ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ และการบริหารสมอง ต่อสมรรถภาพสมองของผู้สูงอายุในชุมชน อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี

Authors

  • จุรีภรณ์ เจริญพงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

Keywords:

ผู้สูงอายุ, การสร้างเสริมสุขภาพ, การบริหารสมอง, Elderly, Health Promotion, Brain exercise

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ การบริหารสมอง ต่อสมรรถภาพสมองของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 36 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง  เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบลทุ่งเตา อายุ 65 - 70 ปี  สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย ระดับการศึกษา อ่านออก เขียนได้ ไม่มีโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ได้ยินและมองเห็นในระยะใกล้ รู้จักการคิดเลข เครื่องมือการวิจัยมี 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพและการบริหารสมอง ได้ประยุกต์ทฤษฎี Bandura’s Self efficacy ดำเนินการ 6 เดือน เดือนแรก สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ๆ ละ 3 ชั่วโมง 4 สัปดาห์ หลังจากได้รับความรู้และฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างได้รวมตัวกันมาทำกิจกรรมบริหารสมองที่ชมรมผู้สูงอายุวันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3 วัน ประเมินผลเมื่อสิ้นสุดการทดลอง แต่กิจกรรมยังคงรวมตัวกันต่อไป เพื่อการเป็นต้นแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล   1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  2) แบบประเมินความรู้การสร้างเสริมสุขภาพ การบริหารสมอง 3) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการบริหารสมอง 4) แบบวัดระดับสมรรถภาพของสมอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้  ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความแตกต่างความรู้การส่งเสริมสุขภาพการบริหารสมอง คะแนนเฉลี่ยระดับสมรรถภาพของสมองก่อนและหลังการเข้าร่วมการทดลอง ด้วยสถิติ paired t – test

           ผลการศึกษาพบว่า  1) คะแนนเฉลี่ยของความรู้การสร้างเสริมสุขภาพ บริหารสมองหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05  2) คะแนนเฉลี่ยระดับสมรรถภาพของสมอง ก่อน หลังการทดลองแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Effectiveness of Health Promotion and Brain Exercise Program for  Brain's Ability of the Elderly in Bannasan District Suratthani Province 

          This research was a quasi-experimental research one group pretest-posttest design. The objective was to study the effectiveness of health promotion and brain exercise programs. The 36 sampling were selected from the elderly who were the member of the elderly club, using the purposive sampling technique. The research tools consisted of two parts, the first part was the health promotion and brain exercise program using the "Self Efficacy" Bandura's theory. The second part were collecting data which consisted of 1) a characteristic data, 2) the knowledge of health promotion and brain exercise 3) MMSE-Thai 2002 for brain's ability. The research conducted for six months. The first month training and educated them with knowledge of health promotion and brain exercise. After receive the knowledge and training for brain exercise, they decided go to join together with the activity 3 days a week, continue to 6 months.  Data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation and Paired t-test.

           The results showed that after the intervention, the average score of health promotion and brain exercise after intervention was higher than before at a statistically significant (p <.05). The ability of brain before and after intervention were different with no statistically significant (p<.05)

References

เดชา วรรณพาหุล. (2014) การพัฒนาโปรแกรมฝึกบริหารสมอง สำหรับเพิ่มความจำระยะสั้นในผู้สูงอายุ: การศึกษาศักย์ไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธัญพร สมันตรัฐ. (2558). การใช้นิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์ เพื่อส่งเสริมความจำ แก่ผู้สูงอายุที่มารับบริการในคลินิกเบาหวานและความดันโลหิตสูงของศูนย์สุขภาพชุมชนศรีพิมาน. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, (31) 2, 99- 114.
พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์, นุชจรีรัตน์ ชูทองรัตน์, และปัญจภรณ์ ยะเกษม. (2556). ปัจจัยที่เป็นตัวทำนายภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน. คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://www.stic.ac.th.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2558). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ: พริ้นเทอรี่.
รัชนี นามจันทรา. (2553). การฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. 14(27), 137-150.
วรากร เกรียงไกรศักดา และเสรี ชัดแช้ม. (2555). การประยุกต์ทฤษฎีนิวโรบิคส์ เอ็กเซอร์ไซส์ ในการพัฒนาโปรแกรมการฝึกสมองสำหรับฟื้นฟูความจำในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมระยะเริ่มต้น. วิทยาการวิจัยและ วิทยาการปัญญา, 10(1), 15-23.
วัลลภา อันดารา, อุบลรัตน์ สิงหเสนี, ปัทมา วงค์นิธิกุล. (2557). การศึกษาภาวะสมองเสื่อม ความรู้เรื่องโรคและการป้องกันโรคสมองเสื่อม และข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ. วารสารพยาบาลตำรวจ (8)1. 89- 101.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: ธนาเพลส.
สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (2548). แบบทดสอบภาวะสมองเบื้องต้น. สืบค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2556 จาก https://www.moph.go.th.
สิรินทร ฉันศิริกาญจน. (2551). ตำราเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรมการแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). ผลกระทบจากปัญหาผู้สูงอายุสมองเสื่อม. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2557 จาก https://www.moph.go.th.
อมรรัตน์ เนียมสวรรค์. (2555). ภาวะสมองเสื่อมเบื้องต้นของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มชมรมผู้สูงอายุ ตำบลมะขามสูง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2557. จาก https://www.stic.ac.th/inter/main/th/about/prevision
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. NY: W.H. Freeman and company.
Lowrence, C.K. (2010). Keep Your Brain Aliv: 83 Neurobic Exercise to Help Prevent Memory Loss AND Increase Mental Fitness. North Carolina: University Mental Center Durham.
Paul Dennison, Paul. Creator of “Educational Kinesiology,” 26 Brain Gym activities. Retrieved 18 May 2016 from https://www.braingym.com

Downloads

Published

2018-12-25

How to Cite

เจริญพงศ์ จ. (2018). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพ และการบริหารสมอง ต่อสมรรถภาพสมองของผู้สูงอายุในชุมชน อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี. Journal of Nursing and Health Research, 19(3), 134–144. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/151744