ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง FACTORS RELATED TO FEAR OF FALLING IN OLDER ADULTS WITH STROKE

ผู้แต่ง

  • อัจฉราวรรณ รัตน์มณี
  • นัยนา พิพัฒน์วณิชชา

คำสำคัญ:

ความกลัวการหกล้ม, ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, ปัจจัย, fear of falling, older adults with stroke, stroke patients, factors

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรค
หลอดเลือดสมอง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลระยอง จังหวัดระยอง และโรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจ????ำนวน 120 คน กรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้มาจากการประยุกต์ทฤษฏีการรับรู้ความสามารถของตนเองของ Bandura (1997) ร่วมกับการศึกษาแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการหกล้มของ Tinetti, Richman, and
Powell (1990) และแนวคิดความกลัวการหกล้ม (Ptophobia) ของ Bhala, O’Donnell, and Thoppil (1982) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองแบบวัดความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง แบบทดสอบการก้าวเดินและการทรงตัว แบบสัมภาษณ์ภาวะซึมเศร้าในผ้สูงอายุไทย แบบประเมินดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบสัมภาษณ์คุณภาพชีวิต และแบบสัมภาษณ์ความกลัวการหกล้มในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล
     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 91.7 มีความกลัวการหกล้มอยู่ในระดับสูง เพศหญิงมีความสัมพันธ์
ทางบวกในระดับปานกลางกับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง (r = .40, p < .01) การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง (rs = .21, rs = .21, rs = .20, p < .05) การทรงตัวและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ กับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง (r = -.28, p < .01, rs = -.18, p < .05) ส่วนประวัติการหกล้มและคุณภาพชีวิตไม่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีนัยส????ำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
จากผลการวิจัย บุคลากรสุขภาพควรน????ำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมหรือแนวปฏิบัติเพื่อลด
ความกลัวการหกล้มและส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการหกล้มที่เหมาะสมในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง

Abstract
      This descriptive correlation research aimed to study the level of fear of falling and factors related to fear of falling in older adults with stroke. Participants were 120 older adults with stroke who followed up at outpatient departments, Rayong Hospital, Rayong province, and Prapokklao Hospital, Chanthaburi province. They were selected by simple random sampling. Research instruments included personal data interview, Stroke Perceive Scale, National Institute of Health Stroke Scale - Thai, Timed Up & Go test, Thai Geriatric Depression Scale, Barthel ADL Index, Cantril Self-Anchoring Ladder scale, Falls Efficacy
Scale. Data were analyzed by frequency, Spearman Rank Correlation coefficient, and Point Biserial Correlation coefficient.
     Results revealed that majority of older adults with stroke (91.7%) had a high level of fear of falling. Female was moderate positively correlated with fear of falling in older adults with stroke (r = .40, p < .01).
Perceived severity, stroke severity, and depression were positively correlated with fear of falling in older adults with stroke (rs = .21, rs = .21, rs = .20, p < .05). Gait- balance ability and daily living activity were small negatively correlated with fear of falling in older adults with stroke (r = -.28, p < .01, rs = -.18, p < .05). However, fear of falling in older adults with stroke was not significantly correlated with history of falling and quality of life.
From the study, health care providers should apply these findings to guide developing a program or guidelines to reduce fear of falling and promote appropriated fall prevention behaviors in older adults with stroke.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-04-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย