ผลของการตัดข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกติดลบออกต่อคะแนนการสอบ และ ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต THE EFFECTS ON TEST SCORES AND THE RELIABILITY OF THE TEST AFTER EXCLUDING THE ITEMS WITH NEGATIVE DISCRIMINATION POWER: FACULTY OF

ผู้แต่ง

  • เบ็ญจา เตากล่ำ
  • ประกาย จิโรจน์กุล
  • สวงค์ บุญปลูก

คำสำคัญ:

ค่าอำนาจจำแนก, คะแนนสอบ, ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ, quality of test items, negative discrimination power, test score, reliability of the test

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการตัดข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกติดลบออกต่อคะแนนการสอบ การเปลี่ยนแปลงของลำดับที่ของคะแนนสอบ และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นแบบทดสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่ใช้ในการสอบกลางภาค และปลายภาคของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จาก 11 รายวิชา จำนวน 26 ฉบับ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล มีลักษณะเป็นตารางสำหรับบันทึกคะแนนของนักศึกษารายบุคคล และโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อ สถิติที่ใช้ประกอบด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ Paired t-test (one-tailed), Sign Ranked test และ Pearson’s Product Moment Correlation ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากข้อสอบทั้งหมด 1,970 ข้อ จากจำนวนนักศึกษาที่เข้าสอบทั้งหมด 332 คนพบว่า

      1) การเปรียบเทียบคะแนนที่นักศึกษาได้รับ ก่อน และหลังการตัดข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกติดลบออกพบว่า คะแนนของนักศึกษาจากแบบทดสอบ จำนวน 21 ฉบับ (ร้อยละ 80.77) สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

      2) การเปลี่ยนแปลงของลำดับที่ของคะแนนสอบ ก่อน และหลังการตัดข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนกติดลบออก พบว่า ลำดับที่ของคะแนนสอบ จากจำนวนแบบทดสอบ 21 ฉบับ (ร้อยละ 80.77) มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

      3) ผลการเปรียบเทียบค่าความเชื่อมันของแบบทดสอบทั้ง ฉบับ ก่อนและหลังการตัดข้อสอบที่มีค่าอำนาจ จำแนกติดลบออก พบว่า ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ หลังการตัดข้อสอบที่มีค่าอำนาจจำแนก

 

Abstract

     The objectives of this study were to examine the effects of excluding test items with negative discrimination power on the test scores and ranks students obtained, and the reliability of the test. The samples were test items, with multiple choices from 11 subjects, used in the mid-term and final examinations of the first semester in academic year 2012. The test items were analyzed for the index of difficulty, index of discrimination and reliability by a computer program. The objectives of the study were later tested by Paired t-test (one-tailed), Sign Ranked test and Pearson’s Product Moment Correlation. The total of 1,969 items from 26 sets of test were analyzed for its quality.

     It was found that 1) After excluding the items with negative discrimination power, students had obtained significant higher scores at α=0.05 in 21 sets of test (80.77%). 2) In the same way, the Signed Rank Test showed that student’s ranks were significantly changed in 21 sets of test (80.77%). 3) The one-tailed Paired t-test revealed that the reliability of the test was significantly increased at α=0.05 after excluding the items with negative discrimination power.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย