ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลเท้าต่อการรับรู้พลังอำนาจในตนเองและพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านคลองสวน จังหวัดสมุทรปราการ EFFECTS OF PROGRAM PROMOTING FOOT CARE ON PERCEIVED EMPOWERMENT AND FOOT CARE BEHAVIOR

ผู้แต่ง

  • มัตถก ศรีคล้อ
  • กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม
  • หทัยชนก บัวเจริญ

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการดูแลเท้า, การรับรู้พลังอำนาจ, พฤติกรรมการดูแลเท้า, ผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2, Foot Care Promotion Program, empowerment, foot care behavior, patients with type 2 diabetes

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ 

      การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้พลังอำนาจตนเองโดยใช้กรอบแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิบสันต่อการรับรู้พลังอำนาจของตนเองในการดูแลเท้าและพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 รายที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองสวน จังหวัดสมุทรปราการระหว่างเดือนมีนาคม -พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เกณฑ์การคัดเลิอก ได้แก่ อายุมากกว่า 40 ปี ได้รับการวินิจฉัยด้วยโรคเบาหวานระยะเวลาตั้งแต่ 10 ปี ค่าระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) มากกว่า 126 mg% หรือค่า HbA1C มากกว่า 7% ไม่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน หรือเคยมีบาดแผลที่เท้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) โปรแกรมส่งเสริมพลังอำนาจตนเองในการดูแลเท้า 5 ครั้ง รวมเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ 2) แบบสอบถามการรับรู้พลังอำนาจของตนเองในการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน และ 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน

ผลการวิจัย พบว่า

     1. ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมพลังอำนาจตนเองในการดูแลเท้า มีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้พลังอำนาจของตนเองในการดูแลเท้าเพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean = 4.45, S.D. = .36 vs. mean = 4.32, S.D. = .36,      t = 5.03, p < .001) 

      2. ภายหลังได้รับโปรแกรม มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลเท้าเพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean = 4.60, S.D. = .19 vs. mean = 4.45, S.D. = .22, t = 10.15, p < .001)

ABSTRACT

          These quasi-experimental investigated effects of foot care program using Gibson’s empowerment framework on promoting perceived empowerment and foot care behaviors of patients with diabetes.  The study sample consisted of 30 patients with type 2 diabetes mellitus who received care at Chronic Disease Clinic at Tambon Bann Klong Suan Health Promoting Hospital, Samut Prakarn province during March – May 2012. The inclusion criteria were age over 40, diagnosed with 10 diabetes for 10 years, FBS > 126 mg% or HbA1C > 7, no severe complication and diabetic foot ulcer. The instruments comprised of 1) the empowerment promotion program for 5 times during 2 months period, 2) the perceived empowerment questionnaire of foot care, and 3) the diabetic foot care behavior questionnaire.

The study findings were as follows:

          1. After receiving the empowerment promotion program, the mean scores of perceived empowerment at post test towards foot care was significantly increased (mean = 4.45, S.D. = .36 vs. mean = 4.32, S.D. = .36, t = 5.03, p < .001).

          2. After receiving the empowerment promotion program, the mean score of foot care behaviors of patients with type 2 diabetes mellitus was significantly increased  (mean = 4.60, S.D. = .19 vs. mean = 4.45, S.D. = .22, t = 10.15, p < .001).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย