ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติดของเยาวชนในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม

Authors

  • ภารณี นิลกรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • ภารณี นิลกรณ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

Keywords:

สารเสพติด, เยาวชน, หมู่บ้านรักษาศีล 5, substance addictive, youth, the five precepts village

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติดของเยาวชน ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากกลุ่มเยาวชน อายุ 15 - 21 ปี วิเคราะห์โดยใช้สถิติถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression)  ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ร่วมทำนายการใช้สารเสพติดของเยาวชน ในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม ได้แก่ ความสามารถในการควบคุมตนเองจากการใช้สารเสพติดด้านสุขภาพองค์รวม การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันสารเสพติด การรับรู้ประสิทธิผลแห่งตนในการปฏิเสธการใช้สารเสพติด โดยตัวแปรความสามารถในการควบคุมตนเองจากการใช้สารเสพติด ทำนายการเฝ้าระวังการใช้สารเสพติดของเยาวชน ได้ดีที่สุด รองลงมา คือ ด้านสุขภาพองค์รวม (สุขภาพกาย, สุขภาพจิต, สุขภาพสังคม, ศีลธรรมและจิตวิญญาณ) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการป้องกันสารเสพติด การรับรู้ประสิทธิผลแห่งตนในการปฏิเสธการใช้สารเสพติด ตามลำดับและตัวแปรทั้งหมดร่วมทำนายการใช้สารเสพติดของเยาวชน ได้ร้อยละ 39.5  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Factors related to the use of addictive substance among youth in the five precepts village of NakhonPathom province

This research is a descriptive research aimed to investigate factors related to the use of addictive substance among youth in the five precepts village of NakhonPathom. A questionnaire was an instrument for data collection among youth aged 15 to 21. Stepwise multiple regressions were performed to determine the factors related tothe use of addictive substance. The result found that the self-control of drug use, holistic health, perceived ability, self-efficacy in substance abuse prevention were the determinants to predict theuse of addictive substanceamong youth in the five precepts village of NakhonPathom.In addition, the variables of self-control of drug use were the best predictors of adolescent substance abuse and followed by holistic health (physical health, mental health, social health, morality, and spirituality), self-efficacy in substance abuse prevention, perceived effectiveness in refusing substance abuse.  Moreover, 39.5% of the variability in the surveillance of youth substance abuse was predicted with statistical significance at the 0.05 level.

References

1. กนิษฐา ไทยกล้าและคณะ.(2554) . การพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ใช้ในการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพในระบบยุติธรรมในพื้น ที่นำร่องจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
2. คณะกรรมการบริหารเครือข่าย องค์กรวิชาการสารเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามสารเสพติด.(2555). สถานภาพการใช้สารเสพติด พ.ศ.2550 การสำรวจครัวเรือนทั่วประเทศ. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
3. จิตตวิสุทธิ์ วิมุตติปัญญา. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมต้านยาเสพติดในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษา. ปร.ด. (สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน), มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, กรุงเทพฯ.
4. ณัษฐนนท์ ทวีสิน และอานนท์ ทวีสิน. (2560). แนวทางการป้องกันปัญหายาเสพติดของเยาวชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 หน้า 151-158. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/issue/view/7450.สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2561.
5. นิตยา หยองเอ่น. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันยาเสพติดของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย. หลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
6. ปิยาพัทธ์ อารีญาติ .(2549). พฤติกรรมการป้องกนตนเองจากการเสพยาบ้าของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย.วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
7. วุฒิไกร ศักดิ์สุรกานต์. (2558). ประสิทธิผลการประยุกต์โปรแกรมทักษะชีวิตเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการเสพสารเสพติด ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ในอำเภอเมืองชลบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 24(4), 613-620.
8. ศุภร ชินะเกตุ .(2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมป้องกันยาเสพติดของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์.กศ.ม. (สาขาวิชาพัฒนศึกษา), มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
9. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2556). โครงการศึกษาพัฒนาการดำเนินงานการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม กองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม.
10. โสฬวรรณ อินทสิทธิ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการป้องปรามพฤติกรรมการเสพสิ่งเสพติดของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ ศ.ด. (สาขาวิชาการวางแผนและการพัฒนาชนบท), มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
11. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2557) . สรุปสถานการณ์ยาเสพติดปี 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
12. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (2558) . สรุปสถานการณ์ยาเสพติดปี 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.
13. Junge, S.K., Manglallan, S. & Raskauskas, J. (2003). Building life skills through After school participation in experiential and cooperative learing. Child study journal. Retrieved May 23, 2010, from https://vnweb.hwwilsonweb.com
14. Hoffman, J.P. (2006). Family structure, community context, and adolescent problem behaviors. Journal of Youth and Adolescence, 35, 867-880.
15. Tafa, M., & Baiocco, R. (2009). Addictive Behavior and family functioning during adolescence. The American Journal of Family Therapy, 37, 388 - 395.

Downloads

Published

2019-04-17

How to Cite

นิลกรณ์ ภ., & นิลกรณ์ ภ. (2019). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเสพติดของเยาวชนในโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ของจังหวัดนครปฐม. Journal of Nursing and Health Research, 20(1), 114–122. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/127498