การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในชุมชน บ้านบุไทย ตำบลห้วยยาง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา Developing a Model for Healthcare of the Elderly in Bu Thai Community, Huay YangSub-district, Bauyai District, Nakhon Ratchasriman Province

Authors

  • วัฒนพงศ์ นิราราช นิสิตคณะสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุมัทนา กลางคาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศุภวดี แถวเพีย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

Keywords:

การพัฒนารูปแบบ, ผู้สูงอายุ, การดูแลสุขภาพ, Model development, Elderly people, Healthcare

Abstract

เป็นการศึกษาเชิงปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ 1).แบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ2).แบบประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน 3) แบบสอบถามการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพตนเองผู้สูงอายุ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน 8 กิจกรรม คือ 1) ศึกษาบริบทข้อมูลพื้นฐาน 2) วิเคราะห์สถานการณ์ 3) การคืนข้อมูลปัญหาสุขภาพ และเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่ ในการดูแลสุขภาพและประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน 4) การพัฒนากระบวนการดูแลสุขภาพตามองค์ความรู้ใหม่ 5) การสนับสนุนนิเทศติดตาม 6) ประเมินผลการดำเนินงาน 7) การวิเคราะห์ สังเคราะห์ผลของกิจกรรมโดยใช้การมีส่วนร่วม และ  8) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน ประเมินผล  การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิตเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนยังขาดความร่วมมือ และรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม หลังการพัฒนาเกิดเครือข่ายหลักและมีรูปแบบ เครือข่าย ในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ชัดเจน กลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาเพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุทุกกลุ่มมีผลการประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันดีขึ้น ซึ่งแนวทางพัฒนาการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนประกอบด้วย 1).การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อแก้ปัญหา 2).การสร้างเครือข่ายการพัฒนา หรือทีมงาน3).การคืน หรือสะท้อนข้อเท็จจริงกับเจ้าของปัญหา  4).การประเมินผลติดตามอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน ครั้งนี้ คือ การรวมตัวของกลุ่มผู้สูงอายุในชุมชน ในรูปแบบชมรมหรือกลุ่มเพื่อสร้างให้เกิดการมีส่วนร่วมทีมจากผู้เผชิญปัญหาเอง หลังจากนั้นจึงพัฒนากิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ด้วยการบริการและดูแลระหว่างกัน รวมทั้งการสนับสนุนเกื้อกูลกันเอง ในกลุ่มเป้าหมาย

           คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ   ผู้สูงอายุ   การดูแลสุขภาพ

 

            The educational workshop is intended. To develop a model of self health care of the elderly in the community. The samples were selected purposively a total of 54 elderly people who use the tool. 1). The survey data, basic health care of the elderly. 2) an assessment of the ability to engage in daily activities, 3) were observed in the healthy elderly person. The process operating activities 8: 1) educational context data,        2) Analysis 3) to restore health. And create new knowledge. Health care and Committee Operations 4) Development of health care based on new knowledge 5) Support supervision 6) Evaluation Operation 7) to analyze, synthesize the results of activities by engaging and. 8) exchange lessons learned assessments, quantitative data analysis using descriptive statistics, percentage, average, standard deviation. And qualitative content analysis. The study indicated that The community is also a lack of cooperation And patterns of elderly health care concrete behind the development of the network and a network model of health care, the elderly are clear. The target group is satisfied with the increasing development. Seniors groups have evaluated the ability to engage in daily activities better. The development, which includes health care of the elderly in the community. 1). To establish the involvement of the community to solve problems. 2). The network development. Or team. 3) nights. Or to reflect the facts on the issue. 4) evaluation of continuous monitoring. Factors affecting the development of forms of self health care of the elderly in the community, this is the inclusion of the elderly in the community. Form a club or group to establish the participation of the team to face the problem itself. Then develop innovative services and care for each other. Including support for complementary friendly. The target group.

   Key Words :  Model development, Elderly people,  Healthcare

References

-

Downloads

Published

2017-12-26

How to Cite

นิราราช ว., กลางคาร ส., & แถวเพีย ศ. (2017). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ในชุมชน บ้านบุไทย ตำบลห้วยยาง อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา Developing a Model for Healthcare of the Elderly in Bu Thai Community, Huay YangSub-district, Bauyai District, Nakhon Ratchasriman Province. Journal of Nursing and Health Research, 18(3), 117–127. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/106867