ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งอดทนของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง FACTORS RELATED TO HARDINESS AMONG ELDERLY WITH CHRONIC OBSTRUCTIVE PULMONARY DISEASE

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ฐดา วัฒนพงศ์สถิต
  • วารี กังใจ
  • ชมนาด สุ่มเงิน

คำสำคัญ:

ความเข้มแข็งอดทนของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, การรับรู้ภาวะสุขภาพ, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การสนับสนุนทางสังคม, การมองโลกในแง่ดี, hardiness, elderly, chronic obstructive pulmonary disease, perceived health status, perceived self-efficacy, social sup

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มแข็งอดทน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งอดทนของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่เข้ารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 90 ราย ได้รับคัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์การรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบสัมภาษณ์การรับรู้สมรรถนะแห่งตน แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม แบบสัมภาษณ์การมองโลกในแง่ดีและแบบสัมภาษณ์ความเข้มแข็งอดทน ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .81, .89, .81, .83 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่

หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

            ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีความเข้มแข็งอดทนอยู่ในระดับสูงโดยมีค่าเฉลี่ยคะแนนความเข้มแข็งอดทนเท่ากับ 129.92 (SD = 7.05) ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความเข้มแข็งอดทนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน (r = .27) และการมองโลกในแง่ดี (r = .25) ส่วนการรับรู้ภาวะสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้มแข็งอดทน ผลการวิจัยนี้เสนอแนะว่า พยาบาลผู้ให้การดูแลผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการมองโลกในแง่ดี เพื่อช่วยเพิ่มความเข้มแข็งอดทน 

Abstract

            The purposes of this research were to study hardiness among the elderly with chronic obstructive pulmonary disease and factor correlated with hardiness including perceived health status, perceived self-efficacy, social support, and optimism. The samples of 90 elderly with chronic obstructive pulmonary disease were randomly selected to participate in the study. The research instruments included 5 questionnaires: the Perceived Health Status, Perceived Self-efficacy, Social Support, Optimism, and Hardiness with reliability of the .81, .89, .81, .83 and .82 respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics   and Pearson’s Product Moment correlations.

          The results showed that the elderly with chronic obstructive pulmonary disease perceived high level of hardiness (M = 129.92, SD = 7.05). There was   positive relationship between Perceived self-efficacy, optimism, and hardiness (r = .27 and .25, respectively, p < .01). Perceived health status and social support were not significantly associated with hardiness.

           The findings of this study suggest that nurses who provide care for the elderly with chronic obstructive pulmonary disease should promote self-efficacy and optimism among the elderly in order to increase their hardiness.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย