ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ตามแบบจำลองขั้นตอน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนในตำบลวังวน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง EFFECTS OF THE SMOKING CESSATION PROGRAM APPLYING TRANSTHEORETICAL MODEL AMONG SMOKERS AT WONGWON SUB-DISTRICT, KUNTUNG DISTRICT, TR

ผู้แต่ง

  • ภานิสา ระยา
  • ศรัณญา เบญจกุล
  • มณฑา เก่งการพานิช
  • ธราดล เก่งการพานิช
  • กรกนก ลัธธนันท์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่, แบบจำลองขั้นตอนการเปลี่ยนแปลง, แรงสนับสนุนทางสังคม, smoking cessation, Transtheoretical model, stages of change, social support

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การจัดกิจกรรมช่วยเลิกบุหรี่ที่สอดคล้องกับความตั้งใจในการเลิกบุหรี่ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้สูบบุหรี่สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ โดยประยุกต์แบบจำลองขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมาจำแนกบุคคลและจัดกิจกรรมตามระดับขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่สูบบุหรี่ในตำบล วังวนอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 32 คน ได้รับโปรแกรมกิจกรรมนาน 8 สัปดาห์ประกอบด้วย การให้ความรู้ การอภิปรายกลุ่ม การทำสัญญา และการสร้างแรงสนับสนุนทางสังคม เก็บข้อมูลก่อนการทดลองและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 4 และ 8 ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired Samples t-test และ Repeated measures ANOVA

ผลการทดลองพบว่า หลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 4 และ 8 กลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงสมดุลของการตัดสินใจเลกิ สูบบุหรี่ การรับรู้ความสามารถตนเองในการเลกิ สูบบุหรี่ และพฤติกรรมการปฏิบัติ วันในการเลิกสูบบุหรี่ ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และมีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากขั้นไม่สนใจ ร้อยละ 18.8 และขั้นลังเลใจ ร้อยละ 37.5 เมื่อก่อนการทดลอง เป็นขั้นเตรียมตัวปฏิบัติ ร้อยละ 28.1 และขั้นลงมือปฏิบัติ ร้อยละ 71.9 ในสัปดาห์ที่ 4 จากนั้นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในขั้นลงมือปฏิบัติ ร้อยละ 75.0 และขั้นเตรียมตัวปฏิบัติ ร้อยละ 25.0 ในสัปดาห์ที่ 8 นอกจากนี้ หลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มตัวอย่างสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ 12 คน คิดเป็น ร้อยละ 37.5

สรุปได้ว่าโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่นี้ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ได้ ดังนั้นจึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในสถานบริการ โดยเริ่มต้นด้วยการจัดแบ่งกลุ่มผู้สูบบุหรี่ตามความตั้งใจในการเลิกบุหรี่ และจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความพร้อมในการเลิกบุหรี่พร้อมๆ กับการจัดให้มีการสนับสนุนทางสังคมอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง

ABSTRACT

Intervention based on the intention to quit smoking was essential for successful cessation. This quasi-experimental research aimed to study the effects of smoking cessation program applying the Transtheoretical model (TTM). The group and individual program activities for 8 weeks were divided and designed in accordance with the stage of change (SOC) in smokers. The samples comprised 32 smokers living at Wongwon Sub-district, Kuntung District, Trang Province. Data were collected by questionnaires at the pre and post intervention phase on the 4th and 8th week. Statistical analysis was performed by using descriptive statistics and inferential statistics, Paired Samples t-test and Repeated measures ANOVA.

The results revealed that samples had significantly higher scores in decisional balance, self-efficacy, and quitting at 4th and 8th week after intervention as compared to the pre-intervention phase (p-value < 0.05). Most samples moved through a series of SOC, from 18.8 percent on precontemplation stages and 37.5 percent on contemplation stage at pre-intervention phase to 28.1 percent on preparation stages and 71.9 percent on action stages at 4th week, and most participants were on action stages (75.0 percent) and followed by 25.0 percent on preparation stages at 8th week. After 8 weeks intervention program, 12 smokers were able to quit smoking, at 37.5 percent.

In conclusion, the smoking cessation program applying the Transtheoretical Model and social support can help smokers to stop smoking. The intervention program could be applied in smoking cessation services provided in the health centers. Health care providers should assess the intention to quit smoking and then arrange the smoking cessation program by their stages of change as well as continuously provide social support to quit.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-05-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย