การพัฒนาขอบเขตเนื้อหาการส่งเสริมภาวะผู้นำในการจัดการสาธารณภัยของพยาบาล DEVELOMENT OF COVERAGE FOR PROMOTING NURSES’ LEADERSHIP IN DISASTER MANAGEMENT

ผู้แต่ง

  • สุรางคินี วนวงศ์ไทย
  • สุวิณี วิวัฒน์วานิช

คำสำคัญ:

development of coverage, leadership, disaster management, การพัฒนาขอบเขตเนื้อหา, ภาวะผู้นำ, การจัดการสาธารณภัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในการจัดการสาธารณภัยของพยาบาลโดยใช้เทคนิคเดลฟายและศึกษาความเป็นไปได้ของขอบเขตเนื้อหาการส่งเสริมภาวะผู้นำในการจัดการสาธารณภัยของพยาบาล ตามความคิดเห็นที่สอดคล้องของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การทำงานด้านสาธารณภัย จำนวน 23 คน ประกอบด้วย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านนโยบายการจัดการสาธารณภัย นักวิชาการ/อาจารย์พยาบาล ผู้บริหารการพยาบาล และผู้ปฏิบัติการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ รอบที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างชนิดปลายเปิด รอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหาจากคำตอบของผู้เชี่ยวชาญ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และเครื่องมือประเมินความเป็นไปได้ในการนำไปใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการวิเคราะห์ในรอบที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยสอบถามนักวิชาการ/อาจารย์พยาบาลและผู้บริหารจำนวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

     ผลการวิจัยพบว่าภาวะผู้นำในการจัดการสาธารณภัยของพยาบาลตามความคิดเห็นที่สอดคล้องกันของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ ด้านที่ 1 ความรู้ในการจัดการสาธารณภัย ประกอบด้วย 1) ความรู้ด้านสาธารณภัย 2) ความรู้ด้านการพยาบาลฉุกเฉิน และ 3) ความรู้ทั่วไป ด้านที่ 2 การจัดการสาธารณภัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะการป้องกันและลดความเสี่ยง 2) ระยะการเตรียมพร้อม 3) ระยะรับสาธารณภัยและ 4) ระยะการฟื้นฟูภายหลังเกิดสาธารณภัย และด้านที่ 3 กลยุทธ์การนำของพยาบาลในการจัดการสาธารณภัย ได้แก่ 1) การสื่อสาร 2) การประสานงาน 3) การตัดสินใจ 4) การทำงานเป็นทีม และ 5) การแก้ปัญหา ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของขอบเขตเนื้อหาการส่งเสริมภาวะผู้นำในการจัดการ สาธารณภัยของพยาบาล พบว่าขอบเขตเนื้อหาการส่งเสริมภาวะผู้นำในการจัดการสาธารณภัยของพยาบาลมีความเป็นไปได้ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน ดังนี้ 1) ความรู้ด้านสาธารณภัย 2) บทบาทพยาบาลในการจัดการสาธารณภัยทั้ง 4 ระยะ 3) ความรู้ด้านการพยาบาลฉุกเฉิน 4) กลวิธีของผู้นำในการจัดการสาธารณภัย และ 5) การฝึกสถานการณ์จำลองบนโต๊ะ

 

Abstract

The purposes of this research were to study nursing leadership in disaster management by using Delphi technique and to examine feasibility of coverage nurses’ leadership in disaster management according to experts’ opinions in the field of disaster management. Twenty three experts in the field were the experts who involved in disaster management policy, academics or nursing instructors, nursing administrators, and clinical practice nurses. Questionnaires were developed. The first round of interview questionnaire was semi-structured open-ended questionnaire. The second and third round questionnaires were 5 rating scale developed by analyzing answers from the experts obtained in the first and second round. Finally, a 5- rating scale instrument to evaluate feasibility of using the coverage for promoting nurses’ leadership in disaster management was developed based on the result from third round analysis. This questionnaire was tested by 5 experts in nursing instructors and nursing administrators. The statistics for data analysis were median and interquartile range, mean and standard deviation.

The results revealed that the experts had a common agreement on nursing leadership in disaster management in 3 domains. First domain, knowledge of disaster management, consisted of 3 sub-domains including 1) basic knowledge about disaster 2) knowledge of emergency care and 3) general knowledge. Second domain, disaster management, consisted of 4 phases including 1) preventive and mitigation phase 2) preparedness phase 3) response phase, and 4) recovery phase. Third domain, strategic leadership of nurse in disaster management, consisted of 1) communication 2) coordination 3) decision making 4) team working, and 5) problem solving.

The result of feasibility to apply coverage for promoting nurses’ leadership in disaster management revealed 5 domains with high feasibility: 1) basic knowledge about disaster, 2) role of nurse in 4 phases of disaster management, 3) knowledge of emergency care, 4) strategic leadership in disaster management, and 5) table- top simulation of disaster management.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย