จริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง : มุมมองที่แตกต่าง

Authors

  • วิยะดา รัตนสุวรรณ มหาวิทยาลัยพะเยา

Keywords:

ประเด็นปัญหาจริยธรรม, การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, มุมมองที่แตกต่างระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุ

Abstract

ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เป็นผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากภาวะเจ็บป่วยเรื้อรังและหรือความพิการต่างๆ ทำให้เกิดภาวะพึ่งพิงซึ่งเป็นภาวะที่ผู้สูงอายุไม่สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันอย่างเป็นอิสระ  แต่ต้องการความช่วยเหลือหรือการเฝ้าระวังจากบุคคลอื่น สะท้อนให้เห็นว่าพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุบางส่วนหรือแทบทั้งหมดต้องอาศัยผู้ดูแลในการช่วยเหลือในการทำกิจกรรมร่วมด้วย สภาพปัญหาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ พบว่า มีหลายด้าน ได้แก่  ด้านร่างกายคือ ร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วยง่าย   ขาดความคล่องตัว   เคลื่อนไหวร่างกายไม่สะดวก ด้านจิตใจ   คือมีความรู้สึกวิตกกังวล ไม่ปลอดภัย กลัวการถูกทอดทิ้ง ทั้งนี้ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง คือผู้ดูแลหลักในครอบครัว ซึ่งส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุในฐานะลูกหลาน โดยรับผิดชอบในการช่วยเหลือดูแลเพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการตอบสนองทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อย่างต่อเนื่องทุกวัน   จากสภาพการณ์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดความคับข้องใจต่อผู้สูงอายุและผู้ดูแล กล่าวคือ ผู้สูงอายุบางส่วนมีความรู้สึกสิ้นหวังเนื่องจากสภาพร่างกายไม่ดีขึ้น จากที่เคยช่วยเหลือตัวเองได้บ้างเป็นช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สำหรับผู้ดูแลเกิดความเหนื่อยล้าจากการที่ต้องดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุเฉพาะบางกิจกรรมในตอนกลางวันเป็นต้องช่วยเหลือดูแลทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวันตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ร่วมกับความรู้สึกวิตกกังวลและเครียดจากอาการของผู้สูงอายุที่ไม่ดีขึ้นตามความคาดหวัง อาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและผู้ดูแลขึ้นได้ อาทิ  คุณค่าของความเป็นมนุษย์     ต้องการความมีอิสระในตัวเองหรือความรู้สึกเป็นอิสระ  ชีวิตและการตายอย่างมีศักดิ์ศรี   บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับ  1) สภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง  2) ความคาดหวังของผู้ดูแล  3) ประเด็นปัญหาทางด้านจริยธรรมในการดูแลจากมิติมุมมองที่แตกต่าง 4) แนวทางเพื่อลดประเด็นปัญหาทางด้านจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 

Elderly people with dependence. The elderly can not help themselves in daily life. Due to chronic illness This is a condition in which the elderly can not perform their daily activities independently. It needs help or surveillance from someone else. Some of the health behaviors of the elderly, or almost all, rely on caregivers to help with their activities.On the problem of improving the quality of life of the elderly, there are many aspects. The body is not healthy, easy to lose mobility. The body is not comfortable in the mind is anxiety, fear, neglect, fear. Those who are an important role in caring for elderly dependents are the primary caregivers. Most of them are related to the elderly as children. It is responsible for helping the elderly to receive the daily physical and mental response. As a result of this situation, the elderly and caregivers are concerned that the elderly are feeling hopeless due to their poor physical condition. For caregivers, the fatigue of having to care for the elderly.Only some activities in the daytime are required to help with all daily activities throughout the day and night. With anxiety and stress, the symptoms of the elderly are not as good as expected. It may cause ethical problems in the care of dependent elderly people as a result of interactions between the elderly and caregivers.  Such as , Feeling of  self  valuable. The dignity of humanity. Self-esteem. This article aims to present 1) the problems and needs of dependent elderly people 2) the expectations of caregivers 3) the ethical issues of care from different perspectives. 4) Guidelines to reduce ethical issues in the care of dependent elderly people.

References

ศิริพันธุ์ สาสัตย์.(2549). การพยาบาลผู้สูงอายุ:ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางการดูแล.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงค์สวัสดิ์และ กนิษฐา บุญธรรมเจริญ.(2553).รายงานการสังเคราะห์ระบบการดูแลผู้สูงอายุใน ระยะยาวสำหรับประเทศไทย.กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
อัญชิษฐฐา ศิริคำเพ็งและภักดี โพธิ์สิงห์.(2560).การดูแลผู้สูงอายุระยะยาวที่มีภาวะพึ่งพิงในยุคประเทศไทย 4.0.วารสารวิชาการธรรมทัศน์.17(3) : 235-245.
ไชยยะ เปรมอิสระกูล.(2549).ความต้องการของผู้สูงอายุในเขตอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี.รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต(นโยบายสาธารณะ).ชลบุรี:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
พัชรินทร์ คำอินทร์. (2548).ประสบการณ์การได้รับการดูแลของผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพาโดยผู้ดูแลในครอบครัว .พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์).กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพร พลายระหาร ; เนติยาฌร์ แจ่มทิมและ ปุรินทร์ ศรีศศลักษณ์.(2553).ปัญหาและความต้องการของผู้ดูแลและผู้สูงอายุ จังหวัดสุพรรณบุรี.สุพรรณบุรี : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุพรรณบุรี.
ชรัตน์ ตันติอำนวย. (2550) ประสบการณ์และความต้องการของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า .พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต(สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน).พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จุฑารัตน์ แสงทอง.(เมษายน-กันยายน 2558).การเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุผ่านอาสาสมัคร.สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์.15(2) : 73-89.
Deci, E. L., & Ryan, R. M. (2002). Handbook of self-determination research. NewYork :University of Rochester Press.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส.(2559).รู้ให้รอบ ตอบเรื่องมาตรา 12 พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550.นนทบุรี : สํานักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).
วิชัย โชควิวัฒนและคณะ.(2554).ก่อนวันผลัดใบ หนังสือแสดงเจตนาการจากไปในวาระสุดท้าย.พิมพ์ครั้งที่ 5.นนทบุรี : สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).
Watson, J. (2008). Nursing : the philosophy and science of caring. Boulder, Cololado. : University Press of Colorado.
มนต์ชัย พินิจจิตรสมุทร. (2552). Dialogue สุนทรียสนทนา : ศาสตร์แห่งการสร้างสรรค์สติปัญญาร่วมกันของมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: โมโนธีม คอนซัลติ้ง
ศิริรัตน์ จำปีเรืองและคณะ.(2556).การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกระบวนการสุนทรียสนทนา สำหรับนักศึกษาพยาบาล.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.15(3) : 9-15.
พิชญาเหลียงพานิช ชมชื่น สมประเสริฐและ เอกอุมา อิ้มคำ.(2561).ผลของโปรแกรมกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนต่อความสามารถในการฟื้นฟูจิตสังคมผู้ป่วยจิตเภทของผู้ดูแล. วารสารพยาบาลทหารบก. 19(Supplement) January – April : 214-223.
Gibson CH.(1993).A study of empowerment in mothers of chronically ill children.Doctoral dissertation. Boston : Boston College

Downloads

Published

2018-12-25

How to Cite

รัตนสุวรรณ ว. (2018). จริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง : มุมมองที่แตกต่าง. Journal of Nursing and Health Research, 19(3), 14–24. Retrieved from https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bcnpy/article/view/157259