ผลของโปรแกรมการปรับระบบการดำเนิน ชีวิตโดยการตั้งเป้าหมายและประสบการณ์ใหม่ต่อพฤติกรรมเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ระดับความดันโลหิตและระดับแอลดีแอลโคเลสเตอรอลในผู้ป่วยหลังจากภาวะสมองขาดเลือด ชั่วคราว THE EFFECTS OF A SYSTEMCHANGETM-TIA PROGRAM ON STROKE R

ผู้แต่ง

  • ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง
  • เขมารดี มาสิงบุญ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง, ความดันโลหิต, แอลดีแอลโคเลสเตอรอล, สมองขาดเลือดชั่วคราว, Stroke risk behaviors, blood pressure, LDL-cholesterol, Transient Ischemic Attack

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ศึกษาผลของโปรแกรมการปรับระบบการดำเนินชีวิตโดยการตังเป้าหมายและประสบการณ์ใหม่ในผู้ใหญ่ไทยหลังจากภาวะหลอดสมองขาดเลือดชั่วคราวและเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ระดับความดันโลหิตและระดับแอลดีแอลโคเลสเตอรอล ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ในระยะ 6 สัปดาห์ และ 12 สัปดาห์ เป็นการวิจัยการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ซึ้งเป็นการศึกษาผลของโปรแกรมบนพื้นฐานของทฤษฎีขบวนการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 42 คน ซึ้งอาศัยอยู่จังหวัดเพชรบุรี ประเทศไทย ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย หลังจากนั้นสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2558 กลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรม จำนวน 6 สัปดาห์ ระยะที่ 1 การพัฒนาความคิดเชิงระบบและทักษะ (สัปดาห์ที่ 1) ระยะที่ 2 การปรับเปลี่ยนระบบชีวิต (สัปดาห์ที่ 2 และ 4), ระยะที่ 3 การพัฒนาระบบชีวิตอย่างต่อเนื่อง (สัปดาห์ที่ 6) โดยกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการปรับระบบการดำเนินชีวิตโดยการตั้งเป้าหมายและประสบการณ์ใหม่ในผู้ใหญ่ไทยหลังจากภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว, 2)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, 3) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง, 4) เครื่องวัดความดันโลหิต รุ่น an automated sphygmomanometer OMRON HEM-7203, และ 5) เครื่องวัดทางเคมี รุ่น a Cobas 6000 analyzer series module 6c501 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์วัดซ้ำหลายตัวแปร

    ผลการศึกษาพบว่าทั้งกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองส่งผลต่อผลลัพธ์ที่แตกต่างกันในช่วงเวลาที่ต่างกันในสัปดาห์ที่ 6 และ 12 โดยกลุมทดลองมีพฤติกรรมเสียงโรคหลอดเลือดสมอง ระดับความดันซีสโตลิค ระดับความดันไดแอสโตลิค และระดับแอลดีแอลโคเลสเตอรอลลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม โปรแกรมการปรับระบบการดำเนินชีวิตโดยการตั้งเป้าหมายและประสบการณ์ใหม่ในผู้ใหญ่ไทยหลังจากภาวะหลอดสมองขาดเลือดชั่วคราวจะช่วยปรับการดำเนินชีวิตซึ่งช่วยในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ลดระดับความดันโลหิตและระดับแอลดีแอลโคเลสเตอรอล ดังนั้นโปรแกรมสามารถนำมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงผู้ป่วยหลังจากภาวะหลอดเลือดสมองขาดเลือดชั่วคราว

Abstract

    The purpose of this study was to test the effects of the SystemCHANGETM-TIA program and compare the differences in stroke risk behaviors, systolic blood pressure, diastolic blood pressure, and LDL-cholesterol of adults following TIA among individuals receiving a SystemCHANGETM-TIA program and those receiving usual care at 6 weeks and 12 weeks. The research design was a Randomized Controlled Trial (RCT) which tested the effects of providing a set of activities in a SystemCHANGETM-TIA program on process improvement theory. Forty two TIA adults who lived in Phetchaburi, Thailand, were recruited as the sample using simple random sampling. The participants were then randomly assigned into the SystemCHANGE™-TIA and control groups. Starting from July, 2014 to January, 2015, the SystemCHANGE™-TIA group received a six-week- program and the control group received routine care only. The instruments of this study included 1) a SystemCHANGETM program, 2) the demographic data form, 3) a modified stroke risk behaviors scale, 4) an automated sphygmomanometer OMRON HEM-7203, and 5) a Cobas 6000 analyzer series module 6c501. Data were analyzed using repeated measures MANOVA.

      The results revealed the SystemCHANGE™-TIA group to have significantly lower stroke risk behaviors level and lower mean scores on systolic blood pressure, diastolic blood pressure, and LDL-cholesterol than the control group. There were significant differences over time for all outcomes. Interaction effects between time and group of all outcomes were significantly different. The SystemCHANGETM-TIA was a nursing intervention to help TIA adults to focus on changing the daily systems in their lives affecting stroke risk behaviors and improved physiological outcomes on blood pressure and LDL-cholesterol. Therefore, the program might be used in nursing practice for changing stroke risk behaviors in TIA patients.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-01-02

ฉบับ

บท

บทความวิจัย