Factors related to drug compliance behaviors of hypertension patients in the community, Ban Pho District, Chachoengsao Province.

Authors

  • นางสาวญาดา เรียมริมมะดัน Rajabhat Rajanagarindra University.

Keywords:

Keyword: drug compliance behaviors, hypertension, Behaviors, Drug compliance, Hypertension, พฤติกรรม, การรับประทานยา, โรคความดันโลหิตสูง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับประทานยารักษาโรคความดันโลหิตสูง  การรับรู้ความรุนแรงและความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของการรับประทานยาของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการรับรู้ต่อพฤติกรรมการรับประทานยารักษาโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในชุมชน อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 400 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ สถิติค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}=1.99, S.D = 0.66)การรับรู้ความรุนแรง   และความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนของโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 2.88, S.D =0.80) การรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยาอยู่ในระดับสูง ( gif.latex?\bar{x}= 3.09, S.D = 0.68) การรับรู้อุปสรรคของการรับประทานยาอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 2.78, S.D = 0.87) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลพบว่าสถานภาพ ระยะเวลาที่รักษาโรคมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05อายุ จำนวนชนิดยาที่ใช้รักษาความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนระดับการศึกษาอาชีพรายได้ การมาตรวจตามนัดมีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001การรับรู้ความรุนแรงและความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 (r = .33,  p < 0.001) การรับรู้ประโยชน์ของการรับประทานยามีความสัมพันธ์ทางบวกต่อพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .11, p < 0.05)การรับรู้อุปสรรคของการรับประทานยามีความสัมพันธ์ทางบวกต่อพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.01(r = .17, p  < 0.01)

Factors related  to drug compliance behaviors of hypertension patients in the community, Ban Pho District, Chachoengsao Province.

This study was a descriptive research that the purpose was to study drug compliance behaviorsof hypertension patients, the perception of violence and the risk in complications of hypertension, the perception of benefits and handicaps in drug compliance of hypertension patients, and the relationship between personal factors. Factors of perception related to drug compliance behaviors of hypertension patients in the community, Ban Pho District, Chachoengsao Province that data were collected from 400 people by simple random sampling. The instruments used were interviewing and analyzing by descriptive statistics, including frequency distribution, percentage, average and standard deviation, and analyze the relationship withChi-Square statistics and Pearson’s statistical correlation.The study found that drug compliance behaviors was at medium level (  gif.latex?\bar{x}=1.99, S.D = 0.66), the perception of violence and the risk in complications of hypertension was at medium level ( gif.latex?\bar{x}= 2.88, S.D=0.80) , the perception of benefits in drug compliance was at high level  ( gif.latex?\bar{x}=3.09,S.D = 0.68), the perception of handicapsin drug compliance was at medium level ( gif.latex?\bar{x}= 2.78, S.D = 0.87) .2) The relationship between personal factors found that the duration of treatment related to drug compliance behaviors with the statistical significance level of 0.05 . Age and the number of drugs for treatment related to drug compliance behaviors with the statistical significance level of 0.01. Education, occupation, income, and medical checkup by appointment related to drug compliance behaviors with the statistical significance level of 0.001. The perceptionof violence and the risk in complications positively related to drug compliance behaviors with the statistical significance level of 0.001 (r = .33, p < 0.001). The perception of benefits in drug compliance positively related to drug compliance behaviors with the statistical significance level of .05 (r = .11,p< 0.05). The perception of handicaps in drug compliance positively related to drug compliance behaviors with the statistical significance level of 0.01 (r = .17, p <0.01).

References

กรมอนามัย. (2558). คู่มือการดำเนินงาน ประจำปี 2558. กองแผนงาน กรมอนามัย
จิตชนก ลี้ทวีสุข. (2556).พฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังในชุมชนเชียงทอง
ตำบลระแหงอำเภอเมือง จังหวัดตาก. ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสมเด็จพระ
เจ้าตากสินมหาราชคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
จิราวรรณ เจนจบและสุพัฒนา คำสอน. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเกศกาสร อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ.
ชุติชัย มาแจ้งและสายัญ ปัญญาทรง. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานยาปฏิชีวนะของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสองพี่น้อง จังหวัดจันทบุรี. Quality of Life and Law Journal. 2012;(1):112– 123.
ชาญณรงค์ โลหิตหาญ. (2553).การศึกษาพฤติกรรมการใช้ยา : กรณีศึกษาสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ธนารัตน์ จันดามณี. (2551). ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษา โดยการประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อ
ด้านสุขภาพร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ธมนพรรษ บุญเจริญ. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาในทหารที่เป็นโรคความดัน
โลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(3), 2558.
สมใจ จางวาง. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน
และความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการ
สาธารณสุขภาคใต้. ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม - เมษายน 2559.
สุมาลี วังธนากร และคณะ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง.
สงขลานครินทร์เวชสาร. 2551;26(6).
สุมาพร สุจำนงค์. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาล
บรมราชชนนี กรุงเทพ ปีที่ : 29 ฉบับที่:2.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา. (2559). สถิติการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยใน
จังหวัดฉะเชิงเทรา ปีงบประมาณ 2559. กระทรวงสาธารณสุข.
ศุภลักษณ์ สุขไพบูลย์ และคณะ. (2557). พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการ โรงพยาบาล
ส่งเสริมสุขภาพตำบลสร่างโศก อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. การประชุมวิชาการและเสนอ
ผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน”.
อมรรัตน์ ภิรมย์ชม และอนงค์ หาญสกุล. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่2 ในอำเภอหนองบัวระเหว จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุม โรคที่ 6. ขอนแก่น, 19(1),1-10.
อรพินท์ สีขาว (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลหัวเฉียว. วารสารพยาบาลทหารบก ปีที่ 14 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2556.
Becker, M. H. (1974). The Health Belief model and Sickrole Behavior. In Becker, M. H. (Ed.),The
Health Belief Model, and Personal Health Behavior. New York: Charles B. Slack.
Retrieved December 13, 2014.
World Health Organization. (2013). A global brief on hypertension: silent killer, global
Public health crisis: World Health Day 2013.
Janz, N. K. & Becker, M. H., (1984). The Health Belief Model: A Decade later. Health
Education Quarterly, 11(1), 1-47.

Downloads

Published

2018-04-05

How to Cite

เรียมริมมะดัน น. (2018). Factors related to drug compliance behaviors of hypertension patients in the community, Ban Pho District, Chachoengsao Province. Journal of Nursing and Health Research, 19(1), 132–144. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/104794