ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและดัชนีมวลกายในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

Authors

  • ภาวิณี - ชุ่มเฉียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะบกเตี้ย อ.เนินขาม จ.ชัยนาท 17130

Keywords:

กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน, การสนับสนุนการจัดการตนเอง, ดัชนีมวลกาย, พฤติกรรมสุขภาพ, Pre-diabetes, Self-management Support, Body Mass Index, Health behavior

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและดัชนีมวลกายในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน  กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะบกเตี้ย จำนวน 48 ราย ที่ได้จากการจับคู่แล้วจับฉลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 ราย และกลุ่มควบคุม 24 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองตามแนวคิดของแคนเฟอร์ (Kanfer & Gaelick, 1988) ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 การสร้างแรงจูงใจ และการสนับสนุนการจัดการตนเอง องค์ประกอบที่ 2 การจัดการตนเองของกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ประกอบด้วย การติดตามตนเอง การประเมินตนเอง และการเสริมแรงตนเอง และองค์ประกอบที่ 3 การติดตามและสนับสนุนการจัดการตนเอง โปรแกรมใช้ระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00  และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.83  เครื่องชั่งน้ำหนัก และเครื่องวัดส่วนสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบผลการศึกษาด้วยสถิติอ้างอิง ได้แก่ Paired t-test และ Independent t-test  ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพดีกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และมีค่าดัชนีมวลกายหลังการทดลองลดลงจากก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและลดดัชนีมวลกายของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้ พยาบาลวิชาชีพจึงสามารถนำไปใช้ในการสนับสนุนการจัดการตนเองในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานได้

The Effects of Self-management Support Program on Health Behaviors and Body Mass Index in People with Pre-diabetes

The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of a self-management support program on the health behavior and body mass index in participants with pre-diabetes. Forty eight participants were people with pre-diabetes from the Kaboktie Health Promoting Hospital. The participants were randomly placed into an experimental group and a control group, each group composed of 24 patients. The experimental groups received self-management support programs based on the concept of Kanfer (Kanfer & Gaelick, 1988). It consisted of 3 elements for 8 weeks: 1.The first was motivation and self-management support, 2.The second was Self-management of prediabetes include self-monitoring, self-evaluation and self-reinforcement, and 3.The third was monitoring and supporting self-management.

The control group received usual care over the same period. The research measurements included a health behavior questionnaires that had Content validity index was 1.00 and Cronbach’s alpha coefficient of 0.83 indicating high reliability, weight and height measurements. The data was analyzed using percentile, mean, standard deviation, paired t-test and independent t – test.The findings were that the health behavioral average score of the experimental group, who participated in the self-management program, was significantly higher than before participating in the program (p<.05). The body mass index average score of the experimental group, after participating in the self-management program, was significantly lower than before participating in the program (p<.05). A comparison between groups found that the health behavior of the experimental group was significantly higher than the control group (p<.05), and the body mass index average score of the experimental group was significantly lower the control group (p<.05).This results suggest that the self-management support program can improve health behaviors and decrease body mass index among pre-diabetes patients. Therefore nurses and health care providers should implement the self-management support program for people with pre-diabetes.

References

เอกสารอ้างอิง
จุฑามาส จันทร์ฉาย มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และนิรัตน์ อิมามี . (2555). โปรแกรมการเรียนรู้เรื่องเบาหวานและการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา.7 (2), 70-83.
ณิชกานต์ ทรงไทย. (2557). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองโดยเพื่อนต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิต ชนิดไม่ทราบสาเหตุ(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทัศนีย์ ขันทอง แสงอรุณ อิสระมาลัย และพัชรี คมจักรพันธุ์. (2556). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับนํ้าตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน.วารสารสภาการพยาบาล, 28(1), 85-99.
เนติมา คูนีย์. (2557). การทบทวนวรรณกรรมสถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการด้านโรค
ไม่ติดต่อ.นนทบุรี: บริษัท อาร์ต ควอลิไฟท์ จำกัด.
น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และรัชนีกร ปล้องประภา. (2555). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย และเส้นรอบเอวของกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(2), 40-47.
บุญชม ศรีสะอาด.(2554). การวิจัยเบื้องต้นฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น จำกัด.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร.(2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ :ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.
รัตน์ศิริ ทาโต. (2551). การวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ร่มเกล้า กิจเจริญไชย.(2556).ประสิทธิผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเรื่องการบริโภคอาหารในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ค่าน้ำตาลสะสม และดัชนีมวลกาย.วิทยานิพนธ์ พย.ม.มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยฯและคณะ. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวานพ.ศ.
2557. กรุงเทพฯ: หจก. อรุณการพิมพ์.
สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2553). การจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังกรณีเบาหวาน และ
ความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง.
สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2557). ข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. สืบค้น เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2559 จาก
https://www.thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php
American Diabetes Association. (2015). Standards of medical care in diabetes 2015.
Diabetes care, 35(1), 11-63.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical
power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences.
Behavior Research Methods, 39(1), 175-191.
International Diabetes Federation. (2014). Global estimates of diabetes prevalence for
2013 and projections for 2035. diabetes research and clinical practice,
103(2014), 137–149.
Kanfer,F.H. & Gaelick, L, (1988) .Self-management methods.In Kanfer,F.H.and Goldstein A.P.(Eds.) Helping people Change (283-238). New York : Pergamon Press.
Kawi, J. (2012). Self-management support in chronic illness care: A concept analysis.
Research and theory for nursing practice: An International journal, 26(2), 108-125.

Downloads

Published

2018-04-05

How to Cite

ชุ่มเฉียง ภ. .-. (2018). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและดัชนีมวลกายในกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน. Journal of Nursing and Health Research, 19(1), 108–119. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/104366