผลงานสาธารณสุข, หน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด, Problems and Situation, Public health outcomes assessment, The Sections in the Public Health Office

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาปัญหาและสภาพการณ์ประเมินผลงานสาธารณสุขหน่วยงานในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี   วิธีการเก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม  ศึกษาช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน  - 30  กันยายน  2554  โดยมีกลุ่มตัวอย่าง  2 กลุ่ม  กลุ่มแรกเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงาน ในปีงบประมาณ 2554 ประกอบด้วยผู้ประเมินในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ  จำนวน  79 คน   ส่วนกลุ่มที่2 เป็นผู้รับการประเมิน ในระดับอำเภอ  จำนวน  122 คน  โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                    ความคิดเห็น เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน  พิจารณารายด้านของผู้รับการประเมินพบว่า  ด้านบริบทอยู่ในระดับปานกลาง   ด้านปัจจัยนำเข้าและกระบวนการอยู่ในระดับสูง  แต่ผู้ประเมินผลพิจารณารายด้านของผู้ประเมินพบว่า    ด้านบริบทและด้านกระบวนการอยู่ในระดับสูง  ด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ระดับปานกลาง

                 การดำเนินงาน  ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน  พิจารณารายด้านผู้รับการประเมินพบว่า  ด้านบริบทและด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนด้านกระบวนการอยู่ในระดับสูง สำหรับของผู้ประเมิน  พบว่าด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ อยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน

                ความพึงพอใจ ในผลการปฏิบัติงาน  พิจารณารายด้านผู้รับการประเมินและผู้ประเมิน พบว่า  ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลการประเมินงานอยู่ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกัน 

                ปัญหาอุปสรรคผู้ประเมินผล ได้เสนอปัญหา 2 ด้าน  ได้แก่  ด้านปัจจัยนำเข้า  พบว่า ผู้ปฏิบัติงานต้องรับผิดชอบตัวชี้วัดในการประเมินหลายตัว  จำนวนเกณฑ์การประเมินแต่ละครั้งมากเกินไป  สำหรับ

ด้านกระบวนการพบว่า  แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานแต่ละทีมไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน    สำหรับผู้รับการประเมิน  พิจารณา 2 ด้าน ด้านปัจจัยนำเข้า  พบว่าเกณฑ์ตัวชี้วัดไม่ชัดเจน    ผู้ประเมินมีภารกิจในการประเมินมาก  ทำให้ประเมินไม่ทันตามเวลา  ทีมประเมินมีการปรับเปลี่ยนบ่อย  ขาดการส่งต่อ

ข้อมูลให้กับผู้แทนการประเมิน   ขาดความต่อเนื่อง  สำหรับด้านกระบวนการพบว่าผู้ประเมินมีภารกิจเร่งด่วน  ไม่สามารถประเมินได้ตามแผนที่วางไว้

ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาในการประเมินผลการปฏิบัติงาน    รูปแบบและวิธีการประเมินของผู้รับการประเมิน  ด้านบริบทเสนอแนะว่า  ควรประเมินให้ตรงกับบริบทและปัญหาของพื้นที่   และจัดทำคู่มือในการประเมิน เพิ่มการอบรมทักษะการประเมินผล ส่วนด้านปัจจัยนำเข้า  พบว่าควรมีการปรับลดเกณฑ์ตัวชี้วัดที่มีจำนวนมากและเป้าหมายสูง  มีการอบรมเกณฑ์ตัวชี้วัดให้กับผู้รับการประเมิน  พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้หน่วยงานระดับตำบล และอำเภอมีส่วนร่วมกำหนดเกณฑ์ตัวชี้วัดเอง และปรับลดเกณฑ์ตัวชี้วัดที่มีความซับซ้อนกัน   สำหรับด้านกระบวนการพบว่า  ควรมีการประเมินผลการปฏิบัติงานมากกว่าเอกสารและรายงาน การประเมินควรเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ควรคำนึงถึงภาระหน้าที่ของผู้รับการประเมินกับจำนวนทรัพยากรบุคคลที่มีในหน่วยงาน  และจัดให้มีการสะท้อนข้อมูลกับพื้นที่  เพื่อใช้ในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางาน  ควรเน้นหนักการประเมินในแต่ละยุทธศาสตร์ที่สำคัญและแนวทางการจัดทำเอกสารเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับทีมประเมินพบว่า กรณีที่ผู้ประเมินติดภารกิจ ควรมีการมอบหมายให้กับทีมรองในการประเมิน  ข้อเสนอแนะในการพัฒนาผู้ประเมินเพิ่มเติมใน 3 ด้าน  ได้แก่  การอบรมทักษะด้านการเสริมแรง    ด้านมนุษยสัมพันธ์  และด้านทักษะการสื่อสาร  เพิ่มการจัดอบรมผู้ประเมินสหวิชาชีพใหม่ และจัดพี่เลี้ยงให้กับผู้ประเมินที่ยังไม่มีประสบการณ์   นอกจากนี้หน่วยงานระดับจังหวัดควรนำผลการประเมิน  และปัญหาที่ค้นพบมาเป็นแนวทางในการเสริมศักยภาพให้กับผู้ปฏิบัติงาน ได้แก่ การนำมาพิจารณาความดีความชอบ ในการทำงานและสวัสดิการอื่นๆ   

 

ABSTRACT

 

                The purpose of the study was to investigate problems and situation of public health outcomes assessment within the sections in the Public Health Office inChonburiProvince.  The standard questionnaire was employed for collecting data from June 1 to September 30, 2554.  The participants were categorized into 2 groups, the first group consisting of 79 public health staffs who have been assigned to be provincial and district assessors to evaluate the public health outcomes in fiscal year 2554. The second group, assessment recipients, included 122 public health staffs at district level whose performance were assessed. The collecting outcome data were statistically analyzed to demonstrate the frequency distribution, percentage, mean and standard deviation of the data.

Opinions on the public health outcomes assessment:  when considering each aspect of assessment recipients, it was found that the context aspect was in the middle level, while the input factors and process were in the high level.  However, in view of the assessors, the aspect of context and processes were in the high level while the input factors were in the middle level.

Performance of the Public Health outcomes assessment: When assessment recipients considered each aspects of the performance, it was found that the aspects of context and the input factors were in the middle level, while the processes aspect was in the high level.  For the assessors, the aspects of context, input factors and processes were all in the high level.

Satisfaction of the Public Health outcomes assessment:  Assessment recipients and assessors have considered their satisfaction in each aspect that the aspects of context, input factors and processes were all in the middle satisfaction level.

            Problem and obstruction: The assessors proposed the problems found in 2 aspects, the first aspect was input factors as the recipients were responsible for multiple key performance indexes and too many criteria for evaluating in each assessment, the second was the processes aspect since each assessor teams shown different assessment practices. In terms of assessment recipients, two aspects were considered.  The first aspect was the input factors in which the ambiguous key performance indexes were pointed out.  Additional expressions were made on the assessors who engaged in many assessment programs caused in overdue assessment and the assessor teams were changed so often along with the lack of information transferring to the substitute assessors caused a lack of continuity in assessment.  The second was the processes aspect, it was found that the assessors having some urgent task and not be able to follow the assessment plan.

            Suggestions:  To improve the arrangement and procedure in performance assessment, the recipients suggestions were concluded as follows; 1) the assessment context shall be corresponded to the local–based context and problems, assessment manual shall be established and additional training on the assessment skills is needed.  2) the assessment input factors, the key performance indexes shall be adjusted to reduce the amount, repeated and high target key performance indexes in which staffs from local and district levels have opportunity to involve in adjustment processes.  In addition, training on the criteria for evaluating the key performance indexes for the recipients is also needed. 3) the assessment processes shall adhere to the time plan and be focused on each significant strategies and outcomes more than reports and documents while recognized in the responsibility of the recipients and the limited human resources within the organization.  Furthermore, the comprehensible assessment guideline shall be established and the collecting outcome data shall be reflected with the local in order to improve and develop its public health performance.  Suggestion was also made in case the assessors were not available, the substitute assessors shall be assigned to perform the assessment.

Further suggestions to improve the assessors skill, in particular new multidiscipline assessors, by training on 3 aspects including empowerment skills, human relations skills and communication skills. Problems and situations findings from the assessment shall be recognized by the organization at provincial level and employed to empower the staffs such as consideration of their merit performance including giving other supporting benefit.  In addition, a mentor shall be provided to an inexperience assessor.

 

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย