ความผูกพันองค์กรและประเภทวัฒนธรรมองค์กรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศิริราช

ผู้แต่ง

  • นภาพร ศิริพรกิตติ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปิยธิดา ตรีเดช รองศาสตราจารย์, ภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วงเดือน ปั้นดี รองศาสตราจารย์, ภาควิชาปรสิตและกีฏวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความผูกพันองค์กร, วัฒนธรรมองค์กร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความผูกพันองค์กรและประเภทวัฒนธรรมองค์กรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศิริราช โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศิริราชจำนวน 385 รายได้รับแบบสอบถามคืน 319 ราย (ร้อยละ 82.8) โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามเก็บข้อมูลระหว่าง เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน 2553 โดยใช้แนวคิดเรื่องความผูกพันองค์กรและวัฒนธรรมองค์กรของคิมและโรเบิรต์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไค-สแควร์ (Chi-square) และสถิติ Pearson Product Moment Correlation

ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศิริราชมีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Χ̄= 3.77) ด้านปัจจัยส่วนบุคคล คือสถานภาพสมรสและระดับการศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์กร ส่วนอายุ ระยะเวลาในการทำงาน ลักษณะงาน การปฏิบัติงานในองค์กร และโครงสร้างองค์กร มีความสัมพันธ์กับความผูกพันองค์กรของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศิริราชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.249, r=0.226, r=0.317, r=0.331, r=0.319 ตามลำดับ โดย p<0.001) ด้านวัฒนธรรมองค์กรตามแนวคิดเห็นของพยาบาลวิชาชีพศิริราชในปัจจุบันคือวัฒนธรรมการตลาด(Χ̄= 26.01) วัฒนธรรมที่คาดหวังคือวัฒนธรรมสัมพันธ์เกื้อกูล (Χ̄= 28.14)

ข้อเสนอแนะจากการวิจัยผู้บริหารควรมีการกำหนดนโยบาย เพื่อสร้างโอกาสความก้าวหน้าในงานตามความรู้ความสามารถ มีการจัดสรรอัตรากำลังคนให้เหมาะสมและเพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย ลดขั้นตอนในการติดต่อประสานงานกับผู้บังคับบัญชา เพิ่มวัฒนธรรมสัมพันธ์เกื้อกูลคือ สร้างพลังอำนาจแก่บุคลากรมากขึ้นและสร้างบรรยากาศที่ดีในองค์กร

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย