ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการรายวิาทฤษฎีและปฏิบัติ การพยาบาลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษา THE EFFECT OF TEACHING BY INTEGRATING THEORY AND NURSING PRACTICE COURSES ON LEARNING ACCHIEVEMENT AND STUDENT’S SATISFACTION

ผู้แต่ง

  • โสภา รักษาธรรม
  • จินตนา รังษา
  • วรางคณา อุดมทรัพย์
  • ศรีสุนทรา เจิมวรพิพัฒน์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ, integrative learning, integrated learning, learning achievement, student’s satisfaction

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยในชั้นเรียน (Classroom research) แบบสองกลุ่มวัดหลังการทดลองอย่างเดียว (two–group posttest only design) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในรายวิชาทางการพยาบาลวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 2 ระหว่างกลุ่มที่ผ่านการเรียนรู้ 2 แบบ: แบบ A บูรณาการ คือการจัดให้นักศึกษา 110 คน เรียนรายวิชาการพยาบาลภาคทฤษฎีพร้อมกับภาคปฏิบัติ เป็นระยะเวลารวม 9 สัปดาห์ เมื่อเรียนเนื้อหาภาคทฤษฎีจะจัดให้นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติ (จันทร์-พุธ) เพื่อให้ได้ประสบการณ์ที่สอดคล้องกับเนื้อหารายวิชาที่เรียน และมอบหมายให้นักศึกษานำสิ่งที่ได้เรียนรู้และประสบการณ์มาพัฒนาเป็นนวัตกรรมการพยาบาลหรือสื่อการสอนด้านสุขภาพเพื่อนำเสนอในงาน “ตกผลึกความรู้” และ แบบ B แบบไม่บูรณาการ คือจัดให้นักศึกษาจำนวน 102 คน เรียนภาคทฤษฏี 9 สัปดาห์จบแล้วขึ้นฝึกภาคปฏิบัติ 6 สัปดาห์ (จันทร์-ศุกร์)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนสอบของกลุ่มเรียนแบบ A และแบบ B ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z=-1.03, P=.350) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษากลุ่มที่เรียนแบบ A สูงกว่ากลุ่มที่เรียนแบบ B อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าควรจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการภาคทฤษฎีและปฏิบัติเนื่องจากนักศึกษามีความพึงพอใจมากกว่าส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังไม่ดีกว่าการจัดการเรียนการสอนแบบไม่บูรณาการภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

 

Abstract

This classroom research, two group posttest only design, aimed to investigate the effect of teaching and learning by integrating theory and nursing practice course on learning achievement and students’satisfaction. One- hundred and ten nursing students were purposively allocated in integrative learning class (class A) - learning theory course (Nursing Care of Person with Health Problem II) and nursing practice course at the same period of time for 9 weeks. After finishing the theory content of each system, the student was arranged to practice (Monday to Wednesday) in clinical settings to gain related nursing care experience, as well as assigned them to further develop nursing innovation and present it in the exhibition. The other 102 students were purposively placed in non-integrative learning class (class B). The students learned theory course for 9 weeks, then practice in clinical settings for 6 weeks (Monday to Friday).

The results revealed that: 1) The mean score of the integrative learning group and non- integrative learning group was no statistical significance (Z=1.03, p=.35). 2) The mean satisfaction score of the integrative learning group was significantly higher than that of the non- integrative group (p<.001). In conclusion, nursing course designs should integrate theory and nursing practice course together since the student satisfies better on this learning method.

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย