การพัฒนารูปแบบการสอบทักษะทางคลินิกโดยใช้ OSCE วิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 2

ผู้แต่ง

  • ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์
  • ปภาวดี ทวีสุข
  • รุ้งตวรรณ์ ช้อยจอหอ

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอบ OSCE, ทักษะทางคลินิก, ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารก

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนใช้กระบวนการวิจัย และพัฒนา โดยมีวัตถุประสงคเ์พื่อพัฒนารูปแบบการสอบทักษะทางคลินิก และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการสอบทักษะทางคลินิกที่พัฒนาขึ้น ในวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ 2 การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนารูปแบบการสอบทักษะทางคลินิกโดยเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus group) นำข้อมูลที่ได้มาวิคราะห์และสร้างรูปแบบการสอบทักษะทางคลินิกพัฒนาปรับปรุงจนได้รูปแบบการสอบทักษะทางคลินิกที่สมบูรณ์ 2) ประเมินผลการใช้รูปแบบการสอบทักษะทางคลินิกที่พัฒนาแล้ว โดยสร้างเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ได้แก่ ผลการสอบความรู้ทักษะทางคลินิก และความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการสอบทางคลินิก เพื่อประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการสอบทางคลินิก กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 ที่เรียนวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารก และผดุงครรภ์ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 52 คน โดยใช้การเลือกเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงโดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า

  1. 1. รูปแบบการสอบทักษะทางคลินิกที่พัฒนาขึ้น เรียกว่า PPACE แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการและวางแผน (Prepare and Planning) 2) ขั้นดำเนินการสอบ (Acting) 3) ขั้นสรุปและประเมินผลเพื่อการพัฒนา (Conclusion and Evaluation)
  2. 2. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการสอบทักษะทางคลินิก (OSCE) พบว่า

                2.1 รูปแบบการสอบทักษะทางคลินิกสามารถประเมินความรู้และทักษะการปฏิบัติการพยาบาล รวมทั้งสามารถจำแนกความสามารถในการปฏิบัติของนักศึกษาได้ โดยสอบผ่านความรู้ในภาพรวมจำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 80.77 สอบผ่านทักษะการปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 47 คน คิดเป็นร้อยละ 90.38 และสอบผ่านทักษะการตัดสินใจและการสื่อสาร จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 80.77

          2.2 กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการสอบทักษะทางคลินิก (OSCE) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.77, SD = 0.16)

          จากผลการวิจัยแสดงว่ารูปแบบการสอบทักษะคลินิกที่ผู้วิจัยพัฒนาข้นึ สามารถประเมินและจำแนกความสามารถของนักศึกษาได้เป็นรายบุคคล ซึ่งควรมีการพัฒนารูปแบบการสอบทักษะทางคลินิกตามกรอบคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือตามทักษะนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้การประเมินทักษะนักศึกษามีความน่าเชื่อถือและช่วยให้นักศึกษาได้แนวทาง ในการพัฒนาตนเองต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย