ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงาน ในสถานีอนามัย : กรณีศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • อุทัยวรรณ ช่วยตน นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปิยธิดา ตรีเดช รองศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วงเดือน ปั้นดี รองศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร, ความยุติธรรมในองค์กร, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข, สถานีอนามัย, Organizational commitment, Organizational justice, Public health personnel, Health centers

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบอรรถาธิบายเพื่อประเมินความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร และปัจจัยที่มีผลต่อความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานจริงในสถานีอนามัย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 202 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม -15 เมษายน 2554 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง สถานภาพสมรสคู่ ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข การศึกษาระดับปริญญาตรี ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในสถานีอนามัยโดยเฉลี่ย 6.5 ปี มีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยภาพรวมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 80.2 การรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรภาพรวมอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 74.8 และพบว่าการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร (r = 0.310, p < 0.01)

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือ ควรสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เน้นความผูกพันต่อองค์กรด้วยใจ ควรพิจารณาระบบสวัสดิการที่เป็นประโยชน์ต่อบุคลากรในองค์กร พิจารณาการให้รางวัลที่ไม่ใช่ตัวเงิน และควรสร้างความโปร่งใสในกระบวนการพิจารณาความดีความชอบ ทั้งนี้เพื่อหาทางในการรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพไว้ในองค์กรให้นานที่สุด เพื่อผลสัมฤทธิ์สูงสุดขององค์กร

 

 

This explanatory research assesses organizational commitment and factors affecting the commitment of public health personnel working in health centers in Suratthani Province. The study population were 202 public health personnel who had worked in health centers for not less than 6 months. Questionnaires were used to collect data between 1st March – 15th April 2011. Pearson’s Correlation Coefficient was employed for statistical analysis.

The study found that the majority of the studied population were female, married, held the position of public health technical office and, had a bachelor degree. Average working duration in the health center was 6.5 years. The over-all and by-aspect organizational commitment were at the medium level. The average over-all organizational commitment was 80.2. The over-all perception of organizational justice was high with an average value of 74.8. The study found that the perception of justice in the organization had a positively medium with organizational commitment (r =0.310, P < 0.01). The recommendations from

the research are as follows: The organizational culture which focuses upon organizational commitment with spiritual loyalty should be created. The organizational welfare system should be truly beneficial to the majority of the personnel, the reward system should not emphasize only monetary rewards. The rewarding criteria should be transparent to all so that quality personnel could be retained to create the highest organization effectiveness.

ฉบับ

บท

บทความวิจัย