ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพและความผาสุกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้ รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำ�บล FACTORS INFLUENCING FUNCTIONAL HEALTH STATUS OF STROKE PERSONS RECEIVING CONTINUITY OF CARE AT TUMBON HEALTH PROMOTING HOSPITALS

ผู้แต่ง

  • ศุภนารี เกษมมาลา
  • อาภรณ์ ดีนาน
  • อารีรัตน์ ขำอยู่

คำสำคัญ:

nursing outcomes, stroke, continuity of care, functional health status, Nursing Role, ภาวะสุขภาพและความผาสุก, โรคหลอดเลือดสมอง, การดูแลอย่างต่อเนื่อง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบพรรณนาโดยการทดสอบโมเดลเชิงโครงสร้างมีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบอิทธิพลของ
ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพและความผาสุกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโครงสร้าง (อายุของผู้ป่วยและผู้ดูแล) ตัวแปร กระบวนการ (การรับรู้ของผู้ป่วยต่อการได้รับการบริการพยาบาล การดูแลอย่างต่อเนื่อง และการประสานการดูแล) และตัวแปรผลลัพธ์ทางการดูแล (ภาวะสุขภาพและความผาสุก) โดยใช้ Nursing Role Effectiveness Model (NREM) ของ Irvine, Sidani, และ Hall (1998) เป็นกรอบแนวคิดการวิจัยในครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใน จ.เชียงใหม่ จำนวน 200 คน แบบสอบถาม จำนวน 3 ชุด ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อการได้รับการดูแลอย่าง ต่อเนื่องจากพยาบาลวิชาชีพและแบบประเมินสุขภาพและความผาสุก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายและ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
     ผลการวิจัยพบว่า อายุของผู้ป่วยและผู้ดูแลมีอิทธิพลโดยตรงต่อภาวะสุขภาพและความผาสุกของผู้ป่วยโรค
หลอดเลือดสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยการรับรู้ของผู้ป่วยต่อการได้รับการบริการพยาบาล การได้รับการดูแล
อย่างต่อเนื่อง และการประสานการดูแล เป็นตัวแปรคั่นกลางระหว่างอายุของผู้ป่วยและผู้ดูแลและภาวะสุขภาพและ
ความผาสุกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สุดท้ายผลรวมของความแปรปรวนของตัวแปรทั้งหมดต่อการพยากรณ์ภาวะ
สุขภาพและความผาสุกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เท่ากับร้อยละ 7 ผลการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า เพื่อส่งเสริมภาวะสุขภาพและความผาสุกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง พยาบาลวิชาชีพควรให้การดูแลอย่างต่อเนื่องที่บ้านโดยให้ความสำคัญกับอายุของผู้ป่วยและผู้ดูแล และการประสาน ความร่วมมือให้การดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

Abstract
     This descriptive model testing, cross-sectional study design, aimed to test the model depicting the pattern of relationships among structural variables (patients’ age and caregiver) and process variables (patients’ perception of quality of nursing care, patients’ perception of continuity of care, and patients’ perception of co-ordination of care) to influence the outcome variable (functional health status) of stroke persons receiving continuity of care at TumbonHealth Promoting Hospitals (THPHs). Nursing Role Effectiveness Model (NREM) was used as the conceptual framework of this study. Multi-stage random sampling was employed to obtain 200 stroke persons living in Chiangmai province. Data were collected by three questionnaires including 1) demographic information; 2) the
modified of Chronic Care Competency Scale (CCCS); and 3) the Short Form-12 (SF-12 version 2) health survey. The AMOS software program was utilized to test the study model by using bootstrap method. The final model showed that functional health status influenced by patients’ age through patients’ perception of quality of nursing care and caregivers through patients’ perception of continuityof care, co-ordination of care, and quality of nursing care. The model explained 7% (R2=.07) of the variance for functional health status.      The findings suggested that to improve functional health status of stroke persons, professional nurses who worked at THPHs should provide quality of stroke care concerning
stroke’s age, their caregivers, and working as a collaborator and coordinating team with other health care providers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย