รูปแบบการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุเชิงพุทธบูรณาการ : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านต๋อม จังหวัดพะเยา

Authors

  • สมศรี สัจจะสกุลรัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

Keywords:

รูปแบบการจัดการสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, พุทธบูรณาการ, model of Health Management, elder, Buddhist Integration

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลบ้านต๋อม จังหวัดพะเยา 2) ศึกษาการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุ ตามหลักวิทยาการสมัยใหม่และพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 3) นำเสนอรูปแบบการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุเชิงพุทธบูรณาการ วิธีการวิจัยใช้แบบผสม เชิงคุณภาพ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 40 รูป/คน สุ่มแบบเจาะจง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์เนื้อหา และเชิงปริมาณ ประชากร ได้แก่ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลบ้านต๋อม จำนวน2,116 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ได้ 337 คน สุ่มแบบง่าย ใช้แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย และกลุ่มผู้ดูแล จำนวน 10 คน สุ่มแบบเจาะจง ใช้แบบวัดความเครียดของสวนปรุง วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และตรวจสอบความถูกต้องด้วยการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 14 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหา อุปสรรค ในการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุ  ได้แก่ ข้อจำกัดเรื่องเวลาไม่ตรงกัน แผนขาดการบูรณาการ ส่วนใหญ่เน้นเชิงรับ งบประมาณมีจำกัด การดูแลไม่ทั่วถึง มีปัญหาครอบครัว ผู้สูงอายุอยู่ในภาวะพึ่งพาสูง สภาพร่างกายเสื่อมลงตามอายุขัย เข้าสังคมน้อยลง จิตใจเปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด  เหงา เครียด มีความจำเสื่อม หลงลืม ขาดสมาธิ  จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น มีฐานะยากจน ผู้ดูแลมีจำนวนลดลง มีบทบาทเชิงซ้อน เป็นโรคเรื้อรังและมีความเครียดสูง  2) การจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ทีมเครือข่าย มีส่วนร่วม นโยบายชัดเจน แผนครบคลุม งบประมาณเพียงพอ กิจกรรมพัฒนาสุขภาพของผู้สูงอายุ และประเมินผล ขึ้นอยู่กับ บริบทปัจเจกบุคคล อายุ กิจกรรมทางสังคม เน้นความมีคุณค่าในตน และภาวะสุขภาพ ผู้สูงอายุที่แข็งแรงจะพึ่งตนเอง ส่วนผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพา ครอบครัวเป็นกลไกสำคัญในการดูแล เกื้อหนุนด้านสิ่งของ ให้เงิน เป็นต้น 3) การจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุเชิงพุทธบูรณาการ เป็นแบบองค์รวม ดุลยภาพทั้งร่างกายและจิตใจ หลักการสำคัญ คือการพึ่งตนเอง มีความกตัญญู เมตตา และเอื้ออาทร ดำเนินชีวิตทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ไม่ประมาท ตามหลักอริยมรรค 8 การแก้ปัญหาใช้หลักอริยสัจสี่ รูปแบบประกอบด้วย  4  ข้อ คือ (3.1) แผน  (Plan) เป็นตำบลสุขภาวะดีวิถีพุทธ  (3.2) ปฏิบัติ (Do) มีทัศนคติเชิงบวกต่อการดูแลผู้สูงอายุ พัฒนาตามหลักภาวนา 4 ได้แก่ (3.2.1) กายภาวนา ดูแลให้ได้รับความสุขสบายตามหลักสัปปายะ 7 กตัญญูกตเวทีและทิศ 6,   (3.2.2)  ศีลภาวนา เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 10 ปฏิบัติตามหลักศีล 5 ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนช่วยเหลือ สาธารณสุขมีแนวปฏิบัติที่ดี จิตอาสา เช่น ขยะฮอมบุญ คาราวานบุญ อุ้ยจูงหลานเข้าวัด งดเหล้างานศพ โรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นต้น ตามหลักสังคหวัตถุ 4 และฆราวาสธรรม 4, (3.2.3) จิตตภาวนา ดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ตามหลักพรหมวิหาร 4 กัลยาณมิตรธรรม 7 และอิทธิบาท 4, (3.2.4) ปัญญาภาวนา เข้าใจชีวิต ตามหลักไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) หมั่นเจริญสติ อยู่กับปัจจุบัน ตามแนวสติปัฏฐาน 4 เกิดปีติ จิตใจเบิกบานและมีความสุข (3.3) ตรวจสอบ (Check)  ได้รับการประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ อยู่ในระดับดีเยี่ยม มีศูนย์เรียนรู้ นวัตกรรมสุขภาพหลากหลาย ผลการวิเคราะห์แบบวัดคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พบว่า ด้านจิตใจ อยู่ในระดับดี โดยภาพรวมอยู่ในระดับกลาง ๆ และแบบวัดความเครียดของผู้ดูแล พบว่า อยู่ในระดับสูง และ (3.4) ปรับปรุง (Act)  มีการประชุมสัญจรทุกเดือน ดังนั้น สุขภาพของผู้สูงอายุ เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผล กระทบต่อความเจริญของประเทศชาติ จึงควรใช้หลักพุทธธรรมเป็นดั่งเข็มทิศชี้ทางในการจัดการสุขภาวะ

A Model of Health Management for the Elderly according to Buddhist Integration : A Case Study of Bantom Sub-District Municipality, Phayao province.

The objectives of this doctoral research aimed to 1) study the problem of Health management for the elderly in Bantom Sub-District Municipality, Phayao Province 2) study the health management for the elderly according to modern science and Theravada Buddhism and 3) present the model of health management for the elderly according to Buddhist Integration by a means of using the mixed method research, qualitative research, of which the targets included 40 persons who were related to elders and selected by purposive sampling. In – depth interview was conducted to collect the data, analyzed by content analysis. The quantitative research was proceeded base on the population of the randomized elders living in Bantom Sub-District Municipality. The Taro Yamane method was employed for the sample size. The sample of 337 informants out of total 2,116 were obtained by simple random sampling technique. Questionnaire were borrowed as the instrument of the research, quality of life (WHOQOL-BREF-THAI) and Suanprung Stress Test-20 for 10 care-givers, selected by purposive sampling. The data was analyzed by description statistic and re-check with focus group were 14 experts. The results found that 1) health management of the elderly problems were limited, time dismatch, lack of integration of plan, mostly focus receptive, the budget was limited, inadequated care, family problem issue, the elder high depended, body deteriorated with age, less for activity social, mind problem easy change, repine, lonely, stress, alzheimer, dementia and lack of mindful. A number of elderly was increase, poor, in the other hand care-giver was decrease, sandwich role, chronic illness and high stress. 2) Health management for the elderly concluded team network, engagement, the policy was clear, plan, budget, planning covered the need of elderly and integrated, appropriated budget. activity for health of elderly and evaluation depended on individual, age, activity social focus self-esteem and health status. The good health of elderly was self-reliant, the family was an important of care the depended, supported money etc. 3) In terms of the model of health management for elderly according to Buddhist Integration was holistic, equilibrium body and mind, focus from self-care, gratefulness, compassion and generosity by basic on middle way (Majjhimā paṭipadā), life of carefulness with the Noble Eightfold Path, the problem solved by The Four Noble Truths principle. This model consisted 4 dimensions : (3.1) Plan : was New Social to Buddhist Movement : NSBM. (3.2) Do:  positive attitude to elderly, development composed of four dimensions (Bhāvanā): Firstly, physical development cared comfortable through 7 advantageous conditions (Sappāya), was gratefulness and 6 directions (Disā). Secondly, moral development faith in kamma and sin-merit according to 10 base of meritorious actions (Puññakiriyā-vatthu), via upholding in 5 precepts, family gave love, community supported , the public health system had good practice, service mind such as Waste Home Merit, visit called Caravan merit, grandmother bring the grandchildren into the temple, no alcohol in funeral, school for elderly ect. lined with 4 bases of social solidarity (Saṅgahavatthu) and 4 virtues for a good household life principle (Gharāvāsa-dhamma), Thirdly, emotional development humanized health care by following the 4 holy abidings (Brahmavihāra), 7 qualities of a good friend (Kalyāamitta-dhamma) and 4 path of accomplishment basic (Iddhipāda-vatthu). Finally, wisdom development insight to know the truth dhamma and the impermanence of life with the Three Characteristics (impermanence, state of conflict, not-self), and always practice the mindfulness with present by 4 foundations of mindfulness (Satipaṭṭhāna) which led our life to present, delight, enjoy and the spiritual happiness. (3.3) Check:  evaluation was excellent, learning center had many innovations for health. The result on the elderly’s life quality questionnaire, it was clearly seen that mind phase was at good level, the overall was at moderate. The stress of questionnaire for care-giver founded high level. (3.4) Act: routine meeting. So the health of the elderly, it was one factor that effected the prosperity of the nation, should be used Buddha-Dhamma as a direct to guide for health management.

References

กมล สุกิน และ ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2553).ด้วยรักและกตัญญู สู่ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่ยั่งยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

จรัสแสง ผิวอ่อน. (2554). การจัดการเพื่อดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบองค์รวม กรณีศึกษาวัดคำประมง จังหวัดสกลนคร.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชนิตา สุ่มมาตย์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยองค์กรชุมชนในภาคอีสาน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นารีรัตน์ จิตรมนตรี, วิไลวรรณ ทองเจริญ, และ สาวิตรี ทยานศิลป์. (2552). ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่ดีของครอบครัวและชุมชนเขตเมืองและกรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

บรรลุ ศิริพานิช. (2552). ถอดความจากวีดิทัศน์ ปัญหาและความร่วมมือในอนาคต. ในสายศิริ ด่านวัฒนะ. (บรรณาธิการ). รายงานการประชุมโครงการประชุมวิชาการบริการปฐมภูมิ เรื่องการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นครปฐม : สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน.

ประไพ เพิ่มกสิกรณ์. (2556).การพยาบาลผู้ป่วยตามแนวพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ปราโมทย์ ประสาทกุล (บรรณาธิการ). (2559). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ :บริษัท อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน).

พระครูใบฏีกาโสภา กิจฺจสาโร (จันทร์เพ็ง). (2553). การประยุกต์หลักพุทธธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิต ประจำวันของกลุ่มผู้สูงวัย ในเขตตำบลบ้านหว้า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). การแพทย์ยุคใหม่ในพุทธทัศน์.พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

__________. (2556). คติธรรมแห่งชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 24). กรุงเทพฯ : บริษัทสหธรรมิก.

__________. (2556). สร้างวาสนา เพิ่มค่าให้อายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระพุทธศาสนาของธรรมสภา.

__________. (2548). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัท สหธรรมิก จำกัด.

พระอมราภิรักขิต (เกิด อมโร). (2510).บุพพสิกขาวรรณา. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

พิมพิสุทธิ์ บัวแก้ว และรติพร ถึงฝั่ง. (2559). การดูแลสุขภาพและภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย.21(2) พฤษภาคม –สิงหาคม:94-109.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รศรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2555). ความสุขที่สร้างได้. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
วรางคณา เทียมภักดี. (2557). สติปัฏฐาน4: พุทธวิธีการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวม.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิชาการและแผนงาน สำนักปลัดเทศบาลตำบลบ้านต๋อม. (2557). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2558-2562) เทศบาลตำบลบ้านต๋อม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา. (อัดสำเนา).

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร. (2551). ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว. เอกสารประกอบการประชุมเวทีระดมความคิดเห็นต่อประเด็นนโยบายเรื่อง ระบบการดูแลและกำลังคนในการดูแลผู้สูงอายุ. วันที่ 30 ตุลาคม 2551 ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพ.

สมจิตร์ วงศ์บรรเจิดแสง. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังในชมรมผู้สูงอายุ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 18(4):64-77.

สมพร แวงแก้ว และ นิดา มุสิกบุญเลิศ. รูปแบบการจัดการสุขภาพของหมู่บ้าน ในอำเภอเมืองจังหวัดอุดรธานี ปี 2551, สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2560, จาก www.vcharkarn.com/blog/6765

สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ และคณะ. (2552). รูปแบบการดูแลสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในระยะยาวโดยชุมชน.วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว.1(2) มีนาคม – มิถุนายน, 22-31.

สาลินี เทพสุวรรณ์, ณัฐจีรา ทองเจริญพงศ์ และรศรินทร์เกรย์. (2555) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดและความสุขของการดูแลผู้สูงอายุ. วารสารประชากร,4 (1) กันยายน 2555-กุมภาพันธ์ 2556:75-92.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และคณะ. เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย.สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2558, จาก http://www.dmh.go.th/test/whoqol/

__________. แบบวัดความเครียด ฉบับสวนปรุง.สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2558, จากhttp://www.dmh.go.th/test/stress/

Merrill, D.M. (1993). Daughter-in-law as caregivers to the elderly: Defining the in-law relationship. Research on Aging. 15 (1):70-91.

Yamane,T. (1973). Statistics : An Introduction analysis. 3rded. New York : Harper & Row Publication.

Downloads

Published

2018-08-18

How to Cite

สัจจะสกุลรัตน์ ส. (2018). รูปแบบการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุเชิงพุทธบูรณาการ : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านต๋อม จังหวัดพะเยา. Journal of Nursing and Health Research, 19(2), 120–132. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/125466