ผลของกิจกรรมการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย

Authors

  • พิชญาสินี กองดวง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

กิจกรรมการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว, พัฒนาการเด็ก, เด็กปฐมวัย, sensory motor activities, child development, early childhood

Abstract

เด็กที่มีพัฒนาการสมวัยแสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต ดังนั้นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กจึงเป็นสิ่งสำคัญกิจกรรมที่ใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการควรได้รับการคิดค้นและศึกษา โดยเฉพาะกิจกรรมการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว ที่เป็นรูปแบบการบำบัดที่มุ่งฝึกให้เด็กเกิดการรับรู้และเกิดทักษะเฉพาะที่นั้นยังมีการศึกษาค่อนข้างจำกัดการวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหวที่มีต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 2-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 14 ราย และกลุ่มควบคุม14 ราย โดยกลุ่มทดลองจะได้เข้าร่วมกิจกรรมรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว เป็นเวลา 1 ชั่วโมงจำนวน 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ร่วมกับได้รับการส่งเสริมพัฒนาการตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) จากผู้ปกครองตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ซึ่งกลุ่มควบคุมไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมการรับความรู้สึกและเคลื่อนไหวแต่ยังคงได้รับคำแนะนำในการส่งเสริมพัฒนาการตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM)เช่นเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และแบบบันทึกผลการประเมินพัฒนาการตามคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาChi-Square test หรือ Fisher’s exact test และ McNemar testจากการศึกษาพบว่า ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหวกลุ่มทดลองมีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.002) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม พบว่า ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว กลุ่มทดลอง มีพัฒนาการโดยรวมดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างนัยสำคัญทางสถิติ(p=.022) โดยเฉพาะพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวของกลุ่มทดลองดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม อย่างนัยสำคัญทางสถิติ(p =.033)จากการศึกษาสรุปได้ว่า กิจกรรมการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหวมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางแก่บุคลากรทางสาธารณสุขที่รับผิดชอบงานพัฒนาการเด็ก พ่อแม่ ผู้ปกครองหรือครูศูนย์เด็กเล็ก นำไปใช้ในการส่งเสริมพัฒนาการในเด็กปฐมวัยได้ต่อไป

Effects of Sensory Motor Activities in Early Childhood Development

Children with age-appropriate development show that they are ready to grow into a mature adult in the future. Therefore, the promoting of child development is important. Activities that promote development should be invented and studied. Especially Sensory Motor Activities that aims to train children to recognize and develop specific skills are still quite limited.A quasi-experimental research design was employed in the research study. The purpose of this research was to investigate the effects of Sensory Motor Activities toward child-developmental. The sample was recruited into two main groups: 14 experimental and 14 control groups. The experimental group participated in a daily Sensory Motor Activities for one hour each day for 3 days a week for a total of 4 weeks. Also, the experimental group was promoted child development at home by parents which were advised to follow the Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM) by public health. The children in the control group did not receive Sensory Motor Activities but continued to receive promoting child development at home by parents same as experimental group. The data collection instruments consisted the Record of the sample’s demographic data and the Record of the assessment results of early childhood development based on the Developmental Surveillance and Promotion Manual (DSPM). Data were analyzed and compared using descriptive statistics, t-test, Chi-Square test or the Fisher’s exact test and McNemar test. The result showed that after participated in Sensory Motor Activities the experimental group has improved the gross motor development better than before experiment(p = .002). Compared to the control group, it was found that after participating in Sensory Motor Activities, the experimental group had better overall development than the control group (p = .022). Especially the development of the experimental group's gross motor development better than the control group statistically significant (p = .033). In this study, the Sensory Motor Activities was effective in promoting gross motor development that could be used as a guide for caregivers who are responsible for early childhood to promote development on early childhood as important so that they will be of benefit to young children.

References

จินตนา พัฒนพงศ์ธร. (2557). การศึกษาพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทยปี 2557. กลุ่มงานอนามัยแม่และเด็ก
สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.
จิรนันท์ กริฟฟิทส์. (2550). ทฤษฎี กรอบอ้างอิงและกระบวนการทางกิจกรรมบำบัด (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่:
พงษ์สวัสดิ์การพิมพ์.
ณัฐสุดา เชื้อมโนชาญ. (2559). กิจกรรมส่งเสริมการประสมประสานการรับความรู้สึก. สาขาวิชากิจกรรมบำบัด
คณะกายภาพบำบัดและการเคลื่อนไหวประยุกต์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ถนอมรัตน์ ประสิทธิเมตต์. (2558). พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย เขตบริการสุขภาพที่ 4. วารสารสมาคมเวชศาสตร์
ป้องกันแห่งประเทศไทย, 2(5), 173-188.
ปราณี ปริยวาที. (2551). การพัฒนาจริยธรรมของเด็กปฐมวัยโดยการเล่านิทานและการติดตามผล. (ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปราณี หล าเบ็ญสะ. (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
พนิต โล่เสถียรกิจ. (2558). วิกฤตการณ์พัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย. ผู้อานวยการศูนย์อนามัยที่ 3 ชลบุรี.
พีรยา มั่นเขตวทย์. (2552). การประเมินผลลัพธ์ทางกิจกรรม (Measuring Outcome in Occuptional
Therapy). Paper presented at the เอกสารประกอบการประชุมวิชาการคณะเทคนิคการแพทย์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประจำปี 2552 เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 45 ปี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ
ครบรอบ 30 ปี ภาควิชากิจกรมบำบัด, โรงแรมฮอลิเดย์อินท์ จังหวัดเชียงใหม่.
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2540). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์. (2558). คู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กแรกเกิด-5ปี สำหรับผู้ปกครอง (3). ทีเอสอินเตอร์พริ้น: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
สร้อยสุดา วิทยากร. (2544). กรอบอ้างอิงกิจกรรมบำบัดในเด็ก. คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2558). โอกาสทองสร้างคุณภาพคน ต้องปูพื้นฐานช่วง 5 ปีแรก. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2559,จาก http://www.thaihealth.or.th
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2552). สถานการณ์เด็ก เยาวชน และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม.สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2559,จากhttp://www.qlf.or.th/Home/Contents/147
สุภาพร ชินชัย. (2555). กรอบอ้างอิงการบรูณาการประสาทความรู้สึก:ทฤษฎีและการปฏิบัติการทางคลินิกกิจกรรมบำบัด (พิมพ์ครั้งที่ 1). เชียงใหม่: พิมพ์นานา.
Asianparent. (2017). ลูกพัฒนาการช้าทำอย่างไรดี. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2559,จากhttps://th.theasianparent.com
Burns, N., & Grove, S. K. (2005). The practice ofnursing research: Conduct, critique, and utilization (5 ed.). St. Louis: ElsevierSaunders.
Rowan. C. (2015). ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อพัฒนาการรับความรู้สึกและสั่งการการเคลื่อนไหวในเด็ก. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2559,จากhttp://www.mindbrainchildactivity.com/articles/42279172
Stanley Paul, Patricia Sinen, Joy Johnson, Christina Latshaw, Jami Newton, April Nelson, & Powers, R. (2003). The Effects of a Sensory Motor Activities Protocol Based on the Theory of Sensory Integration on Children Diagnosed with Preprimary Impairments. Occupational Therapy In Health Care, 17(2), 19-34. doi: 10.1080/J003v17n02_02

Downloads

Published

2019-04-17

How to Cite

กองดวง พ. (2019). ผลของกิจกรรมการรับความรู้สึกและการเคลื่อนไหว ต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย. Journal of Nursing and Health Research, 20(1), 52–65. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/135810