ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระท????ำความรุนแรงในผู้สูงอายุ ตามมุมมองของผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว FACTORS RELATED TO ELDER ABUSE FROM PERSPECTIVES OF OLDER ADULTS AND FAMILY MEMBERS

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา สัมมาวงศ์
  • สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์
  • ชมนาด สุ่มเงิน

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การกระทำความรุนแรงในผู้สูงอายุ, ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, older adult, elder abuse, related factor

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกระท????ำความรุนแรงในผู้สูงอายุตามมุมมองของผู้สูงอายุและสมาชิก
ในครอบครัว และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำ???? ความรุนแรงในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว 100 คู่ โดยท????ำการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามการกระท????ำความรุนแรงต่อผู้สูงอายุ แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถาม ทัศนคติต่อความมีอายุ และแบบสอบถามภาวะพึ่งพา ได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุเท่ากับ .83, .90, .80 และ.90 ตามล????ำดับ และค่าความเที่ยงของเครื่องมือกลุ่มตัวอย่างสมาชิกในครอบครัวเท่ากับ .83, .84, .76 และ.73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
     ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวมีมุมมองต่อการกระทำความรุนแรงในผู้สูงอายุในระดับมาก
และพบว่าปัจจัยด้านทัศนคติต่อความมีอายุตามมุมมองของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับการกระทำความรุนแรงใน
ผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.20, p <.05) ปัจจัยด้านภาวะพึ่งพามีความสัมพันธ์ทางลบกับการกระทำความรุนแรงในผู้สูงอายุตามมุมมองของสมาชิกในครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.25, p <.05) ส่วนสัมพันธภาพในครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับการกระทำความรุนแรงในผู้สูงอายุตามมุมมองของผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัว
     ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพ ควรนำข้อมูลที่ได้นี้ไปใช้ในการวางแผนป้องกันและเฝ้าระวังการกระท????ำความรุนแรงในผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อไป

Abstract
     The purpose of this research was to examine factors related to elder abuse from perspectives of older adults and family members. The sample consisted of 100 older adults and family member dyads. Data were collected by using four instruments including the Elder Abuse Questionnaire, Dependence Questionnaire, Family Relationship Questionnaire, and Attitude Towards Aging Questionnaire. The reliability of these questionnaires in the elderly group was .83, .90, .80, and .90, respectively and in family member group was .83, .84, .76, and .73, respectively. Descriptive statistics and Pearson’s Product Moment
correlation were employed for data analysis. The results revealed that average scores of the elder abuse from perspectives of both the older adults and their families were at a high level. From older adults’ perspective, attitude towards aging had a significantly negative correlation with elder abuse (r = -.20, p < .05). From family members’ perspective, dependence had a significantly negative correlation with elder abuse (r = -.25, p < .05).
Family relationship did not correlate with elder abuse from both perspectives.
     The results of this study suggested that nurses and health care providers should apply these findings for surveillance and prevention of elder abuse in the at risk group of elderly people.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย