ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง และความเข้มแข็งในการมองโลก ของผู้เสพแอมเฟตามีน

ผู้แต่ง

  • เด่นเดือน ภูศรี นักศึกษาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พัชราพร เกิดมงคล Ph.D. (Nursing) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

แรงสนับสนุนทางสังคม, การมีส่วนร่วมของครอบครัว, การเห็นคุณค่าในตนเอง, ความเข้มแข็งในการมองโลก, ผู้เสพแอมเฟตามีน, SOCIAL SUPPORT, FAMILY PARTICIPATION, SELF-ESTEEM, SENSE OF COHERENCE, AMPHETAMINE DEPENDENCE

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาถึงผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว ต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง และความเข้มแข็งในการมองโลก ของผู้เสพแอมเฟตามีน ในศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ วัดท่าพุราษฎร์บำรุง อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 17 คน กลุ่มทดลองเข้าโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว จำนวน 4 ครั้ง และได้รับการกระตุ้นเตือนแรงสนับสนุนจากครอบครัวทางโทรศัพท์ 2 ครั้ง ใช้เวลาการศึกษา 8 สัปดาห์ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง แบบสอบถาม 1 ชุด ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ครอบครัว และประวัติการใช้สารเสพติด ส่วนที่ 2 แบบสอบถามวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง ส่วนที่ 3 แบบสอบถามวัดความเข้มแข็งในการมองโลก ซึ่งได้ตรวจสอบความตรงและความเที่ยงแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการเห็นคุณค่าในตนเอง 42.34% สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มเปรียบเทียบ 38.23% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.003 และ 0.007 ตามลำดับ) และกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความเข้มแข็งในการมองโลก หลังการทดลอง 28.42% เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.004) ข้อเสนอแนะการใช้โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัว และการกระตุ้นเตือนแรงสนับสนุนจากครอบครัวทางโทรศัพท์ ควรมีการนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปกติของผู้เสพแอมเฟตามีน ซึ่งจะทำให้การป้องกันการติดซ้ำมีประสิทธิผลมากขึ้น

 

ABSTRACT

The objective of this study was to determine the effectiveness of a rehabilitation program with family participation that responded to self-esteem and sense of coherence of amphetamine dependants at Tapurasbumrung temple Danmakamtia district , Kanchanaburi province. The study sample was experimental groups of 25 subjects and comparison a group of 17 subjects. The experimental group got the rehabilitation program with family participation 4 times and the activation by phone 2 times. The questionnaire was used for data collection, pre-test and post-test. A set of questionnaire contains the following 3 parts. Part 1 : Questions on personal and family background and history of drug used. Part 2 : Questions on self-esteem. Part 3 : Questions on a sense of coherence. Data was analyzed by t-test. The results of this study showed that eight weeks after the program the experimental group had a mean of 42.34% for self-esteem higher than before participating in the program and higher a mean of 38.23% for the comparison group, statistically significantly. (p-value = 0.003 and 0.007) After the program the experimental group had a mean of 28.42% for sense of coherence higher than before participating in the program, statistically significantly. (p-value = 0.004) In conclusion, in order to prevent relapse of amphetamine use more effectively, the application of rehabilitation program with family participation and activation by phone should be treat with the normally rehabilitation program.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย