อาการและการจัดการอาการตนเองของผู้ป่วยมะเร็งที่มีพยาธิสภาพประสาทส่วนปลาย เนื่องจากเคมีบำบัด

Authors

  • นุสรา ประเสริฐศรี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์
  • ภาวิณี ธนูผาย
  • มนัสนันท์ สุพรรณโมก
  • รัตนาภรณ์ เนตรวงษ์อินทร์
  • รุ่งทิวา โทศก
  • ลักษมี สู่หา
  • วชิรารัช คันศร
  • วันเพ็ญ บุตะเคียน
  • วิมลศิริ สาสุข

Keywords:

เหตุพยาธิสภาพประสาทส่วนปลาย, มะเร็ง, เคมีบำบัด, การจัดการอาการตนเอง, CIPN, Cancer, Chemotherapy, Self-Management

Abstract

พยาธิสภาพประสาทส่วนปลายเนื่องจากเคมีบำบัด (Chemotherapy-Induced Peripheral Neuropathy (CIPN)) ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย ยังมีข้อมูลจำกัดเกี่ยวกับอาการและการจัดการอาการด้วยตนเองในผู้ป่วย CIPN การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอาการและการจัดการอาการ CIPN ด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งจำนวน 104 คน ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี ระหว่าง เดือน ตุลาคม ถึง พฤศจิกายน  2560 เกณฑ์คัดเข้ากลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็ง อายุมากกว่า 18 ปี ทุกระยะของโรคมะเร็ง และได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด 5 กลุ่ม ได้แก่ Platinum, Taxanes  Vinca alkaloids, Antiangiogenic agent และ Proteasome inhibitor เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน EORTC QLQ – CIPN20 และแบบสอบถามการจัดการอาการ CIPN ด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยมีอาการ CIPN ด้านประสาทรับความรู้สึกพบ ร้อยละ 21.8-57 และมีอาการชามากที่สุด  อาการประสาทการเคลื่อนไหว ร้อยละ 13.3-34 อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากที่สุด และอาการระบบประสาทอัตโนมัติ ร้อยละ 21.1-40 อาการวิงเวียนมากที่สุด การจัดการอาการ CIPN ของผู้ป่วย พบว่าผู้ป่วยมีวิธีการจัดการอาการ CIPN แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ประสาทรับความรู้สึก มีการจัดการมากที่สุดด้วยวิธีการบีบ นวด กำแบ และใช้ยาหม่องนวด ตามลำดับ อาการประสาทการเคลื่อนไหว มีการจัดการมากที่สุดด้วย บีบ นวด และ วิธีการนั่งพัก และอาการระบบประสาทอัตโนมัติ มีการจัดการมากที่สุดด้วยวิธีนั่งพัก รับประทานยา ดมยาแก้วิงเวียน          

การจัดการกับอาการ CIPN มีหลากหลายวิธี ทั้งการจัดการอาการโดยใช้ยาและไม่ใช้ยา ผู้ป่วยเกิดการเรียนรู้ที่จะจัดการกับอาการด้วยตนเอง เพื่อทำให้อาการที่เกิดขึ้นขณะนั้นหายไปหรือบรรเทาลง บุคลากรทางสุขภาพควรแนะนำวิธีการจัดการอาการในผู้ป่วย CIPN ที่ปลอดภัย เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

Symptoms and Self-Management Strategies for Chemotherapy-Induced Peripheral Neuropathy in Cancer Patientsฃ

    Chemotherapy-Induced Peripheral Neuropathy (CIPN) effect on the patients’ quality of life. However, there is limitation study of self-management in CIPN patients.  This descriptive research aimed to study CIPN and self-management of the symptoms of in cancer patients. We recruited cancer patients (N = 104) who were received chemotherapy in Ubon Ratchathani Cancer Hospital between October and November 2017. Eligible patients were ≥18 years of age with any stage of cancer and had received neurotoxic chemotherapy with 5 groups including (1) Platinum, (2) Taxanes, (3) Vinca alkaloids, (4) Antiangiogenic agent and (5) Proteasome inhibitor. Data were collected by using 1) EORTC QLQ – CIPN20, and 2) CIPN symptoms management strategies questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics.

The results found that patients had problem of CIPN as the follow: sensory symptoms (21.8 -57%) the highest symptom was numbness, motor symptoms (13.3-34 %) the highest symptom was weakness, and autonomous symptoms (21.1-40 %) the highest symptom was dizziness. The patient had self-management strategies for CIPN that divided into 3 groups: sensory (squeeze, massage with balm, grip hands), motor (rest, stretch muscles, and walk) and autonomous (rest, take medicine, nasal inhaler).

Conclusion; the most common CIPN symptoms was sensory and self-management of CIPN symptoms were handled in various ways. Patients used use pharmacological and non- pharmacological strategies that they have learned by themselves to alleviate and relieve their CIPN symptoms. Health professionals should advice safety CIPN symptom management’s for better patient’s quality of life. 

 

Downloads

Published

2018-12-25

How to Cite

ประเสริฐศรี น., ธนูผาย ภ., สุพรรณโมก ม., เนตรวงษ์อินทร์ ร., โทศก ร., สู่หา ล., คันศร ว., บุตะเคียน ว., & สาสุข ว. (2018). อาการและการจัดการอาการตนเองของผู้ป่วยมะเร็งที่มีพยาธิสภาพประสาทส่วนปลาย เนื่องจากเคมีบำบัด. Journal of Nursing and Health Research, 19(3), 36–46. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/156264