การศึกษาผลของการสูดดมกลิ่นน้ำมันดอกว่านมหาหงส์ ต่อระบบประสาทอัตโนมัติและอารมณ์ความรู้สึก

Authors

  • วรินทร เชิดชูธีรกุล วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขกาญจนาภิเษก

Keywords:

น้ำมันว่านมหาหงส์, ระบบประสาทอัตโนมัติ, อารมณ์ความรู้สึก, Butterfly lily oil, autonomic nervous system, emotion

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสูดดมกลิ่นน้ำมันดอกว่านมหาหงส์ต่อระบบประสาทอัติโนมัติและอารมณ์ความรู้สึก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก จำนวน 30 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการการทดลองแบบประเมินอารมณ์ความรู้สึก เครื่อง Multi–Para Meter Patient Monitorรุ่น 700 ถังแก๊สออกซิเจนและหน้ากากออกซิเจน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน และสถิติ Pair -sample  t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) การสูดดมกลิ่นน้ำมันดอกว่านมหาหงส์มีผลทำให้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  แต่ไม่มีผลต่อค่าความดันโลหิต และอัตราการหายใจ 2) การสูดดมกลิ่นน้ำมันดอกว่านมหาหงส์มีผลทำให้มีความรู้สึกดี รู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกเคลิบเคลิ้มรัญจวนใจ รู้สึกจิตใจสงบนิ่ง เพิ่มมากขึ้น ส่วนรู้สึกเครียด รู้สึกอึดอัดรู้สึกหงุดหงิด รู้สึกรังเกียจขยะแขยงลดลงมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ดังนั้น น้ำมันดอกว่านมหาหงส์จึงเป็นอีกทางเลือกในการใช้น้ำมันหอมระเหยเพื่อบรรเทาความเครียด ช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย ให้จิตใจสงบนิ่งและลดอัตราการเต้นของหัวใจ ตลอดจนพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันหอมระเหยที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

The Comparative Effect of Inhaling Butterfly Lily Oil on Autonomic Nervous System and Emotion

This quasi-experimental research aimed to compare the effects of inhaling Butterfly lily oil on autonomic nervous system and emotion. The sample included 30 students of Kanchanabhishek institute of medical and public health technology selected based on purposive according to the specification. The collecting data instrument consisted of questionnaire on personal information, trial record,autonomic nervous system recording form and evaluation of emotion. The Multi-Para Meter Patient Monitor, model 700, oxygen cylinders and oxygen masks. The statistical procedures employed included frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows : 1) Butterfly lily oil inhaling significantly (p<.05) affected to the autonomic nervous system is heart rate but had no effect the function of the autonomic nervous are blood pressure and respiration rate.2) Butterfly lily oil inhaling significantly (p<.05) affected to emotion after taking that were feeling good relaxed enchanted and calmed more than before as for feeling stressed uncomfortable frustrated disgusted were less than before taking, The subject had significant decreases in level of 0.05. The results from this study suggested that, Butterfly lily oil is option to use for stress relief, increase relaxation, calmed mild and decrease heart rate including to develop more quality of the volatile oil.

 

References

ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ. (2558). ผลการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อและความพึงพอใจของตำรับน้ำมันหอมระเหยสูตรผสม. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 7(13) : 50-64
ฐาปนีย์ หงส์รัตนาวรกิจ. (2555). น้ำมันหอมระเหยและการใช้สุคนธบำบัด. พิมพ์ครั้งที่2. นครนายก: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นภาลัย หาญสุนันทนนท์. (2550). ตำราวิชาการสุคนธบำบัด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: กองแพทย์ ทางเลือก กรมพัฒนา การแพทย์แผนไทย.
นันท์ชนก เปียแก้ว, วิภาวีดี ลี้มิ่งสวัสดิ์ และถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร. (2558). เรื่องผลของการสูดดมน้ำมันลาเวนเดอร์ที่มีต่อการลดความเครียดและคลื่นสมองของหญิงวัยรุ่น. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 16(2) 63-72)
นิจศิริ เรืองศรี และธวัธชัย มังคละคุปต์. (2547). สมุนไพรไทย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพมหานคร : บี เฮลท์ตี้
วันวิสาข์ สีนวลไชย. (2549). คุณภาพและผลต่อระบบประสาทส่วนกลางของน้ำมันหอมระเหยจากพืชสกุลส้มในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วินัย สยอวรรณ. (2554). ผลของน้ำมันหอมระเหยบางชนิดที่ใช้มากในประเทศไทยต่อสรีรวิทยาและอารมณ์ความรู้สึก. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาภรณ์ ปิติพร. (2554). บันทึกของแผ่นดิน 3 พืชหอมเป็นยา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ปรมัตถ์ การพิมพ์.
Diego, MA. Jones, NA. Field, T. Hernandez-Reif, M. Schanberg, S. Kuhn, C. et al. Aromatherapy positively affects mood, EEG patterns of alertness and math computations. Int J Neurosci 1998, 96, 217-24.

Downloads

Published

2019-06-10

How to Cite

เชิดชูธีรกุล ว. (2019). การศึกษาผลของการสูดดมกลิ่นน้ำมันดอกว่านมหาหงส์ ต่อระบบประสาทอัตโนมัติและอารมณ์ความรู้สึก. Journal of Nursing and Health Research, 20(2), 147–154. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/155448