การพัฒนาแนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในชุมชน

ผู้แต่ง

  • มณีรัตน์ เทียมหมอก
  • เกศินี สราญฤทธิชัย

คำสำคัญ:

วัยรุ่น, พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น, การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบเทคนิคมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงของ วัยรุ่นในชุมชนด้วยแนวคิดการเสริมสร้างพลัง พลังอำนาจมีกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา 47 คน ประกอบด้วยวัยรุ่นอายุ 13-19 ปี จำนวน 22 คน ผู้ปกครอง จำนวน 18 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 2 คน และผู้นำชุมชน จำนวน 5 คน ระยะเวลาในการศึกษาตั้งแต่ เดือนมกราคม 2559 – มกราคม 2560 มีกระบวนการวิจัย 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสถานการณ์พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น ขั้นตอนที่ 2 การวางแผนการพัฒนา ดำเนินการตามแผนการพัฒนา ติดตามและตรวจสอบการปฏิบัติและขั้นตอนที่ 3 สรุปผลการพัฒนาแนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นการวิเคราะห์ข้อมูล สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น มีความเสี่ยงหลายระดับ จากเสี่ยงน้อยถึงเสี่ยงมาก ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นมีหลายปัจจัยทั้งรูปแบบการเลี้ยงดูของครอบครัว การคบเพื่อน สื่อ เทคโนโลยี การสอนเรื่องเพศในครอบครัวของผู้ปกครองที่มีการสอนค่อนข้างน้อย ล้วนส่งผลให้วัยรุ่นเกิดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การพัฒนาแนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศระดับบุคคลมีการเสริมสร้างพลังอำนาจให้วัยรุ่นสามารถปฏิบัติ พฤติกรรมเพื่อป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศได้ ด้วยการให้ความรู้และพัฒนาทักษะชีวิตวัยรุ่น ระดับครอบครัวได้มีการพัฒนาศักยภาพผู้ปกครองให้มีทักษะในการพูดคุยเรื่องเพศในครอบครัวกับวัยรุ่นและระดับชุมชนได้มีการพัฒนาทักษะผู้นำชุมชนให้สามารถเป็นที่ปรึกษาในเรื่องเพศแก่วัยรุ่นและผู้ปกครอง โดยมีการติดตามประเมินผล 3 สัปดาห์ เพื่อรับฟังปัญหาอุปสรรคและให้กำลังใจในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย