ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด การสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการจัดการตนเอง ของผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบสั่นพริ้วที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด

Authors

  • พรรณี - ไพศาลทักษิน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง

Keywords:

ความรู้ การสนับสนุนทางสังคม, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบสั่นพริ้ว, Knowledge, Social support, self-management behaviors, Anticoagulant medicine, Atrial fibrillation

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดและการสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบสั่นพริ้วที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทานมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรมโรงพยาบาลลำปาง จำนวน 259  คน     เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความรู้ในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด  แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเอง ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ  0.64 , 0.93 และ 0.79  ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนความรู้ในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางและระดับสูงตามลำดับ (47.9%, 46.3%)  2) คะแนนการสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวและบุคลากรสุขภาพโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( gif.latex?\bar{X}= 89.14, S.D. = 10.95 = 94.68, S.D. = 9.71)3)พฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( gif.latex?\bar{X}=130.73,S.D.=9.11) และเมื่อพิจารณาพฤติกรรมการจัดการตนเองเป็นรายด้าน พบว่าพฤติกรรมการจัดการตนเองทุกด้านอยู่ในระดับสูง ทั้งทางด้านการแพทย์ด้านบทบาทที่ดำรงอยู่ในชีวิตประจำวัน และด้านอารมณ์ ( gif.latex?\bar{X}= 83.27 S.D.=5.96 ,gif.latex?\bar{X} = 26.11 S.D.=3.66 และgif.latex?\bar{X} = 21.34, S.D.=3.20 ตามลำดับ) 4) ความรู้ในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด  การสนับสนุนทางสังคมของครอบครัวและบุคลากรสาธารณสุขมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการจัดการตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.217, r = 0.297 และ r = 0.161 ตามลำดับ)

Relationship   between   Knowledge, Social support and Self-Management  in Atrial Fibrillation Patients  Receiving Anti-Coagulants

This descriptive study aimed to investigate the relationship between knowledge on anticoagulants, social support and self-management behaviors of patients with cardiac arrhythmiaswho treated with anticoagulants.Of 259 cardiac arrhythmias patients who treated with oral anticoagulant therapy at the outpatient department, Lampang Hospitalwererecuited in the study. The questionnaire about knowledge in anticoagulants, social support and self-management wereused for data collection.The content  wasverified. The reliability of the instrument was 0.64, 0.93 and 0.79, respectively. Data were analyzed by descriptive statistic and Pearson's product moment correlation coefficient.The results showed that 1)the score for knowledge of anticoagulant was at a moderate and high level respectively (47.9%, 46.3%).  2) the score for overall family’s social and health personel’s support were at a high level ( gif.latex?\bar{X}= 89.14, S.D. = 10.95 และ gif.latex?\bar{X}= 94.68, S.D=9.71)  3) he score for overall self-management behaviors was at a high level ( gif.latex?\bar{X}= 130.73, S.D=9.11) with sub dimensions including medical self-management,roles management and emotional management behaviors also at a high level ( gif.latex?\bar{X}= 83.27 S.D.=5.96 , gif.latex?\bar{X}= 26.11 S.D.=3.66 and gif.latex?\bar{X}= 21.34, S.D.=3.20) 4) Knowledge of anticoagulant, family and health personnel’s social support has positive relationship with self-management behaviors((r = 0.217, r = 0.297 และ r = 0.161, p ≤ 0.01, ตามลำดับ)

References

ขนิษฐา ลายลักษณ์ดำรง. (15 สิงหาคม 2559). การดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับยาวาร์ฟาริน (WARFARIN) สืบค้นเมื่อ24 ธันวาคม 2560, จากhttp://med.nu.ac.th/dpMed/2015/?mod=knowledge&dep=1

นลัทพร สืบเสาะ และชวนพิศ ทำนอง.(2553). การจัดการตนเองในผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน.ศรีนครินทร์เวชสาร, 25 (suppl).

บุญจง แซ่จึง, นวรัตน์ สุทธิพงศ์ และนวลจันทร์ พันธุเมธามาตย์. (2558). การบริหารยา WARFARIN สำหรับ วิชาชีพ. สถาบันโรค ทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.(2554). แนวทางการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน.กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์.(2555). แนวทางเวชปฏิบัติ สำหรับดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial Fibrillation (AF)ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์.

สินีนุข หลวงพิทักษ์. (2558).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว.
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุจิตราบุญญประสิทธิ์ สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์ และชมนาด สุ่มเงิน. (2016).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับในน้ำตาลไม่ได้.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 32(1), 44-54.

สุพิชา อาจคิดการ , ลินจง โปธิบาล และดวงฤดี ลาศุขะ. (2556). พฤติกรรมการจัดการตนเอง และปัจจัย ทำนายในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. พยาบาลสาร(40) ฉบับพิเศษ ธันวาคม, 22-32.

สุภัจฉรี สุขะ และวาสนา รวยสูงเนิน.(2556). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการมีวินัยในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,31(2), 65-71.

Berry E, Padgett, H,&Holton,C.(2015).Atrial fibrillation guidelines for management: what's new?
British Journal of Cardiac Nursing,13(5),214–215.

Bryk A, Wypasek E, Awsiuk M, Maj D, Undas A.(2015).Warfarin metabolites in patients
Followingcardiac valve implantation: A contributionof clinical and genetic factors.
Cardiovascdrugsther; 29(3), 257-64.

House, J. S. (1981). Work stress and social support. New Jersey: Prentice-Hall.

Loius,W.(2018).Managing atrial fibrillation to prevent stroke.British Journal of Neuroscience
Nursing.British Journal of Neuroscience Nursing, 14(2),84-90.

Lorig, K. R., & Holman, H. R. (2003).Self-management education: History,definittion, outcome,and mechanisms.The Society of Behavioral Medicine, 26(1), 1-7.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L., and Parson, M.A. (2002).Health Promotion in Nursing Practice.
4th ed. Upper Saddle River, N.J. :Prentia Hall.

Shorten,S.(2015). New approaches to strokeprevention in atrial fibrillation,Stroke association
supplement. British Journal of Neuroscience Nursing,14(2),84-90.

Downloads

Published

2018-08-18

How to Cite

ไพศาลทักษิน พ. .-. (2018). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ในการรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือด การสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมการจัดการตนเอง ของผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบสั่นพริ้วที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด. Journal of Nursing and Health Research, 19(2), 49–59. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/124191