แนวทางการพัฒนาระบบส่งต่อการดูแลเด็กปฐมวัยระหว่างครอบครัว โรงเรียน และโรงพยาบาล ในเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี

Authors

  • เดชา ทำดี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • เนตรทอง นามพรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • จุฑามาศ โชติบาง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พัชรี วรกิจพูนผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อุษณีย์ จินตเวช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Abstract

ระบบการส่งต่อระหว่างครอบครัว โรงเรียนมีความสำคัญ เป็นอย่างยิ่งในการที่จะช่วยให้เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ครอบคลุมและต่อเนื่อง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการส่งต่อการดูแลเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการดูแลที่ชัดเจน โดยจากการทบทวนพบว่า ปัญหาสุขภาพและการเจ็บป่วยของเด็กปฐมวัย เด็กช่วงอายุนี้ไม่มีการคัดกรองสุขภาพ และขาดการส่งเสริมด้านพัฒนาการ เนื่องจากเด็กกลุ่มวัยนี้ส่วนใหญ่ได้รับการเลี้ยงดูจากครอบครัวได้รับการเลี้ยงดูจากปู่ย่าตายาย หรือศูนย์รับเลี้ยงเด็กทั่วๆไป โดยปัญหาที่พบในเด็กกลุ่มนี้ได้แก่การเจ็บป่วยและการตาย ปัญหาด้านภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโต ปัญหาด้านสุขภาพช่องปากและฟัน สำหรับแนวทางของระบบการส่งต่อการดูแลเด็กปฐมวัยอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปีระหว่างบ้าน โรงเรียนและโรงพยาบาลควรมีการดำเนินการตามลำดับดังนี้ 1) การสื่อสารองค์ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย  ควรเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่ครรภ์มารดา  พร้อมทั้งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเพื่อถ่ายทอดสู่สาธารณชน 2) จัดกระบวนการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและหน่วยงานองค์กรต่างๆเข้าใจระบบการส่งต่อการรับบริการ 3) การจัดทำระบบฐานข้อมูลที่สามารถใช้ร่วมกันได้ของหน่วยงานและองค์กรต่างๆ 4) หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักในการดูแลมีการจัดทำแนวทางปฏิบัติการส่งต่อการรับคำปรึกษา  การรักษาที่เข้าถึงอย่างสะดวก 5) การพัฒนาศักยภาพบุคลากรสุขภาพในการดูแลเด็กปฐมวัย  6) พัฒนาระบบบริการการส่งต่อที่มีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายเพื่อการมีแนวปฏิบัติการส่งต่อชัดเจน บุคลากรเข้าใจและมีความรู้ ประชาชนเข้าถึงทั้งความรู้และการใช้บริการสุขภาพ คุณภาพการบริการจะนำสู่คุณภาพการพัฒนาเด็กปฐมวัย

 

Guideline for developing referral system for early childhood between family, school, and hospital among children age 1 months to 2 year

Referral system between family, school, and hospital is very important for early childhood to be thorough, comprehensive, and continual care. This literature review aims to gather, analyze, and synthesis data for developing referral system guideline for early childhood aged of 1 months to 2 year and forward to set the explicit system. The results indicate that illnesses, mortality, nutrition, growth, and dental health problems in this group of children mostly come from incomplete of health screening and lacked of child development promotion. According to they are generally in responsibility by their parents, grandparents or child center. The problems in these children were included: morbidity and mortality, nutritional impairment, growth and developmental problems, and oral and dental carries. Therefore, the appropriately guideline for referral  system between family, school, and hospital should be done respectively; 1) Knowledge of early childhood care should be encouraged since pregnancy period and development of new knowledge for publicizing to the public; 2) Promote understanding about referral system service by public relation; 3) Create database for sharing information between related agencies; 4) Responsible agencies prepare guideline for consulting referral system and accessible curing; 5) Potential development of health personnel in early childhood care; 6) Development of high quality referral system service. The goals were understandable referral system guideline, health care personnel gain more understand and knowledge, people accessibility both knowledge and health care services, the quality of services will be lead to quality of early children development.

 

Downloads

Published

2018-12-25

How to Cite

ทำดี เ., นามพรม เ., โชติบาง จ., วรกิจพูนผล พ., & จินตเวช อ. (2018). แนวทางการพัฒนาระบบส่งต่อการดูแลเด็กปฐมวัยระหว่างครอบครัว โรงเรียน และโรงพยาบาล ในเด็กอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี. Journal of Nursing and Health Research, 19(3), 3–13. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/150018